รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความบกพร่องของผู้ขับขี่ พฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย และความรุนแรงของอุบัติเหตุจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในเขตอุตสาหกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
อุบัติเหตุจราจรนับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความบกพร่องของผู้ขับขี่ พฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย และความรุนแรงของอุบัติเหตุจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในเขตอุตสาหกรรมกับข้อมูลเชิงประจักษ์
กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่น้อยกว่า 3 ปี ในเขตอุตสาหกรรม จำนวน 580 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ที่ผ่านการวิเคราะห์คุณภาพแล้วมีค่าความเที่ยงมากกว่า .7 รวมรวมข้อมูลในระหว่าง มีนาคม 2557 ถึง ตุลาคม 2559 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงสำรวจ และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความบกพร่องของผู้ขับขี่ พฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย และความรุนแรงของอุบัติเหตุจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในเขตอุตสาหกรรม มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 = 59.82, df = 47, p-value = .10, GFI = .98, AGFI = .97, CFI = .99, RMSEA = .02) โดยความรุนแรงของอุบัติเหตุจราจรของ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในเขตอุตสาหกรรมได้รับอิทธิพลรวมสูงสุดจากความบกพร่องของผู้ขับขี่ ( .82) รองลงมา คือ พฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย ( .38)
รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความบกพร่องของผู้ขับขี่ พฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย และความรุนแรงของอุบัติเหตุจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในเขตอุตสาหกรรม มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และความบกพร่องของผู้ขับขี่และพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย สามารถอธิบายความแปรปรวนความรุนแรงของอุบัติเหตุจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในเขตอุตสาหกรรมได้ร้อยละ 80.50
Abstract
Severity of traffic accidents have dramatically intensified. Aim of the study was to examine the impact of drivers' impairment and unsafe riding behaviors on traffic accident severity of motorcycles in the industrial area. Samples were 580 bikers who have ridden motorcycle for at least 3 years in the industrial area. Simple random sampling was used. Data were collected by questionnaires. The reliability was over .7. The study period was during March 2014 - October 2016. Data were analyzed including frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, exploratory factor analysis, and Structural Equation Model (SEM).
The model regarding the severity of traffic accidents is in accordance with empirical data (χ2 = 59.82, df = 47, p = .10, GFI = .98, AGFI = .97, CFI = .99, RMSEA = .02). The traffic accident severity of motorcycle riders in the industrial area was correlated to drivers' impairment (.82), and unsafe riding behaviors (.38). Drivers' impairment and unsafe riding behaviors correspond to the variance of traffic accident severity of motorcycle riders in the industrial area at 80.50 percent.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว