ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิดในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพยาบาลมารดา ทารกที่มีภาวะเสี่ยงในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 2 สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 4 พบว่านักศึกษาไม่สามารถทำความเข้าใจเพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาของภาวะเสี่ยงที่เกิดขึ้นในระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด ส่งผลถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิดเป็นวิธีที่ช่วยพัฒนาทักษะในการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้สำหรับการทบทวนความรู้ และการเชื่อมโยงเนื้อหาที่ง่ายไปสู่เนื้อหาที่ยากได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาประสิทธิผลของการใช้แผนผังความคิดในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลในรายวิชาดังกล่าว การวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจหลังจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด ในการจัดการเรียนวิชาการพยาบาลมารดา ทารก และผดุงครรภ์ 2 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตรุ่นที่ 57 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2557 – กันยายน 2558 กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาล ศาสตรบัณฑิตรุ่นที่ 57 จำนวน 130 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่าหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด 1) นักศึกษาร้อยละ 96.92 สอบผ่านรอบแรกและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 60 ขึ้นไป 2) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก เฉลี่ย 3.81 (SD= .80)
การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิดช่วยให้นักศึกษามีความเข้าใจในเนื้อหาการเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเกณฑ์ที่กำหนด และมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอน จึงควรใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิดไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ต่อไป
Abstract
Learning management in the maternal-newborn nursing and midwifery II course was offered to fourth-year undergraduate nursing students. In the past, this course could not achieve students to fully understand risk conditions during pregnancy, labor, and postpartum period, especially when teaching-contents went beyond normal pregnancy and delivery. Literature has revealed that learning management with mind mapping has been an effective technique in facilitating students to review learned knowledge and build bridges between simple and complex contents. Therefore, the researchers were interested in studying the effectiveness of mind mapping in knowledge development of student nurses.
The present study aimed to investigate the effect of the learning management using mind mapping in the maternal-newborn nursing and midwifery II course offered to fourth-year undergraduate nursing students’ batch 57 of Boromarajonani College of Nursing, Nakhon Ratchasima. Sample consisted of 130 students. Data were conducted between July 2014 and September 2015.
Research instruments comprised the learning management with mind mapping, the demographic characteristics questionnaire, the achievement test, and the satisfaction with learning management questionnaire. Data were analyzed by descriptive statistic and content analysis.
The study findings revealed that: 1) After implementation of learning management with mind mapping, 96.92% of the participants passed the examinations at first attempt and the result of the achievement test was equal to 60% or higher. 2) Overall, the participants had a high level of satisfaction, with the mean of 3.81 (SD= 0.80).
It can be concluded that learning management with mind mapping enabled the students to understand complicated contents in nursing and midwifery, and to successfully achieve learning outcomes. It also enhanced the students’ satisfaction with their learning. Thus, this teaching technique should be utilized to further improve learning management.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว