ปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองด้วยวิถีการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองด้วยวิถีการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และ 2) วิเคราะห์ปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของ อสม. จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างคืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอพรหมพิราม จำนวน 327 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม อธิบายคุณลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่างด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์อำนาจพยากรณ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของ อสม. ด้วยสถิติ Multiple Regression Analysis แบบ Enter ที่กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) อสม. ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองด้วยวิถีการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ รองลงมาได้แก่ระดับดีและดีมาก และ 2) ปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของ อสม. มีจำนวน 3 ปัจจัย ปัจจัยที่มีอำนาจพยากรณ์สูงสุดได้แก่ ทัศนคติ รองลงมาได้แรงสนับสนุนด้านงบประมาณ และสถานภาพสมรสโดยปัจจัยทั้งสามร่วมพยากรณ์พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของอสม. ได้ร้อยละ 22.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Abstract
The purposes of this study were as follows: 1) to study the level of self-care behavior in relation to Thai Traditional Medicine and Alternative Medicine and 2) to make out predictive factors for self-care behavior in relation to Thai Traditional Medicine and Alternative Medicine among village health volunteers. The research sample included a total of 327 village health volunteers in Phromphiram district. Data were collected by questionnaires. Demographic data included frequency, percentage, mean, standard deviation. The factors predicting self-care behavior were analyzed by Multiple Regression Analysis (Enter) at a significance level of .05. The findings showed that 1) most of village health volunteers had self-care behaviors in relation to Thai Traditional Medicine and Alternative Medicine as a fair level followed by good and very good levels respectively 2) There were three predicting factors of the self-care behavior among village health volunteers. The most powerful predicting factors were attitude followed by social support (financing), and marital status respectively (predictive value of 22.20 %, significance .05).
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว