การศึกษารวบรวมสมุนไพรที่มีสรรพคุณแก้ไข้ในตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป

ผู้แต่ง

  • ศศิเจริญ เจริญสุข สาขาการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย 57100
  • ศิริวรรณ เกตุเพชร สาขาการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย 57100
  • จักรกฤษณ์ คณารีย์ สาขาการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย 57100
  • วนิษา ปันฟ้า สาขาการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย 57100

คำสำคัญ:

สมุนไพร , แก้ไข้, แพทย์แผนไทย, ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและจัดหมวดหมู่ข้อมูลสมุนไพรเดี่ยวที่มีสรรพคุณแก้ไข้ที่ปรากฏในตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไปของกองการประกอบโรคศิลปะ โดยรวบรวมชื่อและสรรพคุณของพืชสมุนไพร จากนั้นนำมาตรวจสอบความซ้ำซ้อนของชนิดสมุนไพร และสรุปจำนวนสมุนไพร พร้อมทั้งจัดหมวดหมู่สมุนไพรตามสรรพคุณการแก้ไข้ ซึ่งการศึกษานี้ได้รวบรวมข้อมูลสมุนไพรเดี่ยวที่มีสรรพคุณแก้ไข้ในตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไปของกองการประกอบโรคศิลปะ ประกอบด้วย ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเวชกรรม เล่ม 1-3 ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาการผดุงครรภ์ และหนังสือตำรับยาแผนโบราณ ผลการศึกษาพบว่าข้อมูลสมุนไพรเดี่ยวที่มีสรรพคุณแก้ไข้ สามารถพบได้ในตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเวชกรรม และตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขา เภสัชกรรม โดยตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเวชกรรม พบสมุนไพรเดี่ยวที่มีสรรพคุณแก้ไข้จำนวน 35 ชนิด และ ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม พบสมุนไพรเดี่ยวที่มีสรรพคุณแก้ไข้ จำนวน 238 ชนิด เมื่อนำข้อมูลทั้ง 2 แหล่งมารวมกัน และตรวจสอบความซ้ำซ้อนของสมุนไพร พบสมุนไพรเดี่ยวที่มีสรรพคุณแก้ไข้ จำนวน 255 ชนิด และสามารถจัดกลุ่มในการแก้ไข้ตามสรรพคุณได้ทั้งหมด 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ไข้ธรรมดาที่เกิดจากความร้อน 2) ไข้ที่มีความร้อนสูงที่รักษาต้องด้วยการกระทุ้งพิษไข้ และ 3) ไข้ที่มีความเฉพาะ จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงสมุนไพรเดี่ยวที่มีสรรพคุณแก้ไข้ในตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไปของกองการประกอบโรคศิลปะ โดยผลการศึกษานี้มีประโยชน์ต่อการพัฒนายาแก้ไข้ด้วยสมุนไพรของแพทย์แผนไทยในอนาคต

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. กองการประกอบโรคศิลปะ. (2549ก). ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาการผดุงครรภ์.บริษัท ไทภูมิ พับลิชชิ่ง จำกัด: นนทบุรี.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. กองการประกอบโรคศิลปะ. (2549ข). ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเวชกรรม เล่ม บริษัท ไทภูมิ พับลิชชิ่ง จำกัด: นนทบุรี.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. กองการประกอบโรคศิลปะ. (2549ค). ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเวชกรรม เล่ม 2. บริษัท ไทภูมิ พับลิชชิ่ง จำกัด: นนทบุรี.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. กองการประกอบโรคศิลปะ. (2549ง). ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเวชกรรม เล่ม 3. บริษัท ไทภูมิ พับลิชชิ่ง จำกัด: นนทบุรี.

กระทรวงสาธารณสุข. (2555). บัญชียาหลักแห่งชาติ. ยาแก้ไข้. ค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2566. https://ttm.skto.moph.go.th

นพมาศ สุนทรเจริญนนท์. (2556). ตำรับยาจันทน์ลีลาจากภูมิปัญญาสู่งานวิจัย. ค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2566. https://pharmacy.mahidol.ac.th

บุญเทียม คงศักดิ์ตระกูล, รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล, วิสุดา สุวิทยาวัฒน์, สมใจ นครชัย และยุวดี วงษ์กระจ่าง. (2537). การศึกษาฤทธิ์ลดไขของบอระเพ็ด. วารสารเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 21(1): 1-6.

สำนักโรคติดต่อทั่วไป. กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข. (2555). โรคติดต่อทั่วไปและภัยสุขภาพ. ค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2566. https://ddc.moph.go.th.

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. (2554). ย่านางอาหารเป็นยา. ค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2566. https://pharmacy.mahidol.ac.th.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กองการประกอบ โรคศิลปะ. (มปป. ก). ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขา เภสัชกรรม. มปท. : มปพ.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กองการประกอบโรคศิลปะ. (มปป. ข). ตำรับยาแผนโบราณ. มปท. : มปพ.

เผยแพร่แล้ว

30-04-2024