ผลของการเสริมมะขามป้อม กระเทียม และตรีผลา ในอาหารโคนมต่อภูมิคุ้มกัน และการให้ผลผลิตน้ำนม

ผู้แต่ง

  • พิพัฒน์ วงศ์กาฬสินธุ์
  • ธีระพัฒน์ อินทร์ลี
  • พิทักษ์พล พรเอนก
  • จุฬาสินี แมนสถิตย์
  • นิคม ศรีกะชา
  • ชเวง สารคล่อง สาขาสัตวศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร 47160
  • อนัญญา พรมโคตร สาขาแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร 47160
  • ชำนาญวิทย์ พรหมโคตร สาขาเทคนิคการสัตวแพทย์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร 47160

คำสำคัญ:

มะขามป้อม กระเทียม ตรีผลา อาหาร โครีดนม

บทคัดย่อ

การทดลองในโครีดนม มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมมะขามป้อม กระเทียม และตรีผลา ในอาหารโคนมต่อ ภูมิคุ้มกันโรค โลหิตวิทยา ผลผลิตน้ำนม และองค์ประกอบน้ำนม ปริมาณเซลล์ในน้ำนม โดยใช้โครีดนมพันธุ์ผสมขาว-ดำ ระยะกลางของการให้ผลผลิตน้ำนม 4 ตัว (น้ำหนักเฉลี่ย 430 ± 10 กก.) จัดการสุ่มให้ได้รับอาหาร 4 สูตร ในแผนการทดลองแบบ 4 x 4 ลาตินสแควร์ แบ่งเป็น 4 ระยะเวลา ๆ ละ 21 วัน สิ่งทดลองคือ ชนิดของสมุนไพรที่ใช้เสริมในอาหารผสมครบส่วน หรือ Total Mixed Ration (TMR)  ที่ระดับ 2 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งในอาหาร TMR  ดังนี้ 1. กลุ่มควบคุม (ไม่เสริมสมุนไพร) 2. ผลมะขามป้อมแห้งบดละเอียด 3. หัวกระเทียมแห้งบดละเอียด และ 4. ตรีผลา (มีส่วนผสมของสมุนไพร 3 ชนิดในสัดส่วน 1:1:1 ดังนี้ ผลมะขามป้อมแห้งบดละเอียด ผลสมอไทยแห้งบดละเอียด และผลสมอภิเพกบดละเอียด) อาหาร TMR มีฟางข้าวสับเป็นอาหารหยาบ โดยมีสัดส่วนอาหารหยาบต่ออาหารข้นที่ 20:80 และให้อาหารกินแบบเต็มที่ ผลการศึกษาพบว่า สมุนไพรทั้งสามชนิดไม่มีผลต่อการให้ผลผลิตน้ำนม องค์ประกอบน้ำนม ปริมาณโซมาติกเซลล์ในน้ำนม ค่าทางโลหิตวิทยา แต่พบว่า สมุนไพรทั้งสามชนิดมีผลทำให้ระดับโปรตีนภูมิคุ้มกันโดยเฉพาะ IgA และ IgG ในเลือด สูงกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเสริมสมุนไพรพบว่า ระดับโปรตีนภูมิคุ้มกันไม่แตกต่างกัน จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่า การเสริมสมุนไพรผลมะขามป้อมแห้งบดละเอียด  หัวกระเทียมแห้งบดละเอียด หรือ ตรีผลาเสริมในอาหาร TMR เพื่อเลี้ยงโคนที่ 2 เปอร์เซ็นต์ในอาหาร มีผลกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้ และไม่มีผลทางลบต่อการให้ผลผลิต

References

เยาวมาลย์ ค้าเจริญ. (2556). การใช้สมุมุนไพรในอาหารสัตว์ไทยมุ่งสู่มาตรฐานอาเซียน. แก่นเกษตร. 41 (4): 369-376.

วันดี กฤษณพันธ์. (2539). สมุนไพรสารพัดประโยชน์ พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพมหานคร. 264 หน้า

Arreola R., Quintero-Fabián, S., López-Roa, RI., Flores-Gutiérrez, EO., Reyes-Grajeda, JP., Carrera-Quintanar, L., and Ortuño-Sahagún, D. (2015). Immunomodulation and anti-inflammatory effects of garlic compounds. Journal of immunology research, vol. 2015, Article ID 354957, 21 pages, 2015. https://doi.org/10.1155/2015/354957

AOAC. (1997). In: Official Methods of Analysis16th ed. Association of Official Analytical Chemists, Gaithersburg, MD.

Francisco V., Liberal J., Ferreir J., Costa G., Lopes M.C., Garcia-Rodríguez C., Cruz MT. and Batista MT. (2012). Immunostimulant activity of Uncaria tomentosa and its tannins. Planta Medica, 78(11), p.PD9.

Goering HK. and Van Soest PJ. (1970). Forage Fiber Analysis. Agriculture Handbook no.379. United State Department of Agriculture,

Washington, DC.

Kamel C., Greathead HMR., Tejido ML., Ranilla MJ. and Carro MD. (2008). Effects of allicin and diallyl disulfide on in vitro rumen fermentation of a mixed diet. Animal Feed Science and Technology. 145(1-4): 351-363.

Kamra DN., Neeta AL. and Chaudhary C. (2006). Inhibition of ruminal methanogenesis by tropical plants containing secondary compounds. International Congress Series. 1293:156-163.

SAS. (1996). SAS/STAT User’5 Guide: Statistic. SAS Institute Inc. North Carolina.

Wanapat M., Cherdthong A., Pakdee P. and Wanapat S. (2008). Manipulation of rumen ecology by dietary lemongrass (Cymbopogon citratus Stapf.) powder supplementation. Journal of Animal Science. 86(12):3497-3503.

Washiya Y., Nishikawa T. and Fujino T. (2013). Enhancement of intestinal IgA production by ajoene in mice. Bioscience, biotechnology, and biochemistry 77(11): 2298-230.

ผลของการเสริมมะขามป้อม กระเทียม และตรีผลา ในอาหารโคนมต่อภูมิคุ้มกัน และการให้ผลผลิตน้ำนม ( Effect of supplementation of Emblica officinalis, Allium sativum, and Triphala in dairy cow feed on immune and milk production )

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2023