ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หลังการถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี
คำสำคัญ:
ความสุขในการทำงานของบุคลากร, ปัจจัยค้ำจุน, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยลักษณะงาน ปัจจัยค้ำจุน และความสุขในการทำงาน
ของบุคลากร และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากร ในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 282 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.89, 0.96 และ 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ
เชิงพรรณนาและสถิติถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า ระดับของปัจจัยลักษณะงานมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านความสำคัญของงานมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดซึ่งอยู่ในระดับมาก ปัจจัยค้ำจุนมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดซึ่งอยู่ในระดับมาก ส่วนความสุขในการทำงานของบุคลากรมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมิติที่ 3 น้ำใจดีมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดซึ่งอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ รายได้ที่ได้รับต่อเดือน สวัสดิการและค่าตอบแทน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความมั่นคงในงาน
หน่วยงานควรมีนโยบายที่ให้ความสำคัญเรื่องสวัสดิการและค่าตอบแทน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความมั่นคงในงาน การพิจารณาลักษณะงานให้เหมาะสมตามอายุและเงินที่ได้รับต่อเดือน เพื่อให้บุคลากรมีความสุขในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพต่อองค์กรและเป็นประโยชน์กับประชาชน
References
ขจรศักดิ์ สุขเปรม. (2565). รายงานการวิจัยเรื่องคุณภาพชีวิต ความสุขในการทำงานต่อความผูกพันองค์กรของบุคลากรกรมอนามัย. กลุ่มพัฒนาทรัพยากรบุคคล กองการเจ้าหน้าที่ กรมอนามัย.form https://shorturl.asia/idyuE
ฐิตาภัทร์ ทุทุมมา. (2563). แรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานฝ่าย บิวตี้ แอนด์ เซลล์ (Beauty & Sales) กรณีศึกษา บริษัทเซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยมหิดล]. CMMU Digital Archive. https://shorturl.asia/JSDxv
ธัญญารัตน์ สาลิกา. (2566). รายงานการวิจัย เรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินการคลัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. กองบริหารทรัพยากรสุพรรณบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
https://research.rmutsb.ac.th/fullpaper/2566/research.rmutsb-99-20230531105625944.pdf
นูร์ปาซียะห์ กูนา. (2562). ความสุขในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คลังปัญญามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. form https://shorturl.asia/2kFtz
พงศ์ชัย ณัฏฐโสภณ. (2566). ความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน กรณีศึกษาเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลบางละมุง [การค้นคว้าปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
แพรวพรรณ ศิริเลิศ. (2567). รายงานความสุขโลกประจำปี 2567. ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมาย
การพัฒนาที่ยั่งยืน. https://shorturl.asia/6x2p8
เมธาวี ยงทรัพย์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรเชียงแสนจังหวัดเชียงราย. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์และการจัดการสังคม, 3(2), 21-32. Form
สรวัชร์ สุดแก้ว.(2563). คุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังดาล อำเภอกบินทร์บุรี
จังหวัดปราจีนบุรี [งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2565) รายงานสำรวจคุณภาพชีวิต ความสุข ความผูกพันองค์กรของคนทำงาน(ในองค์กร). form https://ipsr.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/2022/09/ 576-HappyWorkplace-2021.pdf
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2558). เครื่องมือวัดความสุขด้วยตนเอง.
form https://www.thaihealth.or.th/happinometer
สุมัทนา คลังแสง. (2564). การศึกษาปัจจัยแรงจูงใจในการ work from home ที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
สถาบันพระปกเกล้า. form https://shorturl.asia/Bg1N7
อติญาณ์ ศรเกษตริน และคณะ. (2565). ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารอัตรากำลังคน ด้านสุขภาพช่วงระยะเปลี่ยนผ่านจากการถ่ายโอน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด.
วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี, 18(1), 121-132.
https://he01.tcithaijo.org/index.php/JHR/article/view/264334/182220
อรชพร ทัพพ์วรา. (2562). รายงานการวิจัย เรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของกลุ่มคนทำงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin92/6214154702.pdf
Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. B. (1959). The motivation to work. New York: John Wiley and Sons.
Hackman, & Oldham. (1980). Work redesign. Addison-Wesley: Reading Mass.
Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. Archives of Psychology,
, 1–55.
Yamane, T. (1973). Statistic : an Introductory Analysis. New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน
![Creative Commons License](http://i.creativecommons.org/l/by-nc-nd/4.0/88x31.png)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน