การพัฒนารูปแบบการจัดทำผลงานวิจัยทางด้านสาธารณสุข จังหวัดชุมพร

ผู้แต่ง

  • อดิศร วิศาล council of community-public health
  • กฤตย์ติวัฒน์ ฉัตรทอง

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, วิจัย, สาธารณสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดทำผลงานวิจัยทาง
ด้านสาธารณสุขของบุคลากรในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 96 คน ประกอบด้วย กลุ่มเครือข่ายวิชาการ จำนวน 20 คน โดยมีการเก็บข้อมูลกลุ่มผู้ที่เคยมีประสบการณ์การวิจัยมาแล้วและผู้ที่สนใจที่จะจัดทำผลงานวิจัย จำนวน 76 คน โดยใช้กระบวนการวางแผน ปฏิบัติ ตรวจสอบ ปรับปรุง (PDCA) ขั้นตอนการวางแผนโดยการกำหนดการพัฒนารูปแบบการจัดทำผลงานวิจัย ขั้นตอนการปฏิบัติโดยการจัดทำโครงการพัฒนาการจัดทำผลงานวิจัยด้านสาธารณสุขและโครงการเวทีนำเสนอผลงานวิชาการ
ด้านการวิจัย ขั้นตอนการตรวจสอบโดยการติดตามและประเมินผล และขั้นตอนการปรับปรุงโดยการปรับปรุงและแก้ไขกิจกรรม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้  ประเมินความพึงพอใจ แบบแบบบันทึกกระบวนการวิเคราะห์สวอท แบบบันทึกกระบวนการประชุมแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ด้วยเทคนิคเอไอซี แบบบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการบันทึกภาคสนาม และแบบสรุปผลงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

    ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการจัดทำผลงานวิจัยทางด้านสาธารณสุข ประกอบไปด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการโดยการมีส่วนร่วมโดยการวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ถูกควบคุมและการนำพลังปัญญาสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในบุคคล  2) การกำหนดกลยุทธ์และกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพ 3) การจัดกิจกรรมตามโครงการพัฒนาการจัดทำผลงานวิจัยด้านสาธารณสุขและโครงการเวทีนำเสนอผลวิชาการด้านการวิจัย
และ 4) การสังเกตและการประเมินผลการปฏิบัติ

จากผลการพัฒนารูปแบบการจัดทำผลงานวิจัยทางด้านสาธารณสุข สถานบริการสาธารณสุขในแต่ละระดับ สามารถนำรูปแบบการการพัฒนาผลงานวิจัยซึ่งได้พัฒนามาอย่างมีระบบไปปรับใช้ให้เหมาะสมตามบริบทของแต่ละพื้นที่หรือสถานบริการดังกล่าว และพัฒนาให้ผลงานวิจัยได้เผยแพร่สู่สาธารณชนเพื่อประโยชน์
ต่อวงการแพทย์และสาธารณสุขต่อไป

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2567). ยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี : กองยุทธศาสตร์และแผนงาน.

กฤตย์ติวัฒน์ ฉัตรทอง. (2562). ผลของโปรแกรมการพัฒนาผลงานวิจัย โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์.

เอกสารประกอบการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี : กรมวิชาการ

คิดณรงค์ โคตรทอง. (2564). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยภาคีผู้สูงอายุในชุมชนบ้านยางเทิงตำบลไร่น้อย อำเภอเมืองอุบลราชธานีจังหวัดอุบลราชธานี. [ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตวิทยานิพนธ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประเวศ วะสี, ป. (2540). ประชาสังคม ทรรศนะนักคิดสังคมไทย. ใน: ชูชัย ศุภวงศ์ และ ยุวดี คาดการณ์ไกล (บรรณาธิการ). หน้า 3-36. กรุเทพฯ: มติชน.

พิกุล นันทชัยพันธ์. (2539). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพในการดูแลตนเองชองผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์. [ปริญญาพยาบาลศาสตรดุษฎีบัฑิต (บริหารสาธารณสุข)]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุภัทร ชูประดิษฐ์. (2550). การทำงานในชุมชน. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2567,

http://gotoknow.org/blog/communityblog.สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ

สังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580. https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร. (2567). แผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข จังหวัดชุมพร ปีงบประมาณ

ชุมพร : กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข

Bandura, A. (1977). Self-Efficacy.The Exercise of Control. New York: W. H. Freeman & Co.

Glanz , Karen . Carbone , Elena & Song , Valerie. (1999). Formative research for developing targeted Skin cancer prevention programs for children in multiethnic Hawaii. Health Education Research. 14(2), 155-166.

McClelland, David C. (1961). The Achieving Society. New York : D. Van Nostrand Company Ine.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-23