ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะหลักของบุคลากรด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • นุชิตา ม่วงงาม หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารสาธารณสุข) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • จารุวรรณ ธาดาเดช ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • จุฑาธิป ศีลบุตร ภาควิชาชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

สมรรถนะหลัก, บุคลากรด้านสาธารณสุข, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, ปัจจัยจูงใจ, ปัจจัยค้ำจุน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุนกับสมรรถนะหลัก กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นข้าราชการจำนวน 327 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยหาค่าสัมประสิทธิ์ Cronbach’s Alpha Coefficient พบว่าแบบสอบถามสมรรถนะหลัก ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน มีค่าเท่ากับ 0.94, 0.83, 0.88 ตามลำดับ  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน  สถิติทดสอบไคสแควร์และสถิติถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับสมรรถนะหลักอยู่ในระดับปานกลาง (2.90 ± 0.30) ปัจจัยจูงใจอยู่ในระดับมาก (3.82 ± 0.50) ปัจจัยค้ำจุนอยู่ในระดับมาก (3.51 ± 0.62) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถนะหลัก ได้แก่ ปัจจัยจูงใจ  (r = 0.653, p-value<0.001)  และปัจจัยค้ำจุน  (r = 0.458, p-value<0.001)  โดยปัจจัยจูงใจเป็นปัจจัยที่ใช้ในการอธิบายสมรรถนะหลักของบุคลากรได้ร้อยละ 42.4

            ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ควรนำปัจจัยจูงใจไปกำหนดขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบงานให้ชัดเจน การจัดสรรบุคลากรให้เพียงพอกับปริมาณงาน รวมถึงการจัดสรรผลตอบแทนที่เหมาะสมเป็นธรรม เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขมีสมรรถนะหลักที่ดีและส่งผลให้การดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลประสบผลสำเร็จ

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). คู่มือบริหารจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม

จาก https://pakphananghealth.com/data2555/1/b1293010020_3.pdf

ฉวีวรรณ ทองทาสี. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะของบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

ลพบุรี. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี, 32(1), 28-40.

เทพอินทร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา, และสุวิทย์ อุดมพาณิชย์. (2562). แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตาม

สมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(2), 42-51.

นวพร รัตนจริยา, และชนะพล ศรีฤาชา. (2564). แรงจูงใจและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการควบคุมการติด

เชื้อตามมาตรฐานของทันตบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 15(38), 588-604.

ประวีณา สุมขุนทด, และประจักร บัวผัน. (2566). แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์กรที่มีผลต่อการดำเนินงาน

ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 9(2),

-45.

พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562. (2562, 30 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่

ก, หน้า166.

พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์, ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา, ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม, กฤชวรรธน์ โล่วัชรินทร์, และปานปั้น

รองหานาม. (2566). การขับเคลื่อนการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและการมีส่วนร่วมของ

ประชาชนในการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิขององค์การบริหารส่วนจังหวัด กรณีศึกษาองค์การบริหาร

ส่วนจังหวัดขอนแก่น. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2566. จาก https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/5835/hs2955.pdf?sequence=1&isAllowed=y

เพชรรัตน์ อรุณภาคมงคล, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, และณัฐนารี เอมยงค์. (2566). สมรรถนะหลักของบุคลากร

ศูนย์อนามัยแห่งหนึ่งในสังกัดกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข, 9(1), 36-47.

วราภรณ์ เขตผดุง, นพรัตน์ เสนาฮาด, สุรชัย พิมหา, และนครินทร์ ประสิทธ์. (2567). แรงจูงใจและปัจจัย

ทางการบริหารที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 10(2), 22-32.

วิลาวัลย์ พุตติ. (2562). การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะหลักของบุคลากรโรงพยาบาลบ้านโป่ง.

วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล, 4(3).

ศิรินภา ภูชาดา, มกราพันธ์ จูฑะรสก, และประจักร บัวผัน. (2566). แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผล

ต่อความสุขในการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 16(2), 74-96.

สุธณัฐรดา กุบแก้ว. (2562). ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี.

[วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกริก.

สุวัฒน์ โคตรสมบัติ. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับสมรรถนะการปฏิบัติงานของ

บุคลากรเพื่อพัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพ. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 19(1), 29-36.

สมธนึก โชติช่วงฉัตรชัย, กมลพัฒน์ มากแจ้ง, ศรวณีย์ อวนศรี, วิมลรัตน์ ถนอมศรีเดชชัย, ธนินทร์ พัฒนศิริ, ศักดิ

ธัช อิทธิพิสิฐ, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, และวลัยพร พัชรนฤมล. (2565). รายงานฉบับสมบูรณ์ กลไกการ

ประมวลสถานการณ์และการสนับสนุนงานวิชาการนโยบายและระบบสุขภาพ กรณีการถ่ายโอน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2566. จาก

https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5864?locale-attribute=th

สมหญิง ทับเรือง. (2564). คู่มือการกำหนดสมรรถนะสำหรับข้าราชการส่วนท้องถิ่น คู่มือสมรรถนะหลัก. สืบค้น

เมื่อ 19 เมษายน 2566. จาก https://www.nongpring.go.th/project_detail.php?hd=24&doIP=1&checkIP=chkIP&id=30776&checkAdd=chkAd&dum=43169_ypk

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติพ.ศ. 2561 - 2580.

สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2565. จาก http://nscr.nesdc.go.th/wpcontent/uploads/2023/06/NS_PlanOct2018.pdf

สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ. (2566). คู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.2566. สืบค้น

เมื่อ 19 เมษายน 2566. จาก https://www.uckkpho.com/download/3685

Ariyani E.D., & Setiyadi N.A. (2024). The relationship between motivation and the performance

of toddler integrated service post cadres in the Serogiri community health center work area. Journal of UINSU, 6(1), 222-231.

Best J.W. (1981). Research in Education. New Jersey: Prentice – Hall.

Bytyqi Q. (2020). The impact of motivation on organizational commitment: An empirical study

with Kosovar employees. Prizren Social Science Journal, 4(3), 24-32.

Herzberg F., Mausner B., & Snyderman BB. (1959). The motivation to work. New York: Routledge.

Hye-Young Park, & Ji-Soo Kim. (2017). Factor influencing disaster nursing core competencies of

emergency nurse. Journal of Elsevier, 37, 1-5.

Karaferis D., & Aletras V., & Raikou M., & Niakas D. (2022). Factor influencing motivation and

work engagement of healthcare professionals. Journal of Mater Sociomed, 34, 216-224.

Kumarasinghe M., & Samaranayake D. (2020). Job satisfaction and associated factors among

Public Health Inspectors in Sabaragamuwa Province, Sri Lanka: pre-COVID-19 era. Sri Lanka Journal of Social Sciences, 43(2), 99-108.

Nationtv Story. (2565). รพ.สต.ถ่ายโอนสู่อบจ. จิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญ กระจายอำนาจด้านสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 2

พฤษภาคม2567. จาก https://www.nationtv.tv/news/social/378886741

Rai R., & Thekkekara J.V., & Kanhare R. (2021). Herzberg’s Two Factor Theory: A Study

on Nurses’s Motivation. Journal of Allied Health Sciences, 1(1), 13-17.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-23