ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสพยาบ้าในทหารใหม่ จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • ปรารถนา ศุภลักษณ์ -
  • จักรกฤษณ์ พิญญาพงษ์
  • สุนีย์ กันแจ่ม

คำสำคัญ:

การเสพยาเสพติดประเภทที่ 1 (ยาบ้า), ทหารกองประจำการ, แนวทางการดูแลทหารที่เสพยาเสพติด

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุก, ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสพยาเสพติดของทหารกองประจำการ และแนวทางในการดูแลทหารกองประจำการที่มีความผิดปกติจากการเสพยาเสพติด ในระหว่างการฝึกทหารใหม่ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากทหารกองประจำการ ผลัดที่ 2/66 จังหวัดอุตรดิตถ์ และหาแนวทางในการดูแลทหารกองประจำการฯ จากผู้ปฏิบัติงานภายในหน่วยฝึกทหารใหม่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% แนวทางการดูแลทหารกองประจำการที่มีความผิดปกติจากการเสพยาเสพติด ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจ ปัจจัยสิ่งแวดล้อม และปัจจัยทางจิตวิทยา มีความสัมพันธ์กับประวัติการเสพยาเสพติดประเภทที่ 1 (ยาบ้า) ตลอดช่วงชีวิตที่ผ่านมา ก่อนมาเป็นทหารกองประจำการ ของทหารกองประจำการ จังหวัดอุตรดิตถ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และแนวทางการดูแลทหารกองประจำการฯ ที่มีความผิดปกติจากการเสพยาเสพติด ควรมีการดูแลที่มุ่งเน้นด้านการเฝ้าระวังโดยการสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด การเฝ้าระวังเมื่อมีอาการขาดยาระหว่างฝึก และการจัดการอบรมจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านยาเสพติด การจัดผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ มาแนะนำและกำกับการดูแลทหารกองประจำการฯ

References

กรมการปกครอง. (2565). แผนการปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด กรมการปกครอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://multi.dopa.go.th

กรมแพทย์ทหารบก. (2566). โปรแกรมการดูแลสุขภาพทหารใหม่กองทัพบก/กรมแพทย์ทหารบก (AMED Health Protection). สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์2566 จาก https://rtamed.rta.mi.th

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับ ยาเสพติด. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2565 จาก http://www.rno.moph.go.th/2bno1/Document/article_20160307165455.pdf

กลุ่มวิชาการการพยาบาล ภารกิจด้านการพยาบาล รพ.ธัญญารักษ์ขอนแก่น. (2563). คู่มือการให้บริการ : การดูแลผู้ติดยา สารเสพติด และครอบครัว รพ.ธัญญารักษ์ขอนแก่น. รพ.ธัญญารักษ์ขอนแก่น. (เอกสารอัดสำเนา).

ชูพงษ์ สายอุบล. (2563). การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกรมทหารราบที่ 29 ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล. หลักสูตรหลักประจำ วิทยาลัยการทัพบก.

นุชสา อินทะจักร และ สมเดช พินิจสุนทร. (2560). มูลเหตุจูงใจในการใช้ยาเสพติดของผู้ที่เข้ารับการบำบัดในโรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานี. นิพนธ์ต้นฉบับ, 503-523.

ประกายเพชร แก้วอินทร์ และ ภุชงค์ เสนานุช. (2561). ปัจจัยส่วนบุคคล สังคม และระดับความรู้ที่มีความสัมพันธ์กับสาเหตุ และพฤติกรรมการใช้ยาเสพติด ชนิด 4x100 ของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจ และคุ้มครองเด็กและเยาวชน เขต 8 และ 9. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 26(2), 205-233.

พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ. (2497). พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2565 จาก http://www.law.moi.go.th/law/group1/group1_law14.pdf

มีชัย ไทรงาม. (2564). แนวทางการแก้ไขปัญหาการติดยาเสพติดพลทหารกองประจำการในพื้นที่กองทัพภาคที่ 4. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล. หลักสูตรหลักประจำ วิทยาลัยการทัพบก.

วราภรณ์ ประทีปธีรานันต์. (2562). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดของผู้ต้องขังคดียาเสพติด ในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาล, 68(1), 49-57.

วสันต์ วุฒิวโรดม และ พัลยมน สินหนัง. (2562). แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกรมสนับสนุนกองพลทหารราบที่ 9. HUSO Journal of Humanities and Social Sciences, 3(2), 51-72.

วุทธิพัฒน์ ปรัชญ์ฐากรณ์. (2565). การแก้ไขปัญหายาเสพติดของทหารกองประจำการ สังกัด กองทัพภาคที่ 3. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล. หลักสูตรหลักประจำ วิทยาลัยการทัพบก.

ศิริลักษณ์ ปัญญา. (2560). ศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการกลับไปใช้ยาเสพติดซ้ำของผู้รับการบำบัดยาเสพติดในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. การประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 2 “การวิจัย 4.0 เพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”, 161-169.

ศูนย์การทหารอากาศโยธิน หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน. (2564). คำแนะนำการฝึกทหารกองประจำการ(ใหม่). หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน.

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี. (2566). สถิติผู้ป่วยทั้งหมดที่เสพยาบ้าเป็นยาเสพติดหลัก และเสพร่วมกับยาอื่น ๆ ประจำปีงบประมาณ 2561-2565. Retrieved 16 มีนาคม 2566 สืบค้นจาก http://www.pmnidat.go.th

สานิตย์ สีนากสุก. (2567). แนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดของทหารกองประจำการ กองทัพภาคที่ 3. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล. หลักสูตรหลักประจำ วิทยาลัยการทัพบก.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม. (2565). แผนปฏิบัติการด้านป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2565. กระทรวงยุติธรรม.

สุพพัต หีบโอสถ. (2565). การพัฒนาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในกลุ่มทหารกองประจำการกองทัพบกที่สอดคล้องกับ ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล. หลักสูตรหลักประจำ วิทยาลัยการทัพบก.

สุวพันธุ์ คะโยธา และ วุธิพงศ์ ภักดีกุล. (2561). ปัจจัยเสี่ยงต่อการใช้ยาเสพติด และปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันยาเสพติดของเยาวชน ในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตเทศบาลนครสกลนคร. Journal of Sakon Nakhon Hospital, 21(3), 84-95.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-20