ผลของโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและแรงสนับสนุนทางสังคม ต่อพฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • หนึ่งฤทัย แสงทอง -
  • ธนากร ธนวัฒน์
  • ณิชารีย์ ใจคำวัง

คำสำคัญ:

การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, แรงสนับสนุนทางสังคม, พฤติกรรมการดูแลเท้า, เบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 36 คน ได้รับโปรแกรมการดูแลเท้าและกลุ่มควบคุม จำนวน 36 คน ระยะดำเนินกิจกรรม 8 สัปดาห์ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล และโปรแกรมการดูแลเท้า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา
การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบใช้สถิติ Paired sample t-test และ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05

ผลการวิจัย พบว่า หลังได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลเท้า การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และแรงสนับสนุนทางสังคมเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนได้รับโปรแกรม เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการดูแลเท้า การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลเท้า และแรงสนับสนุนทางสังคมเพิ่มมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(p < 0.05) สรุปได้ว่าโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลเท้า สามารถนำไปส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้เบาหวานชนิดที่ 2 ได้

References

กรมการแพทย์. (2564). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร

แห่งประเทศไทย.

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักโรคไม่ติดต่อ. (2559). รายงานประจำปีสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข 2559. กรุงเทพ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

จิรานันท์ วงศ์สุวรรณ, ศิวพร อึ้งวัฒนา และสุกฤตา สวนแก้ว. (2563). การสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่. พยาบาลสาร, 47(3), 267-276.

ฐิติมา โกศัลวิตร, กัญญารัตน์ กันยะกาญจน์, นฤมล บุญญนิวารวัฒน์ และธิดารัตน์ ศรีธรรมา. (2562). ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงบัง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(1), 26-37.

ทัศพร ชูศักดิ์, เนตรนภา สาสังข์ และสายสมร เฉลยกิตติ. (2561). ผลการใช้โปรแกรมการดูแลเท้าเพื่อป้องกันการถูกตัดขาของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ตำบลสำโรงชัย อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์.

เวชสารแพทย์ทหาร, 71(2), 105-112.

นิติพงศ์ ศรีเบญจมาศ. (2562). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเท้าต่อพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 14(4), 175-181.

ปภาดา มหัทธนะประดิษฐ์, มานพ คณะโต และพูนรัตน์ ลียติกุล. (2561). ความรู้ในการดูแลเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน เขตพื้นที่อำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี. ศรีนครินทร์เวชสาร, 33(6), 520-525.

รายงานประจำปีโรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหัก. (2565). รายงานผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของโรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหัก. โรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์. (เอกสารอัดสำเนา)

วัชชัย วรพงศธร. (2561). การคำนวณขนาดตัวอย่างสำหรับงานวิยโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G-Power. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 41(2), 11-21.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 ประทุมธานี: ร่มเย็น มีเดีย.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์. (2565). งานศูนย์ข้อมูล (HDC). สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2567, จาก https://utt.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

สุภาพ อารีเอื้อ และพิชญ์ประอร ยังเจริญ (2563). แบบประเมินสมรรถภาพการรู้คิด 6 ข้อฉบับภาษาไทย : การทดสอบคุณสมบัติทางจิตวิทยา. Rama Nurs J, 26(2), 188-202.

หนึ่งฤทัย จันทร์อินทร์, อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ และพรทิพย์ มาลาธรรม. (2558). พฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล, 21(2), 199-211.

อุไรวรรณ นนท์ปัญญา, แสงทอง ธีระทองคำ และจิราพร ไลนิงเกอร์. (2563). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนในการดูแลเท้าต่อพฤติกรรมการดูแลเท้าและการสูญเสียความรู้สึกที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย, 7(2), 76-91.

American College of Sports Medicine. (2012). Resource manual for guidelines for exercise testing and prescription (7th ed.). Wolters Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins.

Bandura A. (1997). Self-efficacy: toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review, 84(2), 191-215.

Schaefer, C., Coyne, J. C., & Lazarus, R. S. (1981). The health-related functions of social support. Journal of Behavioral Medicine, 4(4), 381-406.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-16