ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของพระภิกษุสงฆ์ในจังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
พฤติกรรม, การสูบบุหรี่, พระภิกษุสงฆ์, ปัจจัย, ลำปางบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของพระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาในจังหวัดลำปางตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากพระภิกษุสงฆ์ 328 รูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและ logistic regression
ผลการศึกษาพบว่า อายุเฉลี่ย 48.4 ปี ระยะเวลาบวช 18.6 พรรษา สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษา
ร้อยละ 21.3 ส่วนใหญ่จบนักธรรมชั้นเอกและเป็นพระลูกวัด พบความชุกของการสูบบุหรี่ร้อยละ 44.8 (147 รูป) โดยมีการติดสารนิโคตินระดับสูงร้อยละ 14.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของพระภิกษุสงฆ์ในพื้นที่จังหวัดลำปาง ได้แก่ พระภิกษุที่บวชมา 20-30 พรรษา (AOR = 4.86, 95% CI= 1.56-15.10) การศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี โดยเฉพาะผู้ที่จบมัธยมศึกษาตอนต้น (AOR = 26.50, 95% CI= 3.62-193.73)
มีทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ระดับปานกลาง (AOR = 6.02, 95% CI= 2.92-12.38) การรับรู้ธรรมนูญสุขภาพพระภิกษุสงฆ์แห่งชาติระดับปานกลาง (AOR = 3.44, 95% CI= 1.32-8.99) และได้รับปัจจัยเสริมระดับปานกลาง
(AOR = 7.36, 95% CI= 2.74-19.75) อย่างไรก็ตาม ปัจจัยป้องกันของการสูบบุหรี่ของพระภิกษุ ได้แก่ ตำแหน่งทางพระสังฆาธิการตั้งแต่ระดับเจ้าคณะตำบลขึ้นไป (AOR = 0.07, 95% CI: 0.01-0.76) และการรับรู้กฎหมายความคุมบริโภคยาสูบระดับปานกลาง (AOR = 0.13, 95% CI: 0.05-0.36) ดังนั้นควรบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานสาธารณสุข คณะสงฆ์ และชุมชนในการรณรงค์ลดการสูบบุหรี่โดยให้ความรู้เกี่ยวกับโทษ
ของบุหรี่และปรับเปลี่ยนทัศนคติ พัฒนามาตรการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการสูบบุหรี่ที่เหมาะสมกับบริบทของพระสงฆ์
References
Best, J.W. (1977). Research in Education Edition 3. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice Hall
Publisher, the University of Michigan. 0137740182, 9780137740185.
Chotbenjamaporn P., Pitayarangsarit S., Garg RM. (2016). Thailand, World Health Organization,
Global youth tobacco survey: Thailand, 2015. New Delhi, India: World Health Organization,
Regional office for South-East Asia; 2016.
Jampat, C., Kuson, K., Sanphawiwong, J. (2020). Factors related to smoking among monks in
Mueang District, Surat Thani Province. Journal of the Southern Nursing and Public Health College Network. April 21, 2019; 6(2): 81–90. (in Thai)
Jirapakpong C, Suwannapa C, Mongkongpipatphon P, Attawong P. (2019). Buddhist Monk’s Well-being: A Development of Well-being Promotion Model on Buddhist Way By Community Public Health Integration for Good Life Quality in Lampang province. Veridian E-Journal Silpakorn Univ Humanit Soc Sci Arts.; 12(6): 1227–47.
Kuanma, K., Homsin, P., & Srisuriyawet, R. (2010). Factors related to smoking behavior among
monks in Rayong Province. Public Health Nursing Journal, 24(3), 68- 76. (in Thai)
Office of Buddhism in Lampang Province. (2022). Number of monks and novices in Lampang
Province. Retrieved November 11, 2022 from :https:/lpg.onab.go.th/th/content/category/ detail/id/17/iid/5277.(in Thai)
Phra Palat Tasanaphon., & Khemjaro. (2022). MCU Digital Collections Retrieved November 11, 2022 from https://e-thesis.mcu.ac.th/thesis/2286.(in Thai)
Phra Ratchawaramun, Phra Mongkolwachirakorn, Phra Mongkolthammawithan, Phutthasri W.
(2017). National Monk Health Act B.E. 2560. 1st ed. Nonthaburi: O.S. Printing House Co., Ltd.; 2017.(in Thai)
Pittayarangsrit, S., Pankrachang, P. (2022). Report on tobacco consumption statistics in Thailand
Retrieved November 11, 2022 from https://www.trc.or.th/th/media/attachments.
(in Thai)
Wiriya, K. et al. Knowledge and attitudes about cigarettes and cigarette exposure behavior of
students at Prince of Songkla University. J.Science Service, 30(1):66-74. (in Thai)
World Health Organization.TOBACCO-CONTROL-AND-THE-SUSTAINABLE-DEVELOPMENT-GOALS.
Retrieved November 11, 2022 from https://www.euro.who.int.
Yangthisan N, Joosing R, Roopmodee Y, Phetphum C. (2020). Smoking situation and factors
affecting smoking among monks in the Central region. J Public Health Naresuan Univ. ;2(1): 28–40. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน