ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังยาว ตำบลดอนขุนห้วย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
พฤติกรรมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ และศึกษาปัจจัยที่ส่งผล
ต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังยาว ตำบลดอนขุนห้วย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบ
ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังยาว ตำบลดอนขุนห้วย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 205 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย 4 ตอน
1) ปัจจัยส่วนบุคคล 2) การรับรู้ภาวะสุขภาพ 3) แรงสนับสนุนทางสังคม และ 4) พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์
การถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับพฤติกรรมสุขภาพทุกด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่
การจัดการความเครียด รองลงมา คือการออกกำลังกาย และ การรับประทานอาหารและ การปฏิบัติตน
เมื่อเจ็บป่วย ตามลำดับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคลคล ได้แก่
ที่มารายได้ เพศ โรคประจำตัว และแรงสนับสนุนทางสังคมร่วมกันทำนายพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุได้ 24.90% (Adjusted R2 = 0.234, p<0.05)
References
Gottlieb, J. L. (1985). Social participation of individuals in four rural community of thenortheast: rural sociology. 4th ed. Columbia: University Missouri Press.
Linn, M.W. and Linn, B.S. (1987). Self Evaluation of Life Function (SELF) Scale : A Short, Comphrehensive Self Report of Health for Elderly Adults. Journal of Gerontogy, 39(5), 602-612.
Orem, D (1985). Nursing concepts of Practice. (3rd ed.). St. Louis: Mosby -Book.
Walker,S. N, Vokan, K., Sechsist, K. R. & Pender, N. J. (1988). The health promoting live styles of older adults. n.p.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
กระทรวงสาธารณสุข. (2561). ยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สามลดา.
กุลวดีโรจน์ ไพศาลกิจ และ วรากร เกรียงไกรศักดา. (2560).การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานของชุมชนในการพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 22(1), 81-97.
กิติพงษ์ ขัติยะ. (2564). กิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุวัยต้นในชุมชน. เชียงใหม่ : กลุ่มพัฒนาสุขภาพ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
จิราภรณ์ ตุ่มทองคำ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้อายุในเทศบาลตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.
พงศธร ศิลาเงิน. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ของผู้สูงอายุ ในจังหวัดพะเยา. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ] คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านวังยาว. (2567). ข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านวังยาว. เพชรบุรี : สำนักงาน.
วาสนา สิทธิกน (2560) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาล ตำบลบ้างโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย. (2566). สูงวัย สุขภาวะดี วิถีใหม่. กรุงเทพฯ : สมาคม.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.). (2566). สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://social.nesdb.go.th. 14 มกราคม 2566.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน