การดำเนินงานป้องกันโรคเบาหวานของหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
โรคเบาหวาน, การป้องกัน, หน่วยบริการปฐมภูมิบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานป้องกันโรคเบาหวานในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ ประชากร คือ ผู้อำนวยการ พยาบาลวิชาชีพ
และนักวิชาการสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ ทั้ง 86 แห่ง จำนวนรวมทั้งสิ้น 258 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (82.2%) มีอายุอยู่ในช่วงตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป (39.5%)
มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานช่วง 1 - 10 ปี (50%) หน่วยบริการปฐมภูมิส่วนใหญ่มีบุคลากรจำนวน 1 - 15 คนต่อแห่ง (89.1%) และเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิขนาดใหญ่ (73.3%) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานป้องกันโรคเบาหวาน คือ ระบบสารสนเทศ (p-value = 0.046) และปัจจัยทำนายการดำเนินงานป้องกันโรคเบาหวานของหน่วยบริการปฐมภูมิ พบว่า ระบบสารสนเทศ (p-value = 0.047) และการสนับสนุนการตัดสินใจ (p-value = 0.015) เป็นปัจจัยทำนาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ดังนั้น คณะกรรมการ NCD Board ระดับอำเภอ ควรมีการทบทวนและปรับแนวเวชปฏิบัติอิงหลักฐานเป็นระยะ ควรมีการพัฒนาทบทวนองค์ความรู้บุคลากรเกี่ยวกับแนวเวชปฏิบัติ เพื่อให้บุคลากรมีความรู้
ที่เหมาะสมและเกิดความมั่นใจในการดำเนินงานป้องกันโรคเบาหวาน หน่วยบริการควรมีความพร้อมในระบบสารสนเทศ มีการอบรมบุคลากรเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลในระบบ Health Data Center มีการตรวจสอบ
และใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานเพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น
References
กองวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). คู่มือการการจัดบริการคลินิกเบาหวาน
ความดันโลหิตสูงวิถีใหม่แบบยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (สำหรับผู้ปฏิบัติงาน) (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์
พิชญาพร พีรพันธุ์, ประสพชัย พสุนนท์ (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวทางการบริการสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับประชาชนภายใต้บริบทโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์: การวิจัยผสานวิธี. วารสารการจัดการและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(1), 123-135.
ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ (HDC).(n.d.). ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ (NCD DM,HT,CVD). https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b
วนิดา สาดตระกูลวัฒนา (2565). ประสิทธิผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรคเบาหวาน ด้วยหลักการ
building blocks จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 15(1), 142-155.
วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. (2564). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563 (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์
สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ กระทรวงสาธารณสุข. (2565). คู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2566 (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์
อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า, สุธิดา แก้วทา.(2563) รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง 2562 (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์
Aldahmashi, H., Maneze, D., Molloy, L., & Salamonson, Y. (2024). Nurses' adoption of diabetes clinical practice guidelines in primary care and the impacts on patient outcomes and safety: An integrative review. International Journal of Nursing Studies, 104747.
Denson, N., & Szelényi, K. (2022). Faculty perceptions of work-life balance: The role of marital/relationship and family status. Higher Education, 83(2), 261-278.
Roglic, G. (2016). WHO Global report on diabetes: A summary. International Journal of Noncommunicable Diseases, 1(1), 3-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน