การใช้แพทย์ทางเลือกเสริมการแพทย์แผนปัจจุบันในการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็ง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
แพทย์ทางเลือก, การดูแลตนเอง, โรคมะเร็ง, ผู้ป่วยมะเร็งบทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการใช้แพทย์ทางเลือกเสริมการแพทย์แผนปัจจุบัน
ในการดูแลตนเอง 2) ปัจจัยที่ทำผู้ป่วยมะเร็งใช้การแพทย์ทางเลือกเสริมการแพทย์แผนปัจจุบันในการดูแลตนเอง 3) และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งใช้การแพทย์ทางเลือกเสริมการแพทย์แผนปัจจุบันในการดูแลตนเอง
เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรคือผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง จำนวน 173 คน คัดเลือก
กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งเป็นผู้ป่วยมะเร็งที่ใช้ชีวิตอยู่หลังการเป็นโรคมามากกว่า 5 ปี คัดเลือกจำนวน 10 ราย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การบันทึกเทป และการตอบแบบสอบถาม
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่าง ภายหลังใช้การแพทย์ทางเลือกเสริมการแพทย์แผนปัจจุบันในการดูแลตนเอง รู้สึกว่าสุขภาพกายและจิตใจ อยู่ในสภาวะที่ดีขึ้น ปัจจัยที่ทำผู้ป่วยมะเร็งใช้การแพทย์ทางเลือกเสริมการแพทย์แผนปัจจุบันในการดูแลตนเอง พบว่า ปัจจัยด้านความรู้ ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพร ในระดับมาก ปัจจัยด้านความเชื่ออยู่ในระดับสูง ปัจจัยเอื้อ อยู่ในระดับสูง คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาด้วยแพทย์ทางเลือกเสริมการแพทย์แผนปัจจุบัน ในทุกด้านได้แก่ ทางกาย จิต สังคม สิ่งแวดล้อม
อยู่ระดับปานกลางทั้งหมด และภาพรวมก็อยู่ในระดับปานกลาง
ดังนั้น การใช้แพทย์ทางเลือกเสริมการแพทย์แผนปัจจุบันสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง เป็นทางเลือกที่น่าสนใจและมีประโยชน์ แต่ต้องควรมีการดูแลและให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้การใช้แพทย์ทางเลือก
เป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในระยะยาว
References
Burg, L., Timmermans, M., van der Aa, M., Boll, D., Rovers, K., de Hingh, I., & van Altena, A. (2020). Incidence and predictors of peritoneal metastases of gynecological origin: A population-based study in the Netherlands. Journal of Gynecologic Oncology, 31(5).
Kandola, A. A., Osborn, D. P., Stubbs, B., Choi, K. W., & Hayes, J. F. (2020). Individual and combined associations between cardiorespiratory fitness and grip strength with common mental disorders: A prospective cohort study in the UK Biobank. BMC Medicine, 18(1), 1-11.
López de Andrés, J., Griñán-Lisón, C., Jiménez, G., & Marchal, J. A. (2020). Cancer stem cell secretome in the tumor microenvironment: a key point for an effective personalized cancer treatment. Journal of hematology & oncology, 13(1), 136.
Miller, J. S., & Lanier, L. L. (2019). Natural killer cells in cancer immunotherapy. Annual review of cancer biology, 3(1), 77-103.
National Cancer Institute. 2023. The 15th National Cancer Conference (NCC15) "Oncology in Agile Era:Challenge,Cure and Care". (Online). Available:https://www.matichon.co.th/local/qualitylife/news_3836793 (October 04, 2023). (in Thai)
Pedersen, B. K. (2019). Which type of exercise keeps you young?. Current Opinion in Clinical. utrition & Metabolic Care, 22(2), 167-173.
Stocker, A., Mehnert-Theuerkauf, A., Hinz, A., & Ernst, J. (2023). Utilization of complementary and alternative medicine (CAM) by women with breast cancer or gynecological cancer. Plos one, 18(5), e0285718.
Savisit, W. (2023). Psychological and quality of life of the advanced cancer patients receiving palliative care in communities in the northeast region of Thailand. Primary Health Care Journal (Northeastern Edition), 38(1): 141-155. (in Thai)
Srimuninnimit, V., V. Sriuranpong and S. Laohavinij. (2009). Let's Get to Know Cancer. Thai Society of Clinical Oncology, Bangkok. 60 p. (in Thai)
กรมการแพทย์. (2023). รายงานสถานการณ์โรคมะเร็งในประเทศไทย. Retrieved from กรมการแพทย์ website.
ฉัตรวิไล วิบูลย์วิภา, แสงจันทร์ เกณทวี, พูนศรี แดนดี, ธฤตา ไพรทวีพงศ์. (2556). คุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองในโครงการพุทธรักษา งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี : โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
สุมิตรา ติระพงศ์ประเสริฐ, นิภาวรรณ สามารถกิจ, วิภา วิเสโส. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการด้านจิตวิญญาณในผู้ป่วยมะเร็งระยะประคับประคอง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 29(1); 67-79.
สมาคมมะเร็งแห่งประเทศไทย. (2023). ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง. Retrieved from สมาคมมะเร็งแห่งประเทศไทย website.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน