การสร้างทีมงาน

ผู้แต่ง

  • พันโทนิติศักดิ์ เชื่อมวราศาสตร์ -
  • ชวาลา ยิ่งทวีศักดิ์

บทคัดย่อ

เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรนั้น ต้องดำเนินการโดยทีมคนทำงานขององค์กรทั้งในระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งบุคลากรกลุ่มดังกล่าว ควรจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ  สมรรถนะ ทักษะ  ประสบการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับงาน พร้อมทั้งมีวิจารณญาณในการปฏิบัติงาน
ที่ครอบคลุม สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์กร ทั้งนี้องค์กรต่าง ๆ จึงต้องมีคณะทำงานที่ทำหน้าที่
ในบริหารงาน และการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ได้การทำงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ดังนั้นองค์กรจึงควรนำเอาการวิธีการของทำงานแบบทีมมาใช้ในการทำงาน ด้วยการสร้างทีมงานที่ดีและเก่งเข้ามาใช้
ในการบริหารงาน เนื่องจากการทำงานเป็นทีมเป็นกระบวนการทำงานที่ทำให้คนทำงานมีความมั่นใจว่าตนเองไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้ปฏิบัติงานแต่จะมีความรู้สึกและมีความเข้าใจที่เพิ่มเติมเข้ามาว่าตนเองนั้นเป็นผู้ที่มีส่วนร่วม
ในหน่วยงาน ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งของการสรรสร้างให้คนทำงายทุกคนได้รับเกียรติและศักดิ์ศรีในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานและเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในงานที่มีความสำคัญเท่าเทียมกัน อีกทั้งการทำงาน
เป็นทีมงานยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจของคนทำงาน ที่นำไปสู่การเรียนรู้รวมกันและพัฒนางานและองค์กรอย่างต่อเนื่อง (รณกร สุวรรณกลาง. 2557) เป็นการทำงานร่วมกันโดยการใช้ทักษะต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับงานมาเติมเต็มให้แก่กันและกันด้วยความเต็มใจ โดยเป็นการทำงานที่มีเป้าหมาย
และความรับผิดชอบต่อ ผลของการกระทำงานนั้น ๆ ด้วยกัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวทางของการบ่มเพาะ
และหล่อหลอมการทำงานที่คนทำงานพร้อมจะแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน หากในกรณีเกิดความผิดพลาดจากการทำงาน ทีมงานจะไม่ตำหนิติเตียน แต่จะเป็นการแนะนำ สอนงานเพื่อการเรียนรู้จากปัญหาไปด้วยกัน
และสิ่งที่สำคัญ คือ ทีมงานจะกลายเป็นตัวอย่างที่ดีในการถ่ายทอดประสบการณ์ พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยง
หรือต้นแบบการทำงานให้กับทีมงานคนอื่น ๆ หรือทีมงานรุ่นใหม่ ๆ ที่เข้ามา

ในบทความ “การสร้างทีมงาน” นี้ ผู้เขียนจะกล่าวถึงแนวคิด ความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของการทำงานเป็นทีม ประเภทและองค์ประกอบของทีมงานรวมทั้งปัจจัยสนับสนุนของการทำงานเป็นทีม
ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งการทำงานเป็นทีมไม่เพียงแต่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นและส่งเสริมการพัฒนาทักษะส่วนบุคคลของคนทำงานแต่ละคน การสร้างทีมงาน
จึงเป็นการเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการทำงานเป็นทีม และการสร้างทีมงาน
เป็นหนึ่งในทักษะที่มีคุณค่าที่คนทำงานควรมีโดยเฉพาะในปัจจุบันที่เน้นการทำงานเป็นทีมและการทำงานร่วมกัน
ที่สนับสนุนให้เกิดการทำงานเป็นทีมงานที่มีประสิทธิภาพ

References

ชรินยา สุขย้อย, ปิยนันท์ ชุมปัญญา และวสุ จันแป้น. (2551). การบริหารงานแบบทีมงานในสถานที่ศึกษา

ที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตภาคเหนือตอนล่าง.

การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง กศ.ม., สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชาญชัย อาจิณสมาจารย์. (2545). ทักษะการบริหารทีมงาน. กรุงเทพ ฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.

ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์ และคณะ. (2545). การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.

ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2551). การบริหารทีมงานและการแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ : สหธรรมจำกัด

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ธีระ รุญเจริญ. (2548). สู่ความเป็นผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่างการพิมพ์.

เบญจมาศ บุ้งรุง. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่บ้าน (Work from home)

ของพนักงานรัฐในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส covid-19 : กรณีศึกษา

สถาบันพระปกเกล้า. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปารวี สยัดพานิช. (11 พฤศจิกายน 2563). การสร้างทีมให้มีประสิทธิภาพ. งานจัดการความรู้

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. สืบค้นจาก https://www2.si.mahidol.ac.th/km/knowledgeassets/kmexperience/ kmarticle/15325/

ยงยุทธ เกษสาคร. (2545). ภาวะผู้นำและทำงานเป็นทีม. กรุงเทพฯ : เอสแอนด์กราฟฟิค.

. (2547). ภาวะผู้นำและทำงานเป็นทีม. นนทบุรี : ปณณรัชต์.

รณกร สุวรรณกลาง. (2557). การพัฒนาโมเดลทีมที่มีประสิทธิผลจากองค์การที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ราชกิจจานุเบกษา. 2562. พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูม พ.ศ.2562. เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๕๖ ก

หน้าที่ 165-184. ลงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๒ .

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2544). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ : ธนธัชการพิมพ์.

วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2549). การทำงานเป็นทีม. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

สุนันทา เลาหนันทน์. (2549). การทำงานเป็นทีม. กรุงเทพฯ : แฮนด์เมคสติกเกอร์แอนดีดีไซน์.

. (2551). Team work creating. (พิมพ์ครั้งที่ 4) . กรุงเทพฯ : แฮนด์เมคสติกเกอร์

แอนดีดีไซน์.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (2560). การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ.

สืบค้นจาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc-2017-eb01.pdf

George, J., & Brief, A. (1992). Feeling Good-Doing Good: A Conceptual Analysis of the Mood at Work-Organizational Spontaneity Relationship. Psychological bulletin, 112,

-329. doi:10.1037/0033-2909.112.2.310

Hackman, J. R. (2002). Leading teams: Setting the Stage for Great Performances.

Boston: Harvard Business School Press.

Johnson, D. W., & Johnson, F. P. (2003). Joining Together: Group Theory and Group Skill

(8 th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

LaMastro, V. (2002). Commitment and Perceived Organizational Support. May 8, 2020. Retrieved from http://national forum. Com /13lama ∼ 1.html

Meuse, Ken De. (2009). Driving Team Effectiveness. Retrieved December 10, 2022 from http://www.kornferryinstitute.com/sustain/team_building/publication/1680/Driving_Tea m_Effectiveness.

Rhoades, L. a. E., R. (2002). Perceived organizational support: A review of the literature. Journal of Applied Psychology, 87(4), 698–714.

Trent, A. S. (2007). Team Cognition in Intelligence Analysis Training. [Dissertation M.S., The Ohio State University]. From https://etd.ohiolink.edu/apexprod/rws_etd/ send_file/send?accession=osu1187034524&disposition=inline

Woodcock, M. & Francis, D. (1994). Teambuilding Strategy. Cambridge : Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-26