การพัฒนาระบบการจองคิวตรวจล่วงหน้าของผู้รับบริการผ่านแอปพลิเคชันหมอพร้อมในโรงพยาบบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

ผู้แต่ง

  • วิทยา พลาอาด -

คำสำคัญ:

การจองคิวตรวจล่วงหน้า, ผู้รับบริการ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

ปัจจุบันสภาพความแออัดของผู้ป่วยที่มารอรับบริการตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ของรัฐ และในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นปัญหาที่ส่งผลทำให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่ล่าช้ามากขึ้น ความพึงพอใจลดลงซึ่งระยะเวลาการรอคอยสะท้อนถึงคุณภาพการให้บริการและมีผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการการวิจัย  และพัฒนานี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจองคิวตรวจล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชันหมอพร้อมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล  การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะคือ 1) ศึกษาสภาพปัญหา
2) พัฒนาระบบการจองคิวตรวจล่วงหน้า ทดลองระบบ และปรับปรุงแก้ไข 3) ประเมินระยะเวลาที่รอคอย
และความพึงพอใจของผู้รับบริการ กลุ่มตัวอย่าง คือ แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ เจ้าหน้าที่สารสนเทศ รวม 6 คน
และ ผู้รับบริการจำนวน 80 คน ระหว่างเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2567 โดยการ สังเกต การสัมภาษณ์
แบบบันทึกระยะเวลารอคอย และแบบสอบถามความพึงพอใจ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
3 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 แบบสอบถามความพึงพอใจต่อคุณภาพบริการ
และระบบการจองคิวตรวจล่วงหน้า เท่ากับ 0.86 และ 0.82 ตามดับ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ เปรียบเทียบระยะลาเวลารอคอยของผู้รับบริการก่อนและหลังใช้ระบบการจองคิวตรวจล่วงหน้าด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่าระบบบริการเดิมการนัดหมายใช้แบบแจกบัตรคิว ไม่ได้กำหนดเวลาและจำนวน
การนัดหมายที่ชัดเจน ไม่มีระบบจองคิวล่วงหน้า ผู้รับบริการมาพร้อมๆกัน เกิดความแออัดหน้าห้องตรวจ
การพัฒนาระบบการจองคิวตรวจล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชันหมอพร้อมผู้รับบริการมารับบริการตามเวลาที่ตนเองสามารถกำหนดได้ ทำให้ระยะเวลารอคอยหลังใช้ระบบจองคิวตรวจล่วงหน้าลดลงจากก่อนพัฒนาระบบ
จากเดิมเฉลี่ย 60 นาที 30 วินาที เป็น 20 นาที 10 วินาที อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการ และความพึงพอใจของผู้จองคิวล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชัน
หมอพร้อมอยู่ในระดับมาก ดังนั้นการเพิ่มช่องทางระบบการจองคิวตรวจล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชันหมอพร้อม
มีความเหมาะสมช่วยลดเวลาที่รอคอยของผู้รับบริการและผู้รับริการมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นในการเข้าถึง
บริการสุขภาพ

References

คนอง อินทร์โชติ. (2564). การศึกษาคุณภาพของระบบสารสนเทศการยอมรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมทาง

การแพทย์ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการแอปพลิเคชันปรึกษาแพทย์ออนไลน์ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/sun18/6214070076.pdf (2565, 12 มกราคม)

คัทลิยา วสุธาดา. (2560). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเพื่อลดระยะเวลารอคอยการรับบริการในผู้ป่วยโรค

เรื้อรังศูนย์สุขภาพ ชุมชนเมืองท่าช้าง จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 28(1), 80-89.

ดวงกมล สายเทพ. (2550). ผลของการใช้โปรแกรมการจัด บริการตามมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยนอกต่อความ

พึงพอใจในบริการของผู้รับ บริการ และระยะเวลารอคอย ในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเมืองสมุทร ปู่เจ้าสมิงพราย. วารสารพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 1(2), 78.

ธัญญะ ประโยชน์เจริญผล.(2549). การวิเคราะห์ระบบการให้บริการสัตว์ป่วย แผนกสัตว์ป่วยนอก โรงพยาบาล

สัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เบญจพร สัธนรักษาเวศ และอนุชิต วู๋. (2562). การพัฒนาระบบคิวสำหรับโรงพยาบาล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2(2), 1-6

ภัณฑิรา ปริญญารักษ์, วนิดารัก ผกาวงศ์, จิราภรณ์ สาชะรุง, รัตนากร ทวีเฉลิมดิษฐ์,อธิชา ฉันทวุฒินันท์, ธนวัฒน์ ฉัตรทวีลาภ. (2564). ระยะเวลาการรอคอยและระยะเวลารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรง พยาบาลทั่วไปขนาดกลางภาคเอกชนแห่งหนึ่ง. เภสัชกรรมคลินิก, 27(2), 53-63.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง. (2567). สถิติผู้ป่วยนอก ปี 2565 ถึง 2567. สืบค้นวันที่ 3

มิถุนายน 2567, จาก: ฐานข้อมูลเวชระเบียนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.(2566). นโยบายมุ่งเน้นกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.

นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

หมอพร้อม. (2564). หมอพร้อมแพลตฟอร์ม. จาก https://mohpromt.moph.go.th/mpc/#.

อินทิรา ช่อไชยกุล.(2562) ประสิทธิผลของระบบคิวจ่ายยาแยกประเภทตามกลุ่มห้องตรวจ ห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก

โรงพยาบาลลำปาง. ว. วิจัยพัฒนาระบบงานสาธารณสุขแพร่2562;9(8)

Agajampaka, P.; Sriprayun, P.; & Thammachart, S. (2019). Thailand Regional Health Profile

-2017. Nonthaburi: MinistryofHealth; 2019 (in Thai).

Piroonruk Art-han. (2565, July 27). ยกระดับ “หมอพร้อม” เป็น Digital Health Platform ของประเทศ

ประชาชนเชื่อมต่อและเข้าใช้งานง่ายขึ้น. https://covid19.nrct.go.th/9939-2/

The World Health organizationt. (2000). 2000: Health Systems: Improving Performance.

Geneva: WHO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-04