การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 2) พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และ 3) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ การดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ (1) ศึกษาปัญหาและความต้องการดูแลสุขภาพ (2) พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (3) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ (4) วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จและข้อเสนอเชิงนโยบาย กลุ่มตัวอย่าง คือ สหวิชาชีพ ผู้ดูแลและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 36 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง รูปแบบการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และแบบประเมินกิจวัตรประจำวัน ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าดัชนีสอดคล้อง .67-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและผู้ดูแลต้องการมีทักษะ
ในการดูแลสุขภาพ 2. รูปแบบมี 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) การเตรียมการ 2) การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
3) การให้คำปรึกษาและประเมินผล และ 3. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีคะแนนระดับกิจวัตรประจำวัน หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (p=.03)
ข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรติดตามและประเมินผลดูแลสุขภาพครอบคลุมทุกมิติ รวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่าย
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2565). รายงานข้อมูลจำนวนประชากรจังหวัดสุราษฎร์ธานี.
สุราษฎร์ธานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือการ คัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: องค์การ สงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
เกศกนก จงรัตน์ และคณะ. (2562). ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตเทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(6), 1013-1020.
จุไรวรรณ ศรีศักดิ์นอก และนิกร ระวิวรรณ. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้านที่เน้นการดูแล
แบบองค์รวมในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. ชัยภูมิเวชสาร, 40(1), 43-55.
นันทิกานต์ หวังจิ และอมรรัตน์ แสงสุวรรณ. (2565). พัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 9(1), 241-256.
ณกานต์ ศิริศักดิ์เกษม. (2567). การส่งเสริมการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง: กรณีศึกษาผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ, 5(1), 390-399.
รณรงค์ จันใด. (2561). แนวทางการพัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมในเขตเทศบาลนนทบุรี. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 16(1), 96-110.
วิไลวรรณ อิศรเดช. (2565). ผู้สูงอายุกับการดูแลสุขภาวะแบบองค์รวม. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(12), 147-160.
สุกัญญา ปวงนิยม, นงณภัทร รุ่งเนย และอุไรรัชต์ บุญแท้. (2562). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ สำหรับผู้สูงอายุ ที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่นำร่องต้นแบบจังหวัดเพชรบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5, 38(3), 178-195.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559). คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้าน
สาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะ พึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ:
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.
สำนักอนามัยผู้สูงอายุ. (2563). รายงานประจำปี 2563 . นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวง
สาธารณสุข.
สำนักอนามัยผู้สูงอายุ. (2565). รายงานประจำปี 2565. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวง
สาธารณสุข.
ศุภธิดา จันทร์บุรี และกมลภู ถนอมสัตย์. (2563). การดูแลสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงอายุในชุมชนตามแนวคิดพฤฒพลัง. งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
อาริษา เสาร์แก้ว. (2565). คุณภาพชีวิตของผู้สุงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เทศบาลป่าตันาครัว. วารสารวิชาการ
สุขภาพภาคเหนือ, 9(1), 103-124.
Best, John. Research in Education. New Jersey: Prentice Hall, Inc.1977.
Craven, R.F. & Hirnle, C.J., (2002). Fundamental of nursing: Human health and funtions(4th ed.).
Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.
Roy, S.C., & Andrews, E.H. (1999). The Roy adaptation model.(2nd ed). Stamford, CT: Appleton & Lange.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน