การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของบุคลากร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี
คำสำคัญ:
ความต้องการจำเป็น, พัฒนาศักยภาพ, ศักยภาพด้านการวิจัยบทคัดย่อ
การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาศักยภาพด้านวิจัยของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี และเพื่อเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10
จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรจากขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตาราง Krejcie & Morgan
ที่ความเชื่อมั่น 95% ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 145 คน จากนั้นได้ดำเนินการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยสุ่มจากบุคลากรแต่ละกลุ่มงาน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 แบบสอบถามสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันและความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้น
ของบุคลากร ในการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัย และส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะของผู้ตอบแบบสอบถามสำหรับ
การพัฒนาศักยภาพด้านวิจัย
ผลการวิจัย พบว่า ข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่
เป็นเพศหญิง จำนวน 82 คน คิดเป็นร้อยละ 56.55 อยู่ในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข มากที่สุด จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 44.14 ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองด้านวิจัยของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า มีความต้องการจำเป็นเกือบทุกด้าน
แสดงให้เห็นถึงช่องว่างระหว่างสภาพที่เป็นอยู่กับสภาพที่คาดหวังในปัจจุบัน เมื่อนำมาเรียงลำดับความสำคัญ เมื่อใช้ดัชนีค่า PNImodified พบว่า ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ด้านการศึกษาดูงาน ข้อเสนอแนะจากการศึกษาใครครั้งนี้ คือ สร้างรูปแบบ/แนวทาง สำหรับการพัฒนาสมรรถนะ
ทางด้านการทำวิจัย จากผลจากการศึกษาความต้องการจำเป็นในด้านศึกษาดูงาน
References
กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค. (2562). แผนงานวิจัยด้านการป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ พ.ศ. 2562-2564. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค.
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2566). แนวทางปรับปรุงคุณภาพการจัดบริการที่มีประสิทธิภาพสำหรับการให้บริการ ฝ่ายสนับสนุนสมาชิกธุรกิจทางตรงกลุ่มธุรกิจอาหารเสริมสุขภาพ ของสมาคมธุรกิจการขายตรงไทย หลังสถานการณ์โควิด19. วารสารศิลปะศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 4(1), 16-25.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2558). หลักพื้นฐานทางจิตวิทยาของอัมราฮัม มาสโลว์. [ออนไลน์]. เข้าถึง ได้จาก: http://www.stou.ac.th/forum/page/Answer.aspx?indindex=144552
เมทิกา พ่วงแสง. (2560). การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาศักยภาพด้านวิจัยของบุคลากรสาย วิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. [รายงานการวิจัย]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลพระนคร.
สมชาย ศรีสมบูรณ์. (2565). การพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของบุคลากรสาธารณสุขระดับปฐมภูมิใน
ประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพ, 33(1), 45-60.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สุรศักดิ์ เจริญสุข. (2566). การพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของนักวิจัยรุ่นใหม่ในหน่วยงานสาธารณสุข. วารสารวิจัยการแพทย์และสาธารณสุข, 35(1), 101-115.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 อุบลราชธานี. (2566). รายงานผลการดำเนินงานพัฒนานวัตกรรมและวิจัย ของหน่วยงาน. กลุ่มพัฒนานวัตกรรมและวิจัย.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) (หน้า 27–43). สืบค้นจาก https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20171117-MinistryofPublicHealth.pdf
Lee, Y. S., & Bozeman, B. (2005). The impact of organizational context on the behavior of research scientists. Research Policy, 34(6), 871-887.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน