การออกกำลังกายด้วยแรงสนับสนุนทางสังคมในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนายาง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • สมใจ สุดจิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนายาง

คำสำคัญ:

โรคความดันโลหิตสูง, ผู้สูงอายุ, การออกกำลังกาย, แรงสนับสนุนทางสังคม

บทคัดย่อ

การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการออกกำลังกายด้วยแรงสนับสนุนทางสังคม โดยเป็นการวิจัย
แบบกึ่งทดลอง โดยเป็นการศึกษาแบบการวัดผลเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการออกกำลังกายด้วยแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนายาง ตำบลนายาง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ดำเนินการทดลองผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงของตำบลนายาง จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน กลุ่มควบคุม จำนวน 40 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง โดยใช้สถิติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง
2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกันด้วยการทดสอบที พบว่า ค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนของแรงสนับสนุนทางสังคม
ในการออกกำลังกายของกลุ่มทดลองหลังได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย (43.27%) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนของแรงสนับสนุนทางสังคมในการออกกำลังกายของกลุ่มทดลองก่อนได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย (34.23%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean difference 9.03%; 95%CI 7.53 ถึง 10.54, p=≤0.001) ดังนั้น การใช้แรงสนับสนุนทางสังคม
ในการออกกำลังกายสามารถช่วยให้ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถออกกำลังกายได้เพิ่มขึ้น
อย่างมีประสิทธิภาพ

References

ชลลดา บุตรวิชา. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในชมรมเสริมสร้างสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์. หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

เชียง เภาชิต และพรรณราย เทียมทัน. (2559). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารสุทธิปริทัศน์. 30(94): 112-127.

ธนบดี ชุ่มกลาง และรุจิรา ดวงสงค์. (2555). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการออกกำลังกายโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการบรรเทาความปวดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (บศ.). 12(1): 46-56.

นุชเนตร บุญมั่น, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, นิรัตน์ อิมามี และสุปรียา ตันสกุล. (2554). การรับรู้ความสามารถของตนเอง การสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารสุขศึกษา. 34(117): 51-68.

พรทิพย์ หนูพระอินทร์, ชญานิศ ลือวานิช และประพรศรี นรินทร์รักษ์. (2556). การรับรู้สุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต. 9(1): 63-87.

พิมพิสุทธิ์ บัวแก้ว และรติพร ถึงฝั่ง. (2559). การดูแลสุขภาพและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย. 21(2): 94-109.

มยุรา สร้อยชื่อ, ศรัณญา เบญจกุล, มณฑา เก่งการพาณิช และธราดล เก่งการพาณิช. (2560). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแกว่งแขนโดยการประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ. 33(2): 73-83.

มยุรี ถนอมสุข และคณะ. (2558). การสร้างต้นแบบการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุอำเภอกำแพงแสน. รายงานการวิจัย. ภาควิชาพลศึกษาและกีฬา คณะศึกษาศาสตรและพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2558). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2561. นครปฐม: บริษัท พริ้นเทอรี่ จำกัด.

วิลาวัลย์ รัตนา. (2552). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. สารนิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประจักษ์ เพ็ญโพธิ์. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 4(8): 210-223.

ศักดิ์ดา ธานินทร์. (2542). โปรแกรมแทรกแซงทางสุขภาพที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง บ้านแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริพร สนิทนิตย์ และพรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2557). ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายแบบฤาษีดัดตนในกลุ่มผู้สูงอายุโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคมในอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร. 29(3): 304-310.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการดูแลรักษากลุ่มอาการสูงอายุ (Geriatric syndromes). พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี:บริษัท อิส ออกัส จำกัด.

อริสรา สุขวัจนี. (2555). การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). ปีที่ 4(8); 216-233.

World Health Organization. (2020). Global Health and Aging. Switzerland: World Health Organization.

จิตรา ธำรงชัยชนะ. (2564). ผลการพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายด้วยแรงสนับสนุนทางสังคมในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงของอำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน.

ปีที่ 6(2); 27-28

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-17