ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ และการรับรู้ประโยชน์การใช้มะระขี้นกรักษาเบาหวาน ของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่มารับยามะระขี้นก โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17

ผู้แต่ง

  • ชุติญา ด้วงศาลเจ้า โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17
  • อำพล บุญเพียร คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนบุคคล, ยามะระขี้นก, เบาหวาน, ความรู้, การรับรู้ประโยชน์, การใช้ยามะระขี้นก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ และการรับรู้ประโยชน์การใช้มะระขี้นกรักษาเบาหวาน
และศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ และการรับรู้ประโยชน์การใช้มะระขี้นกรักษาเบาหวาน
ของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่มารับยามะระขี้นก โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 เครื่องมือที่ใช้
เป็นแบบสอบถาม ประกอบไปด้วย 3 ตอน คือ 1) ปัจจัยบุคคล 2) ความรู้เรื่องการใช้มะระขี้นก 3) การรับรู้ประโยชน์ของมะระขี้นกรักษาเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 56.60) มีอายุ 51 - 59 ปี
(ร้อยละ 48.90) การศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 40.50) รายได้ต่อเดือน 20,001–30,000 บาท
(ร้อยละ 43.40) อาชีพเกษตรกร (ร้อยละ 26.60) มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้อยู่ที่ 5.94 คะแนน (S.D.=2.01) ค่าเฉลี่ยการรับรู้ประโยชน์อยู่ที่ 3.81 คะแนน (S.D.=0.23) โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้คือ อาชีพ (p=0.015) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ประโยชน์ คือ อายุ (p=0.000) และการศึกษา (p=0.030) ดังนั้นจึงควรมีการนำปัจจัยที่มีความสัมพันธ์นี้ไปใช้ประกอบการวางแผนในการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน
ชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 ต่อไป

References

American Diabetes Association. (2024). Diagnosis and Classification of Diabetes: Standards of Care

in Diabetes-2024. Diabetes care, 47(1), S20-S42.

mordorintelligence. (2023). Thailand Diabetes Care Drugs Market Size & Share Analysis - Growth Trends & Forecasts (2024 - 2029) [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 ก.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.mordorintelligence.com/industry-reports/thailand-diabetes-drugs-market

Smith, J., & Johnson, A. (2019). The Influence of Education on Attitudes Toward Gender Equality. Journal of Social Psychology, 25(3), 45-58.

Teshale, M. K., Tesema, A. G., Tamirat, K. S., et al. (2020). Herbal Medicine Use and Associated Factors Among Diabetes Mellitus Patients in Ethiopia. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine, 2020. doi:10.1155/2020/9297847.

Uchino, B. N., Trettevik, R., Kent de Grey, R. G., Cronan, S., Hogan, J., & Baucom, B. R. (2018). Social support, social integration, and inflammatory cytokines: A meta-analysis. Health Psychology, 37(5), 462.

คลีพัตรา ไชยศรี, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา, วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช, และ ธวัชชัย พีรพัฒน์ดิษฐ์. (2559).ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์, 31(3), 67-75.

จตุพร พลอยล้วน. (2563). ประสิทธิผลของการเสริมการรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยมะระขี้นก

ชนิดแคปซูล. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 18(2), 314-326.

จันทรรัตน์ จาริกสกุลชัย, รัฐพล ศิลปรัศมี, พลอยฌญารินทร์ ราวินิจ, ณัฏฐปวีร์ มณีวรรณะ, รสริน น้อยเจริญ, และสุกานดา ใจมา. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้สมุนไพรไทยในช่วงสถานการณ์COVID-19 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 16(2), 135-151.

จันธิดา กมาลาสน์หิรัญ, กุสุมา ศรียากูล, สมบูรณ์ เกียรตินันทน์, ปารัณกุล ตั้งสุขฤทัย และปรัชญา เพชรเกต. (2563). การศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ด้วยการแพทย์แผนไทย 4 ภาค. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(1), 36-47.

ชนิดา มัททวางกูร, ขวัญเรือน ก๋าวิตู, สุธิดา ดีหนู และสิริณัฐ สินวรรณกุล. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรของประชาชนในเขตภาษีเจริญ. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 39(1), 99-109.

ชุติญา ด้วงศาลเจ้า. (2566, 11 พฤศจิกายน). ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับยามะระขี้นกโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17. การสัมภาษณ์.

ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ, และ พิทชยา ตั้งพรไพบูลย์. (2566). กรอบความคิดแบบเติบโต : ทักษะที่จำเป็น

แห่งโลกยุคพลิกผัน. วารสารครุศาสตร์, 51(1), 1-12.

พุทธชาติ ฉันทภัทรางกูร. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยนอก โรค เบาหวาน ชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.

เภสัชกรรมคลินิก, 29(1), 13-24.

ระบบรายงานมาตรฐาน (HDC) กระทรวงสาธารณสุข. อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน [อินเทอร์เน็ต].

[เข้าถึงเมื่อ 18 ก.ค.2567 ] เข้าถึงได้ จาก: https://hdcdervice.moph.go.th /report.php &cat_ id=6a1fdf282fd28180eed67d1cfe0155e11&id=cefa42b9223ec4d1969c5ce18d762bdd

รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล. (2550). องค์ความรู้จากงานวิจัยสมุนไพรไทย10 ชนิด กระชายดำ กวาวเครือขาว ขมิ้นชัน ขิง บัวบก พริกไทย ไพล ฟ้าทะลายโจร มะขามป้อม มะระขี้นก (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: บริษัท 21 เซ็นจูรี จำกัด.

โรสนานี เหมตระกูลวงศ์, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, และ จีราพัชร์ พลอยนิลเพชร. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ยาสมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนในเขตเทศบาลนครยะลา

ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ

ครั้งที่ 11. 1979-1986.

วิริญา เมืองช้าง. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนในอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2566). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ: บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด.

สาโรจน์ เพชรมณี, จินตนา เพชรมณี, ศิราสรณ์ บรรจงเกลี้ยง, อัจฉรา ศรีแสง, และศรัญญา สีทอง. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรของประชาชนชุมชนประตูช้างตก ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. The Journal of Boromarjonani College of Nursing, Suphanburi, 4(2), 5-22.

สุภาขวัญ เรืองเริงกุลฤทธิ์. (2563). การสำรวจข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ ความรอบรู้ และปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อสุขภาพวัยทำงานในเขตสุขภาพที่ 12. ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา.

อนันต์ อธิพรชัย, สุรีย์พร หอมวิเศษวงศา และสุวรรณา เสมศรี. (2564). การค้นหาและพัฒนาสมุนไพรไทยสำหรับรักษาโรคเบาหวาน. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

อภิญญา บ้านกลาง, อุดมลักษณ์ ดวงผุนมาตย์ และปริศนา รถสีด. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศิลา อำเภอเมือง

จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 23(1), 85-95.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-31