การพัฒนารูปแบบการฝากครรภ์คุณภาพแบบบูรณาการและมีส่วนร่วม ตำบลเหนือคลอง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่

Development of an integrated and participatory quality antenatal care model Nuea Khlong Subdistrict Nuea Khlong District Krabi Province

ผู้แต่ง

  • เสาวภา ขันติ -

คำสำคัญ:

การฝากครรภ์คุณภาพ, บูรณาการ, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการฝากครรภ์คุณภาพ
แบบบูรณาการทำงานเครือข่ายในชุมชนและมีส่วนร่วม ตำบลเหนือคลอง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 97 คน ประกอบด้วย กลุ่มภาคีเครือข่าย แกนนำชุมชน จำนวนทั้งหมด 20 คน และมีการเก็บข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมดในเขตตำบลเหนือคลองที่มาฝากครรภ์ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน
ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และที่ไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 77 คน ใช้เวลาในการดำเนินการ 6 เดือน โดยใช้กระบวนการ Plan Do Check Act (PDCA) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล
โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) รูปแบบการฝากครรภ์คุณภาพแบบบูรณาการและมีส่วนร่วมในตำบลเหนือคลอง ประกอบไปด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่
1) การเพิ่มการเข้าถึงบริการและการสร้างแรงจูงใจให้หญิงมีครรภ์มาฝากครรภ์ให้ได้ตามเกณฑ์
2) การพัฒนาคุณภาพการให้บริการ เช่น การจัดระบบการให้สุขศึกษา ระบบการติดตามหญิงมีครรภ์
3) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน เช่น การจัดเวทีประชาคมประชุมชี้แจงการแก้ปัญหาอนามัยแม่และเด็กในชุมชน อสม.เคาะประตูบ้านติดตามหญิงตั้งครรภ์

ผลการศึกษา พบว่า หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 25 - 30 ปี มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 26.33
ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 64.20  จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 42.40
ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 75.00 รายได้ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 10,000 – 15,000 บาท ข้อมูลการรับบริการจากหน่วยบริการ ส่วนใหญ่เข้ารับบริการที่ PCU โรงพยาบาลเหนือคลอง ร้อยละ 65.00 เนื่องจากมีระยะทางใกล้เดินทางได้สะดวก สิทธิในการรับบริการ ส่วนใหญ่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การรับบริการ
จากหน่วยบริการส่วนใหญ่ได้ฝากครรภ์เกิน 5 ครั้ง ร้อยละ 92.00

            ผลการดำเนินงานในการฝากครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ (เป้าหมายร้อยละ 75.00)
ก่อนดำเนินการ ร้อยละ 49.46 หลังดำเนินการพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด
5 ครั้ง ตามเกณฑ์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 75.82 ข้อเสนอแนะจากการศึกษาในครั้งนี้พบว่า รูปแบบการฝากครรภ์คุณภาพแบบบูรณาการและมีส่วนร่วมในตำบลเหนือคลอง ต้องมีการใช้หลักการแก้ปัญหาโดยการวางแผนการจัดกิจกรรมดำเนินงานให้หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการ การประเมินผลการดำเนินงาน และการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมของชุมชน

References

กองบริหารสาธารณสุข. 2564. อัตราเกิดไร้ชีพ. สืบค้นเมื่อ 19 ก.พ. 2565, https:// cmi.moph.go.th/isp/sp_obs/index?menu_id=3 The Global Health Observatory. 2022. Stillbirth rate (per 1000 total births). Retrieved 2022 Feb 19, Available from: https://www.who.int/data/gho/data/indicators/indicator-details/GHO/stillbirth-rate (per1000-total-births)

กุนทินี กุสโร. (2565). รูปแบบการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กในชุมชนแบบมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการทางวัฒนธรรมพื้นเมืองอีสานตำบลโพนทราย อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(2), 262-270.

ชุติมา ไตรนภากุล. (2560). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ในโรงพยาบาลราชบุรี.

วารสารแพทย์เขต 4-5, 36(2), 79-87.

ฐาปนิต อมรชินธนา. (2565). การศึกษาการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนนโยบายโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิตจังหวัดสุรินทร์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 16(1), 186-202.

ณรงค์ วินิยกูล. 2550. การดูแลผู้ตั้งครรภ์แนวใหม่ขององค์การ อนามัยโลก. สืบค้นเมื่อ 27 ก.ค. 2565, http://203.157.71.148/data/ kpw/news/เนื้อหาผลงานปี 2550/การดูแลผู้ตั้งครรภ์แนว

ใหม่ขององค์การอนามัยโลก

มณฑิรา บุทเสน. (2566). การพัฒนารูปแบบการให้บริการเพื่อการส่งเสริมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดคลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลโพนพิสัยจังหวัดหนองคาย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 11 ขอนแก่น, 16(1), 125-138.

วัชรากร กุชโร. (2562). การพัฒนารูปแบบการเยี่ยมติดตามหญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ โรงพยาบาลหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 1(3), 41-51.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2

(พ.ศ. 2560 - 2569) ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ. นนทบุรี:

กรมอนามัย; 2559.

สำนักส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัย. 2564. อัตราส่วนการตายมารดา. สืบค้นเมื่อ 19 ก.พ. 2565, https://hp.anamai.moph.go.th/th/maternal-mortality-ratio

Berhan Y, Berhan A. Antenatal care as a means of increasing birth in the health facility and reducing maternal mortality: a systematic review. Ethiop J Health Sci 2014;24:93–104.

Dowswell T, Carroli G, Duley L, Gates S, Gülmezoglu AM, Khan-Neelofur D, et al. 2015.

Alternative versus standard packages of antenatal care for low-risk pregnancy.

Cochrane DatabaseSyst Rev.Retrieved 2022 Jul 27,Available from:https:// pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26184394/

Ekholuenetale M. 2021. Prevalence of eight or more antenatal care contacts: findings from multi-country nationally representative data. Retrieved 2022 Jul 27, Available from: https://journals.sagepub.com/doi/ full/10.1177/2333794X 211045822

Vogel JP, Habib NA, Souza JP, Gülmezoglu AM, Dowswell T, Carroli G, et al. 2013. Antenatal care packages with reduced visits and perinatal mortality: a secondary analysis of the WHO Antenatal Care Trial. Reprod Health 2013;10(1):19.

World Health Organization. 2002. WHO antenatal care randomized trial: Manual for the implementation of the new model. Retrieved 2014 Jul 10, Available from http://apps. who.int

World Health Organization. 2016. WHO recommendations on antenatal care for a positive pregnancy experience. Geneva: World Health Organization.

World Health Organization. 2019. Maternal mortality. Retrieved 2020 Jun 20, Available from: https:// www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/maternal-mortality

World Health Organization. 2019. Trends in maternal mortality 2000 to 2017: estimates by WHO, UNICEF, UNFPA, World Bank Group and the United Nations Population Division. Retrieved 2022 Jul 27, Available from:https://apps.who. int/iris/handle/10665/327595

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-25