การจัดการสุขาภิบาลอาหารของร้านอาหาร ในเขตเทศบาลเมืองศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
THE FOOD SANITATION CONDITIONS MANAGEMENT OF RESTAURANTS IN SILA MUNICIPALITY KHON KAEN PROVINCE
คำสำคัญ:
สุขาภิบาลอาหาร, ร้านอาหาร, เขตเทศบาลเมืองศิลาบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการสุขาภิบาลอาหารของร้านอาหาร
เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการจัดการสุขาภิบาลอาหารของร้านอาหาร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล
และปัจจัยด้านความรู้การสุขาภิบาลอาหาร เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล
และปัจจัยด้านความรู้การสุขาภิบาลอาหารกับการจัดการสุขาภิบาลอาหารของร้านอาหาร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการร้านอาหาร ที่ขึ้นทะเบียนขอรับใบอนุญาตกับเทศบาลเมืองศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 218 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 100 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม
ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .872 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมมุติฐานการวิจัย โดยใช้ค่าสถิติ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One way ANOVA) และค่าสถิติไคสแควร์ (Chi-Square) พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย
ร้อยละ 53.2.1 มีการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 73.4 มีอายุระหว่าง 30 - 50 ปี ร้อยละ 56.9
มีรายได้ระหว่าง 15000 – 30000 บาท ร้อยละ 40.8 และมีประสบการณ์ระหว่าง 3-5 ปี ร้อยละ 39.4
การจัดการสุขาภิบาลอาหารของร้านอาหารในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบความแตกต่าง
ของการจัดการสุขาภิบาลอาหารของร้านอาหารจำแนกตามเพศและอายุไม่แตกต่างกันที่ระดับ 0.05
ผู้มีการศึกษาระดับปริญญาตรีและสูงกว่ามีค่าเฉลี่ยมากกว่าผู้มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี จำแนกตามปัจจัย
ด้านความรู้การควบคุมป้องกันโรคแตกต่างกัน แต่การจัดการสุขาภิบาลอาหารไม่แตกต่างกันที่ระดับ 0.05 จำแนกตามปัจจัยด้านความรู้การด้านโภชนาการอาหารแตกต่างกันที่ระดับ 0.05 ด้านทัศนคติต่อการประกอบอาหารแตกต่างกันที่ระดับ 0.05
ผลเปรียบเทียบความแตกต่างของการจัดการสุขาภิบาลอาหารของร้านอาหารจำแนกตาม
ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านความรู้การสุขาภิบาลอาหาร 2.1) ปัจจัยส่วนบุคคลจำแนกตามเพศ
ไม่แตกต่างกันที่ระดับ 0.05 และเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยมากกว่าเพศชายจำแนกตามการศึกษากลุ่มตัวอย่าง
ที่มีการศึกษาไม่แตกต่างกันที่ระดับ 0.05 ผู้มีการศึกษาระดับปริญญาตรีและสูงกว่ามีค่าเฉลี่ย
มากกว่าผู้มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีจำแนกตามอายุไม่แตกต่างกันที่ระดับ 0.05 จำแนกตามรายได้แตกต่างกัน
ที่ระดับ 0.05 จำแนกตามประสบการณ์แตกต่างกันที่ระดับ 0.05
2.2) ปัจจัยด้านความรู้จำแนกตามปัจจัยด้านการเกิดโรคไม่แตกต่างกันที่ระดับ 0.05 จำแนกตาม
ปัจจัยด้านความรู้การควบคุมป้องกันโรคแตกต่างกันแต่การจัดการสุขาภิบาลอาหาร ไม่แตกต่างกันที่ระดับ 0.05 จำแนกตามปัจจัยด้านความรู้การด้านโภชนาการอาหารแตกต่างกันที่ระดับ 0.05 ด้านทัศนคติต่อการประกอบอาหารแตกต่างกันที่ระดับ 0.05
References
Theerawut Ekakul, 2006 Food and Water Sanitation Bureau. Nonthaburi: Office of Food
and Water Sanitation, Department of Health, Ministry of Public Health; 2013
Khon Kaen Provincial Public Health Office, 2014 Food Sanitation Division.(1st ed.). Bangkok: HRP Prince and Training Co., Ltd.; 2016
Ban Giram et al. Food sanitation improvement campaign for food shops and stalls in Nong Khai
province Khon Kaen : Khon Kaen University.2018
Office of Food and Water Sanitation.Academic Manual for Entrepreneurship Training Course Food
Contact Training Course. Nonthaburi : Food and Water Sanitation Bureau, Department of Health, Ministry of Public Health; 2018; 21-45.
Kessuda Jindaphan Awareness of the Clean and Delicious Food Project and the Treatment of Food Sanitation Requirements by Restaurant Operators Kalasin Municipality, Mueang District, Kalasin Province : Mahasarakham University.2021 Sila Municipality Khon Kaen province, 2023
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน