การพัฒนาแนวปฏิบัติเกี่ยวกับกัญชาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการของโรงเรียนในตำบลวังทอง อำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ

The Development of Guidelines Regarding Cannabis in the Educational Opportunity Expansion Schools under the Ministry of Education in Wang Thong Sub-district, Phakdee Chumphon District, Chaiyaphum Province

ผู้แต่ง

  • ณรงค์ทธิ์ เลิศอาวุธ Wang Thong Subdistrict Administrative Organization
  • สุรศักดิ์ เทียบฤทธิ์
  • จตุพร เหลืองอุบล

คำสำคัญ:

กัญชา, สารเสพติด, นโยบายโรงเรียนสีขาว , โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา , สถานศึกษาปลอดกัญชา

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาแนวปฏิบัติเกี่ยวกับกัญชาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการของโรงเรียนในตำบลวังทอง อำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive) ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics)  ใช้สถิติ Paired t test และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ตามแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม แนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

            ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์การใช้กัญชาในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 มีระดับความรู้อยู่ในระดับต่ำ ระดับเจตคติอยู่ในระดับดี และระดับพฤติกรรมอยู่ในระดับพอใช้ การพัฒนาแนวปฏิบัติ คือ
1) มาตรการเฝ้าระวังปัญหาที่เกิดจากการใช้กัญชาหรือกัญชงในโรงเรียน 2) อบรมให้ความรู้ การป้องกัน และโทษของการใช้กัญชาหรือกัญชง 3) รณรงค์ประชาสัมพันธ์โทษของการใช้กัญชาหรือกัญชง ผลการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติ พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีระดับความรู้อยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางทางสถิติระดับ 0.05 (t = -6.78 ) (p – value < 0.001) ระดับเจตคติอยู่ในระดับดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 (t = -2.610 ) (p – value < 0.013) ระดับพฤติกรรมอยู่ในระดับพอใช้อย่างมีนัยสำคัญทางทางสถิติระดับ 0.05 (t = -4.172) (p – value < 0.000) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ พบว่า 1. การสร้างภาคีเครือข่ายในสนับสนุนการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติเกี่ยวกับกัญชาในสถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการอย่างเข้มแข็ง 2. การให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและอันตรายจากกัญชาหรือกัญชงให้กับนักเรียน 3. การมีส่วนในการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติเกี่ยวกับกัญชาในสถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ และ 4. การติดตามและประสานงานตามดำเนินงานตามแนวปฏิบัติเกี่ยวกับกัญชาในสถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการอย่างต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะ พบว่า 1) สถานศึกษาต้องตระหนักให้ความสำคัญในป้องกันการใช้กัญชา มีการสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง 2) ควรจัดกิจกรรมการป้องกันการใช้กัญชาอย่างต่อเนื่อง ให้ตอบสนองความต้องการของนักเรียน 3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุนในการดำเนินงานด้านการป้องกันการใช้กัญชาโรงเรียนตามความเหมาะสมของบริบทพื้นที่ตามเห็นสมควร

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2565).ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ. 2565.

(16 มิถุนายน 2565). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 137 ง, หน้า 9.

กระทรวงสาธารณสุข. (2565).ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5

พ.ศ. 2565. (9 กุมภาพันธ์ 2565). ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๓๕ง,หน้า 8.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565).ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับกัญชา หรือกัญชง

ในสถานศึกษา ส่วนราชการหรือหน่วยงานในสังกัด และในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการพ.ศ. 2565.

(4 กรกฎาคม 2565). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 156 ง,หน้า 20 - 21.

ศูนย์ข้อมูลข้อมูลราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. (2565).

รายงานผู้ป่วยเด็กที่มีอาการป่วยจากกัญชา .สืบค้น วันที่ 21 มิถุนายน –10 กรกฎาคม 2565

จาก https://www.thaipediatrics.org/?p=1647

บุรฉัตร จันทร์แดง และคณะ. (2562).รูปแบบการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อยาเสพติดของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาในเขตพื้นที่ตะเข็บชนแดนลุ่มน้ำโขง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 7 ฉบับที่ 3

(พฤษภาคม-มิถุนายน 2562) , 808-822.

ณัฐพร สมบัติ และคณะ. (2563). การบริหารจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาโรงเรียน

ขามแก่นนคร อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

วิทยาเขตร้อยเอ็ด ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2563), 203 – 213.

วรรณสว่าง ยานกาย, สัญญา เคณาภูมิและสนุก สิงห์มาก. พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของ

นักเรียนโรงเรียนทรายมูลวิทยา อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร. การประชุมวิชากรนำเสนอผลงานวิจัย

ระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ2561;47: 1073-9.

ชิราวุธ ปุณณวิช และศิระปรุฬ ทองเทพ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลักสุขบัญญัติ

แห่งชาติในนักเรียนอายุ 10–14 ปี อำเภอเฉลิมพระเกียรติจังหวัดนครศรีธรรมราช.

วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2563; 5: 26-36.

สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. ผลกระทบของกัญ ชาต่อสมองเด็ก[อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ1 ส.ค. 2565].

เข้าถึงได้จาจาก : ttps://www.medcannabis.go.th/activity/กัญชาทางการแพทย์

WHO. (1998). Health Promotion Glossary. Division of Health Promotion, Education and

Communications, Health Education and Health Promotion Unit, World Health

Organization. Geneva: 1-10

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30