ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียน ในเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการดูแลสุขภาพซ่องปาก, เด็กวัยเรียน, เครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดีบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียนในเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 306 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ประยุกต์จากแนวคิด PRECEDE framework เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามปัจจัยนำด้านความรู้และทัศนคติ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ค่า IOC มากกว่า 0.67 ทุกข้อ ได้ค่าเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.808 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติค่าไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า
- ปัจจัยนำด้านความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 37.26 และทัศนคติ
อยู่ในระดับสูง ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมอยู่ในระดับปานกลาง และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับสูง - ความรู้ ทัศนคติ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพัฒนารูปแบบโปรแกรมโดยให้ความสำคัญกับการให้ความรู้
และการสร้างทัศนคติ สร้างปัจจัยเอื้อเรื่องการเข้าถึงอุปกรณ์แปรงฟัน และสถานที่แปรงฟัน และปัจจัยเสริมคือแรงสนับสนุนจากครอบครัว โรงเรียน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากและใช้เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยต่อไป
References
ครรชิต สกุลแก้ว, อมรรัตน์ แก้วสุวรรณ, รุ่งอรุณ กุลบุตร, เจนฤทัย เจริญศรี, และ จุฬาลักษณ์ บัวใหญ่รักษา (ม.ป.ป.). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้านดงม่วง ตำบลโคกกลาง อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2566 จาก https://bkkthon.ac.th/home/user_files/department-24/files/2563/63_1.pdf
ณัฐกฤตา ผลอ้อ. (2560). การพัฒนาการส่งเสริมทันตสุขภาพในลักษณะเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี ตำบล ทรายมูล-หนองกุง โดยชุมชนมีส่วนร่วม อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล, 28(1), 114-131.
ประไพ ชุณหคล้าย และ สิริมา โกวิทวณิชชา. (2560). ภาวะทันตสุขภาพในชุดฟันน้ำนม และปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุรุนแรงในเด็กที่เข้ารับบริการในสถานเลี้ยงเด็กกลางวันหรือศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก. วารสารกรมการแพทย์, 42(4), 46-54.
ปรียานุช นามพิกุล. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนอนุบาลเซกา อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย.
ปาลีรัตน์ วงศ์ฤทธิ์, บุษราคัม สุภาพบุรุษ, และ เนตรชนก เจริญรัตน์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลสุขภาพ ช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 7(3), 317-327.
วินัย ทองฤทธิ์, และ กฤษณา วุฒิสินธ์. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพในเด็ก นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนเขตตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสาร สุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 5(1), 36-48.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558a). คู่มือประเมินเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทย ฟันดี.นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558b). ชุดเรียนรู้กลางเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการ สมวัยเรื่องสุขภาพช่องปากบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558c). ชุดเรียนรู้กลางเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัยเรื่องสุขภาพช่องปากบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพ ช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ.2560. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2566 จากhttps://dental.anamai.moph.go.th
สุดาดวง กฤษฎาพงษ์. (2560a). แค่ 2 ข้อ..เพื่อฟันไม่ผุ. ใน ธิติพงษ์ พฤกษศรีสกุล และ สุดาดวง กฤษฎาพงษ์ (บ.ก.), ครบเครื่องเรื่องฟัน FUN. (น. 82-83). กรุงเทพฯ: คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุดาดวง กฤษฎาพงษ์. (2560b). แปรงฟันอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด. ใน ธิติพงษ์ พฤกษศรีสกุล และ สุดาดวง กฤษฎาพงษ์ (บ.ก.), ครบเครื่องเรื่องฟัน FUN. (น. 121-123). กรุงเทพฯ: คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภร ตันตินิรามัย. (2559). สาเหตุ การรักษาและการป้องกันโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย (ECC). วารสารการศึกษา แพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 33(2), 167-175.
Best, J. W. (1977). Research in Education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Bloom, B. S. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill Book.
Gao, J., Ruan, J., Zhao L., Zhou, H., Huang, R., & Tian, J. (2014). Oral health status and oral health knowledge, attitudes and behavior among rural children in Shaanxi, western China: a cross-sectional survey. BMC Oral Health, 14, 144-150.
Green, L., & Kreuter, M. (2005). Health Program Planning: An Educational and Ecological Approach. (4th ed.). New York: McGraw-Hill Book.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational Psychological Measurement, 30, 607-610.
Krisdapong, S., Prasertsom P., Rattanarangsima, K., & Sheiham, A. (2013). Impacts on Quality of Life Related to Dental Caries in a National Representative Sample of Thai 12- and 15- Year-Olds. Caries Research, 47(1), 9-17.
Percival, T., Edwards, J., Barclay,S., Sa, B., & Majumder, M. A. A. (2019). Early Childhood Caries in 3-5 year old children in Trinidad and Tobago. Dentistry journal, 7(16), 1-12.
Ruff, R. R., & Niederman, R. (2018). School-Based Caries Prevention, Tooth Decay, and the Community Environment. JDR Clinical & Translational Research, 3(2), 180-187.
Wiersma, W., G. Jurs, S.(2009). Research Method in Education: an Introduction (9thed). Massachusetts: Pearson.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน