ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 ของประชาชนในเขตพื้นที่บ้านปากสระ ตำบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ธันยมัย ฉันทวี
  • นารถฤดี จันทปสาร -

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันตนเอง, โรคโควิด-19, ค่าสถิติ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันตนเอง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 ของประชาชนในเขตพื้นที่บ้านปากสระ ตำบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนในเขตพื้นที่
บ้านปากสระ ตำบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 279 คน  ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยมีดัชนีความสอดคล้อง 0.66-1.00 ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.84 และมีค่าความเที่ยงโดยหาสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Cronbach ‘s Alpha Coefficient) ของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าสถิติต่าง ๆ ได้แก่  ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 อยู่ในระดับดีมาก
คิดเป็นร้อยละ 69.20 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา รายได้ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์  และการรับรู้อุปสรรคในการป้องกันและควบคุมโรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนปัจจัย ด้านอายุ สถานภาพสมรส การประกอบอาชีพ และการได้รับข้อมูลข่าวสาร ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19

ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรส่งเสริมความรู้ความเข้าใจของประชาชน เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ต่อไป เพื่อให้ประชาชน เกิดการรับรู้ตระหนักและดูแลตัวเองได้ดีขึ้นต่อไป

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2565. จาก https://data.go.th/dataset/covid-19-daily.

จันทิมา ห้าวหาญ และพรรณวดี ขาจริง. (2563). ความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19(COVID-19) ของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต. นวัตกรรมทางสังคมของชุมชนในยุคของการเปลี่ยนแปลงโลกท่ามกลางวิกฤตโควิด-19. วารสารวิชาการระดับชาติครั้งที่ 11 ปีการศึกษา 2563, 169-178.

จุฑาวรรณ ใจแสน. (2563). พฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ของพนักงานสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. ในวิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร. มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ดรัญชนก พันธ์สุมา และพงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร, 36(5), 597-604.

ดารารัตน์ พูลศร, อรสา หิรัญรวง และวัชราภรณ์ฉุนแสนด (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจาก โรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 บ้านทุ่งตาล ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. วารสาร สาธารณสุข และ สังคมวิทยา, 1(2), 1-10.

ทนงศักดิ์ แสงสว่างวัฒนะ, ณิชนันทน์ ศิริไสยาสน์ และโชติ บดีรัฐ. (2563). “New Normal” วิถีชีวิตใหม่และการปรับตัวของคน ไทยหลังโควิด-19: การงาน การเรียน และธุรกิจ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 3(7), 371-386.

บุญประจักษ์ จันทร์วิน, จิฑาภรณ์ ยกอิ่น, ภัทราภรณ์ เต็งโรจน์นภาพร และวัลลภา ดิษสระ. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 ของประชาชนพื้นที่สีแดงเข้ม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 4(1), 1-14.

บุศณี มุจรินทร์, ประเสริฐ ประสมรักษ์และสำราญ เหล็กงาม. (2563). พฤติกรรมการป้องกันตนเอง ความเครียดและการเผชิญ ความเครียดในภาวะวิกฤติด้านสุขภาพจากการแพร่ระบาดชองโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในจังหวัด อำนาจเจริญ. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(6), 413-424.

ประเสริฐศักดิ์ โพธิ์ทอง. (2565). ผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโค วิด-19 ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป. Journal of Management Science Review, 24(3), 263-273.

ภัคณัฐ วีรขจร,โชคชัย ขวัญพิชิต,กิตติพร เนาว์สุวรรณ์,และ นภชา สิงห์วีรธรรม.(2563). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกำลังพลที่ปฏิบัติงานสายแพทย์ ศูนย์อำนวยการแพทย์ จังหวัดชายแดนภาคใต้.วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(3), 106-117.

วรัญญา บุญซ้อน. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากของมารดาเด็กโรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. โครงการวิจัย หน่วยงานงานส่งเสริมสุขภาพ, โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

วิชัย เทียนถาวร และณรงค์ ใจเที่ยง. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ในกลุ่มวัยเรียน มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 4(2), 126-137.

ศูนย์ข้อมูล covid-19 ,2565.รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2565. จาก https://covid19.nrct.go.th/daily-report-30 aug 2022.

สรวุฒิ เอี่ยมนุ้ย.(2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด - 19 อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารสาธารณสุขและสุขศึกษา.1(2), 5-14.

Becker, M.H., & Maiman, L.A. (1975). The Health Belief Model: Origins and Correlation in Psychological Theory. Health Education Monography, 2. Winter, 336-385.

Department of Disease Control. (2020). Guide to the Prevention and Control of Coronavirus Disease 2019 or COVID-19 for the People. Ministry of Public Health. Nonthaburi. (in Thai)

Sriwilai, S., & Thongsri, R. (2021). The Effects of the Spread of COVID-19 Pandemic on Thai Tourism. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 7(8), 405-416.

Rosenstock, I. M., Strecher, V. J., & Becker, M. H. (1988). Social learning theory and the health belief model. Health education quarterly, 15(2), 175-183.

World Health Organization (WHO). (2021). Coronavirus (COVID-19) Dashboard Measures. Retrieved August30, 2021.https://covid19.who.int/measures.

Journal of Public Health and Sociology, 1(2),

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30