ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของบุคลากรการแพทย์แผนไทย ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสุขภาพที่ 4 กระทรวงสาธารณสุข
คำสำคัญ:
ปัจจัยความเครียด, บุคลากรการแพทย์แผนไทย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสุขภาพที่ 4บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจนี้เพื่อศึกษา 1) ระดับของปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และความเครียด และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของบุคลากรการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสุขภาพที่ 4 กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 86 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบทดสอบความรู้ แบบสอบถามวัดทัศนคติ แบบสอบถามวัดบทบาทและหน้าที่ แบบสอบถามวัดสัมพันธภาพกับบุคคล แบบสอบถามวัดความก้าวหน้า แบบสอบถามวัดโครงสร้างและบรรยากาศ และแบบสอบถามวัดความเครียด ได้ค่า IOC มากกว่า 0.67 ทุกข้อ ได้ค่าเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .890, .826, .889, .913, .910, .917 และ .929 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและสถิติถดถอยพหุคูณนําตัวแปรเข้าทั้งหมด ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับของปัจจัยนำด้านความรู้ในการปฏิบัติงานมากที่สุดอยู่ในระดับต่ำร้อยละ 66.67 และด้านทัศนคติในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก (M=3.56, SD=0.85) ระดับของปัจจัยเอื้อด้านบทบาทและหน้าที่อยู่ในระดับมาก (M=4.00, SD=0.80) และด้านสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก (M=4.03, SD=0.73) ระดับปัจจัยเสริมด้านความก้าวหน้าในหน้าที่อยู่ในระดับมาก (M=3.56, SD=0.98) และด้านโครงสร้างและบรรยากาศในองค์กรอยู่ในระดับมาก (M=4.07, SD=0.65)
- ระดับความเครียดมากที่สุดอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 42.67 โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของบุคลากรการแพทย์แผนไทย ได้แก่ เพศ (Beta= .298) ปัจจัยนำด้านทัศนคติในการปฏิบัติงาน (Beta= -.306) และปัจจัยเสริมด้านความก้าวหน้าในหน้าที่ของบุคลากร (Beta= .311) โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 25.50 adj.R2 = .125, p <.05) อย่างมีนัยสำคัญทางนัยสถิติที่ระดับ .05
ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีแนวทางในการพัฒนา การสนับสนุนและให้ความสำคัญเรื่องการเสริมสร้างทัศนคติในการปฏิบัติงาน การให้โอกาสความก้าวหน้าในหน้าที่ของบุคลากร การพิจารณาลักษณะงานให้เหมาะสมตามเพศ ใช้เป็นแนวทางในการวางแผนเพื่อป้องกันความเครียดของบุคลากรการแพทย์แผนไทยที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลต่อไป
References
กชพรรณ ลัภโนปกรณ์, และประสพชัย พสุนนท์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. จันทรเกษมสาร, 20(38), 133-142.
กระทรวงสาธารณสุข. กรมสุขภาพจิต. (2560). สุขภาพจิต"วัยทำงาน"น่าห่วง. รายงานเนื่องในวันสุขภาพจิตโลก ประจำปี 2560(World Mental Health Day 2017) ภายใต้แนวคิด “Mental health in the workplace : จิตดี๊ดี...มีสุข...สนุกกับงาน”. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2565 จากhttps://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TNSOC6010100010051
กัญญาณัฐ ยั่งยืน, และพัชราภรณ์ ชัยเจริญ. (2560). การเปรียบเทียบผลของการฝึกกายบริหารฤาษีดัดตนกับการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่มีผลต่อความเครียด ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก จังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก.
ดุษฎี อุดมอิทธิพงศ์, พลภัทร์ โล่เสถียรกิจ, กฤตนัย แก้วยศ, และเกยูรมาศ อยู่ถิ่น. (2560). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียดของพยาบาลวิชาชีพสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 11(2), 41-51.
ณัฐกร อินทุยศ. (2556). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ธนพล พรหมเมือง, และวัชรินทร์ สว่างศรี. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก.
ธีระพล ปัญนาวี และวริสรา ลุวีระ. (2559). ความเครียดของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(2), 185-197.
ปาณิภา เสียงเพราะ, ทัศนีย์ รวิวรกุล, และอรวรรณ แก้วบุญชู. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงานของพยาบาล ในโรงพยาบาลเฉพาะทางโรคมะเร็ง เขตภาคกลาง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 8(1), 17-27.
โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2540). แบบวัดความเครียดของโรงพยาบาลสวนปรุง (Suanprung Stress Test). วารสารสวนปรุง, 32(3), 54-67
รวิพรรดิ พลูลาภ. (2560). ภาวะซึมเศร้า การคิดฆ่าตัวตาย ความเครียด และการจัดการความเครียดของประชาชนในชุมชนน้ำจำและชุมชนบ้านเด่น ตำบลเมืองพาน อำเภอเมืองพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 6(2), 72-85.
วชิระ เพ็ชรงาม และกลางเดือน โพชนา. (2259). ความเครียดของพนักงานและปัจจัยที่มีผลต่อความเครียด กรณีศึกษาฐานแก๊สธรรมชาตินอกอ่าวไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 18(1), 10-20.
วสิษฐ์พล รอบจังหวัด. (2562) บทบาทของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. (วิทยานิพนธ์นี้ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร, จังหวัดนครปฐม).
วาสนา สิทธิกัน. (2560). ปัจจัยที่มีผลลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาล ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่).
วิโรจน์ สุวรรณประไพ. (2564). ทัศนคติที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐในหน่วยงานเทศบาลเมืองกระบี่. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, จังหวัดสงขลา).
ศริญญา จริงมาก. (2561). ความเครียด และวิธีการจัดการความเครียดของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(1),43-58.
สุพรรณี พุ่มแฟง, และบุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2558). ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารเกื้อการุณย์, 22(2), 140-153.
สุวัฒน์ ศิริแก่นทราย และประจักร บัวผัน. (2555). การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของเจ้าพนักงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลชุมชนเขตสาธารณสุขที่ 12. วาสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับ บัณฑิตศึกษา), 12(4), 76-88.
สุวพิชชา ประกอบจันทร์, ศุภาพร ศรีมันตะ, ถนอมศักดิ์ บุญสู่, แก้วใจ มาลีลัย. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 31(2), 43-52.
อนุรัตน์ อนันทนาธร. (2559). ภาวะความเครียดและพฤติกรรมการจัดการความเครียดของข้าราชการตํารวจตํารวจภูธร สังกัดตํารวจภูธร ภาค 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี).
Green, L.W., Krueter , M.W. (1980). Health Promotion Planning an Educational and Environment Approach. (2nd ed). Toronto: Mayfield Publishing Company.
Hellriegel, D. Slocum. J.W. and R.W. Woodman. (1989). Organizational Behavior. Singapore : Asiapte Ltd. Journal of Behaviour Assessment, 3,(1): 476.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determination sample size for research activities. Education and Psychology Measurement, 30(3), 607-610.
Kuder, Frederic G. & M.W. Richardson. 1937. The Theory of the Estimation of Test Reliability. Psychometrika, 2, 151-160.
Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. Archives of Psychology, 140, 1–55.
Pender, N. J., Murdaugh, C. L., Parsons, M. A. (2002). Health Promotion in Nursing Practice. (4th ed). Harrisonburg, VA: RR Donnelley.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน