ผลของการดูแลสุขภาพจิตในชุมชนตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ร่วมกับการประยุกต์หลักโหราศาสตร์ต่อระดับความเครียดในกลุ่มวัยทำงานจังหวัดพัทลุง ภายใต้สถานการณ์ระบาดโรคโควิด-19

ผู้แต่ง

  • พานิตย์ นพรัตน์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าข้าม จังหวัดพัทลุง
  • กิตติพร เนาว์สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นภชา สิงห์วีรธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การดูแลสุขภาพจิตในชุมชน, หลักโหราศาสตร์, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, ความเครียด, โรคโควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการดูแลสุขภาพจิตในชุมชนตามบทบาทของ อสม. ร่วมกับการประยุกต์หลักโหราศาสตร์ต่อระดับความเครียดในกลุ่มวัยทำงานจังหวัดพัทลุง ภายใต้สถานการณ์ระบาดโรคโควิด-19  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่กลุ่มวัยทำงานในจังหวัดพัทลุงที่มารับบริการดูโหราศาสตร์ จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การประยุกต์หลักโหราศาสตร์เพื่อการดูแลสุขภาพจิตในชุมชนตามบทบาทของ อสม. และแบบประเมินความเครียด ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และสถิติ Paired sample t-test ผลการวิจัยพบว่า

หลังการดูแลสุขภาพจิตในชุมชนตามบทบาทของ อสม.ร่วมกับการประยุกต์หลักโหราศาสตร์ภายใต้สถานการณ์ระบาดโรคโควิด-19 กลุ่มวัยทำงานในจังหวัดพัทลุงมีระดับความเครียดลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควรประสานกับผู้มีความรู้เกี่ยวกับหลักทางโหราศาสตร์ เพื่อนำมาสอนให้กับ อสม. และนำมาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพจิตในชุมชนตามบทบาทของ อสม. เพื่อลดความเครียดให้กับประชาชนในเขตรับผิดชอบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2554). คู่มือ อสม.ยุคใหม่. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2550). แบบประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิต (SPST-20). สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2565 จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/A1/20-21_11_61/C_4.pdf

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2560). คู่มือความรู้สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญสาขาสุขภาพจิตชุมชน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์พระธรรมขันต์.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือดูแลจิตใจประชาชนสำหรับผู้นำชุมชนและอสม. ชุมชน “หัวใจมีหู ต่อสู้ ! โควิด-19”. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). จดหมายเหตุ COVID - 19 รวมพลัง ร่วมใจ ฝ่าภัยวิกฤต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคาะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, พยงค์ เทพอักษร. (2563). ความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ประเทศไทย. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 7(2), ก-จ.

จารุวรรณ ประภาสอน. (2564). ความเครียดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการปฏิบัติของบุคลากรในโรงพยาบาลแคนดง จังหวัดบุรัมย์ ในสถานการณ์ระบาดบองโรคโควิด. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9(38): 469-483.

ณฐณัช แก้วผลึก. (2561). การปรึกษาทางโหราศาสตร์ตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อลดความทุกข์. ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

นันทาวดี วรวสุวัส. (2560). คู่มือความรู้สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญ สาขาสุขภาพจิตชุมชน. ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์พระธรรมขันต์.

พระครูสุภัทรวชิรานุกูล, พูนชัย ปันธิยะ, เทพประวิณ จันทร์แรง, และ เยื้อง ปั้นเหน่งเพ็ชร์. (2563). การประยุกต์ใช้หลักโหราศาสคร์ตามแนวพระพุทธศาสสนา. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา. 11(2), 410-426.

พระปลัดอาทิตย์ อิทโชโต(ก้อนแก้ว. (2562). การศึกษาความเชื่อโหราศาสตร์ของชาวพุทธในล้านนา. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานแรงงานจังหวัดพัทลุง. (2564). รายงานสถานการณ์และดัชนีชี้วัดภาวะด้านแรงงานจังหวัดพัทลุง ไตรมาสที่4 ปี 2563(ตุลาคม –ธันวาคม). สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2565 จาก https://phatthalung.mol.go.th/wp-content/uploads/sites/83/2021/02/trimat4.63.pdf

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.

Hair, F. J., et al. (2019). Multivariate Data Analysis. (7th ed). New Jersey: Pearson Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30