การเปรียบเทียบพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าและการตัดสินใจเลือกซื้อบุหรี่ไฟฟ้าระหว่างนักศึกษาสถาบันอาชีวศึกษาในเขตเมืองและนอกเขตเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • สุรีรัตน์ บุญแต่ง มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
  • นรินทร์ทร สายกระโทก มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
  • ปิยะธิดา มาสุข มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
  • ประเสริฐ ประสมรักษ์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
  • ศิริกานต์ ทองดี มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
  • อุไรวรรณ กุมภิโร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ

คำสำคัญ:

บุหรี่ไฟฟ้า, นักศึกษาสถาบันอาชีวศึกษา, การตัดสินใจ, พฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้า

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบเปรียบเทียบนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าและการตัดสินใจเลือกซื้อบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษาสถาบันอาชีวศึกษาในเขตเมืองและนอกเขตเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ และเปรียบเทียบพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้า และการตัดสินใจเลือกซื้อบุหรี่ไฟฟ้าระหว่างนักศึกษาสถาบันอาชีวศึกษาในเขตเมืองและนอกเขตเมืองจังหวัดอำนาจเจริญ จำนวน 191 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มหลายขั้นตอน  เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล พฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าและการตัดสินใจเลือกซื้อบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน Chi-square Test for independent

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ในเขตเมืองและนอกเขตเมืองมีลักษณะทั่วไปคล้ายกันคือ เพศชายอายุ 17 ปี รายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครอง 3,600 บาทต่อเดือน มีผู้ที่เคยสูบบุหรี่ไฟฟ้า ร้อยละ 66.0 และ 48.7 ตามลำดับ ไม่มีบุคคลในครอบครัวที่เคยสูบบุหรี่ไฟฟ้า ร้อยละ 79.1 และ 51.3 ตามลำดับ มีเพื่อนสนิทที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า ร้อยละ 87.4 และ 42.9 ตามลำดับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าและการตัดสินใจเลือกซื้อบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษาสถาบันอาชีวศึกษาในเขตเมืองและนอกเขตเมือง พบว่า มีระดับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าโดยรวม
ทั้งสองกลุ่มอยู่ในระดับต่ำร้อยละ 50.6 และร้อยละ 49.4 ตามลำดับและเมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าระหว่างสถาบันอาชีวศึกษาในเขตเมืองและนอกเขตเมือง พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และการตัดสินใจเลือกซื้อบุหรี่ไฟฟ้า พบว่าการตัดสินใจเลือกซื้อบุหรี่ไฟฟ้าระหว่างนักศึกษาสถาบันอาชีวศึกษาในเขตเมืองและนอกเขตเมือง ไม่แตกต่างกัน

ดังนั้น หน่วยงานทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น กรมควบคุมโรค  สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค บุคคลากรสุขภาพ ครูและโรงเรียนควรตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาในด้านพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษา โดยนำผลการศึกษาที่ได้จากการเก็บข้อมูลไปใช้ในการวางแผนและส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพื่อลดอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาโปรแกรมต่างๆเพื่อให้เหมาะสมกับบุคคลที่ต้องการลดบุหรี่ไฟฟ้า

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลลดา ไชยกุลวัฒนา, ประกายดาว สุทธิ และวิชานีย์ ใจมาลัย.(2560). พฤติกรรมการสูบ บุหรี่และปัจจัยเสี่ยง

ที่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นตอนต้นจังหวัดพะเยา.วารสารพยาบาลกระทรวง สาธารณสุข . 27(3), 57-67.

ประกิต วาทีสาธกกิจ และกรองจิต วาทีสาธกกิจ (2551) "ผลกระทบของการสูบบุหรี่ไฟฟ้าต่อสุขภาพร่างกาย" สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เจริญดีมั่นคงการพิมพ์

ปิยวรรณ บุญเพ็ญ, ภาวนา เมนทะระ และปิยชาติ บุญเพ็ญ. พฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าและพฤติกรรมต้องการเลิกบุหรี่ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศรีนครินทรวิโรฆวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)2562;1/(22):111-127

ชลลดา ไชยกุลวัฒนา, ประกายดาว สุทธิ และวิชานีย์ ใจมาลัย. (2560). พฤติกรรมสูบบุหรี่และปัจจัย เสี่ยงที่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นตอนต้นจังหวัดพะเยา. วารสารพยาบาลกระทรวง สาธารณสุข, 27(3), 57-67.

ศรีรัช ลอยสมุทร. ผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ในสื่อสังคมเครือข่ายและผลของการบังคับใช้ กฎหมาย ผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข2562; 5(1):13-29.

เสรีวงษม์ ณฑา.(2542).การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค.กรุงเทพฯ:ธีระฟิลม์ และไซเท็กซ์.

วงการแพทย์. บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ยาสูบ”แปลงร่าง” คนบาปในคราบนักบุญ.[อินเตอร์เน็ต]. 2557. [เข้าถึงเมื่อ 18 กันยายน 2565].https://www.wongkarnpat.com/viewya.php?id=1050#.WGHc99 SyOkoPOBPAD

วรกิจ ดาโดซาว่า. ควันจากน้ำ: ทัศนคติและการบริโภคเชิงสัญลักษณ์ของผู้บริโภคต่อบุหรี่ไฟฟ้า. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาบริหารธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย]: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2259.

Chan, G., Leung, J., Gartner, C., Yong, H.-H., Borland, R., & Hall, W. (2019).Correlates of electronic cigarette use in the general population and among smokers in Australia–Findings from a nationally representative survey. Addictive behaviors, 95, 6-10.

Cho, J. H., Shin, E., & Moon, S.-S. (2011). Electronic-cigarette smoking experience among adolescents. Journal of Adolescent Health, 49(5), 542-546.

East, K., Hitchman, S. C., Bakolis, I., Williams, S., Cheeseman, H., Arnott, D., & McNeill, A. (2018). The association between smoking and electronic cigarette use in a cohort Of young people. Journal of Adolescent Health, 62(5), 539-547.

Fauzi, R. (2014). The prevalence of shisha and lelctronic cigarette smoking among high school students in jakata indonesia. (Master of Public Health), Public Health Program, Faculty of Public Health, Chulalongkorn University.

Gerend, M. A., Newcomb, M. E., & Mustanski, B. (2017). Prevalence and correlates of Smoking and e-cigarette use among young men who have sex with men and transgender women. Drug and alcohol dependence, 179,395-399.

Jeon, C., Jung, K. J., Kimm, H., Lee, S., Barrington-Trimis, J. L., McConnell,R., & Jee, S. H. (2016). E-cigarettes, conventional cigarettes, and dual use in Korean adolescents And university students: Prevalence and risk factors. Drug and Alcohol Dependence, 168,99-103.

John Farley; et al. (1984, February). How Advertising Affects Sales: Meta-Analysis of Econometric Results. Journal of Marketing Research. 21(1) : 337-341.

Wang, H. and Chow, S.-C. 2007. Sample Size Calculation for Comparing Proportions. Wiley Encyclopedia of Clinical Trials.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30