ผลของการใช้ระบบบริการการกักตัวที่บ้าน (Home Isolation : HI) ต่อการจัดการด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยโควิด-19
คำสำคัญ:
กักตัวที่บ้าน, การจัดการด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยโควิด-19บทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ระบบบริการการกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) ต่อการจัดการด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยโควิด-19 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปลักหนู กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้ามารับการรักษาพยาบาลใน HI ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปลักหนู กลุ่มตัวอย่าง 27 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบไม่เฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือระบบการจัดบริการผู้ป่วยโควิด-19 ใน HI แบบสอบถามการจัดการด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค COVID -19 ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ ระหว่าง .67-1.00 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .91 และ .90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ One sample t-test และสถิติ Dependent t-test ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดการด้านสุขภาพตามการรับรู้ของผู้ป่วยโควิด-19 ภายหลังการใช้ระบบการจัดบริการ HI มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการพัฒนาระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
2. หลังการใช้ระบบการจัดบริการ HI ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปลักหนู การจัดการด้านสุขภาพตามการรับรู้ของผู้ป่วยภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการพัฒนาระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
3. หลังการใช้ระบบการจัดบริการ HI ผู้ป่วยโควิด-19 มีพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสูงกว่าก่อนการเข้า HI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปลักหนู ควรจัดระบบการจัดบริการ HI ให้กับผู้ป่วยโควิด-19 อย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นการทำความเข้าใจในขั้นตอนการปฏิบัติตัวและการพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อขณะพักรักษาตัวใน HI
References
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, (2564). แนวทางการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม (กรณีมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในวงกว้าง). สืบค้นจาก https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/ Covid_Health/Attach/25640111082302AM_Field20Hospital%20GL_V_5_08012021.pdf
กรมการแพทย์. (2564). ประกาศแนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการผู้ป่วยโควิด-19" แบบ "Home Isolation" ฉบับปรับปรุง วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2565. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2564 จาก https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/ 25650405141947PM_Outpatient20with%20Self20Isolatio%20final%20050422.pdf
กรมควบคุมโรค. (2565). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2564 จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no637-011064.pdf
กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, นวพร ดำแสงสวัสดิ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(2), 92-103.
นภชา สิงห์วีรธรรม และนพมาส เครือสุวรรณ. (2563). ความจำเป็น กลุ่มเสี่ยง และการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูและดูแลประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นอกสถานพยาบาล: กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและสาธารณสุขภาคใต้, 7(3), 1-9.
นภชา สิงห์วีรธรรม, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, บรรจง เขื่อนแก้ว และ อนนต์ ละอองนวล. (2564). พฤติกรรมการรับรู้ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID –19) จากการปฏิบัติงานของนักรังสีการแพทย์. วารสารควบคุมโรค, 47(3), 467-478.
นภชา สิงห์วีรธรรม, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, บรรจง เขื่อนแก้ว, และอนนต์ ละอองนวล. (2564). การรับรู้ด้านสุขภาพของบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการเช่น ในทันตาภิบาล นักรังสีการแพทย์. วารสารควบคุมโรค, 14(3), 467-478.
นภชา สิงห์วีรธรรม, นพมาส เครือสุวรรณ, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, เฉลิมชัย เพาะบุญ, สมเพิ่ม สุขสมบูรณ์วงศ์, นลินภัสร์ รตนวิบูลย์สุข. (2564). พฤติกรรมการควบคุมและป้องกันโรค และการจัดการด้านสุขภาพอนามัยในการกักตัวที่ศูนย์การฟื้นฟูและดูแลประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากโรคติดเชื้อ COVID-19 วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก, วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30 (ฉบับเพิ่มเติม 1), 14-24.
ปาริชาติ กาญจนวงศ์, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม. (2564) ผลของการพัฒนาระบบการจัดบริการโรงพยาบาลสนามต่อการจัดการด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของบุคลากรและผู้ป่วยโควิด-19, วารสารราชาวดี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์, 11(2), 121-136.
ภัคณัฐ วีรขจร, โชคชัย ขวัญพิชิต ,กิตติพร เนาว์สุวรรณ์ และ นภชา สิงห์วีรธรรม. (2563). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกำลังพลที่ปฏิบัติงานสายแพทย์ ศูนย์อำนวยการแพทย์ จังหวัดชายแดนภาคใต้, วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(3), 106-117.
ราชกิจจานุเบกษา. (2563). ประกาศเรื่องชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563. (29 กุมภาพันธ์ 2563).. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 48ง. หน้า 1.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา, (2564). สถานการณ์โควิด 19 จังหวัดสงขลา. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2564 จาก https://covid19Songkhla/photo/fbid=5096553963739359&set=a.140585193 476265
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. (2564). รายงานสถานการณ์โรคCOVID-19 จังหวัดสงขลา. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564 จาก https://COVID19Songkhla/fbid=5107066139354808&set=a.1405851939476265
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.
House, J. S. (1981). Work stress and social support. Michigan: University of Michigan.
World Health Organization, (2020). Considerations for quarantine of individuals in the context of containment for coronavirus disease (COVID-19) 19 March 2020. Retrieved from https://www.who.int/publications-detail/considerations-for-quarantine-of-individuals-in-the-context-of-containment-for-coronavirus-disease-(covid-19)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน