การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในจังหวัดนราธิวาส

ผู้แต่ง

  • อภิญญา ก้อเด็ม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส
  • อิกบาร์น ราซีด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของประชาชน, ผู้นำชุมชน, การแก้ไขปัญหายาเสพติด

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้เพื่อศึกษามีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน และตำแหน่ง จากประชาชนและผู้นำชุมชนในจังหวัดนราธิวาส จำนวน 286 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม การมีส่วนร่วมได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .878 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ t-test สถิติ One-way ANOVA ทดสอบรายคู่ด้วยวิธี Scheffe ผลการวิจัยพบว่า

  1. 1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในจังหวัดนราธิวาสในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=2.90, SD=0.94)
  2. 2. ประชาชนที่มีอาชีพ รายได้ และตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบันในชุมชน ต่างกัน มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในจังหวัดนราธิวาส แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนตัวแปร เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่อยู่อาศัยในชุมชน ไม่แตกต่างกัน

ดังนั้น ควรส่งเสริมให้ประธานชุมชน ผู้ที่มีรายได้สูง และผู้ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวซึ่งมีศักยภาพสูง ในการเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหายาเสพติดเข้ามามีส่วนร่วมในด้านการด้านการตัดสินใจ การดำเนินงาน การรับผลประโยชน์ และการประเมินผล เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและศรัทธา ซึ่งส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดได้เพิ่มขึ้นและยั่งยืน   

References

กิตติยา รินเพ็ง และปวิช เฉลิมวัฒน. (2561). บทบาทหน้าที่ของผู้นําชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายา เสพติด ภายในหมู่บ้านหรือชุมชน อำเภอสรางคอม จังหวัดอุดรธานี. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 1(1), 91-101

กัมพล เพ็ชรล้อมทอง และธนัสถา โรจนตระกูล. (2565). การมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด. กรณีศึกษาตำบลลำประดา อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2543. เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.

สิงห์ ปานะชา. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตพื้นที่ชายแดนไทย-พม่าอำเภอสวนผึง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สุวรรณี เวาะมิ. (2563). การจัดการปัญหายาเสพติดในชุมชน กรณีศึกษา: ชุมชนบาราเฮาะ ตำบลบาราเฮาะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร

เสนีย์ วัยวัฒนะ. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ภายในชุมชน:ศึกษา. กรณีชุมชนพัฒนาล็อค4-5-6 แขวงคลองเตยเขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑติพัฒนบริหาร-ศาสตร์.

ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ระบบข้อมูลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ (บสต.). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://antidrugnew.moph.go.th

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสําหรับการวิจยั (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บุญศิริการ พิมพ์.

อธิพงษ์ ตันศิริ. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ศึกษากรณี อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. งานนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัมพร ภูแก้ว. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่เทศบาลตำบลพลวง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Attitude Theory and Measurement. Fishbeic, Martin, Ed. New York: Wiley & Son.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-Referenced Test Item Validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31