การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการปัญหาน้ำเสีย ตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • ธรรมนูญ โนนแข็ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลดอนไก่ดี
  • ศริศักดิ์ สุนทรไชย สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

คำสำคัญ การมีส่วนร่วมของประชาชน การจัดการปัญหาน้ำเสีย น้ำเสียในจังหวัดสมุทรสาคร

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการปัญหาน้ำเสีย 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาน้ำเสียของประชาชน และ (3) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของประชาชนในตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาครที่มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาน้ำเสีย กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลดอนไก่ดีจำนวน 1,939 ครัวเรือน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 335 ครัวเรือน ครัวเรือนละ 1 คน และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงในกลุ่มผู้นำชุมชนตำบลดอนไก่ดี จำนวน 24 คน กลุ่มผู้ประกอบกิจการโรงงาน จำนวน 45 คน และเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .89 และการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า

  1. 1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการปัญหาน้ำเสีย ตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=2.79, S.D.=0.10)
  2. 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาน้ำเสียของประชาชนตำบลดอนไก่ดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล คือ การศึกษา และระยะเวลาที่พักอาศัย 2) ปัจจัยด้านสังคม 3) ปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสาร และ 4) ปัจจัยด้านความรู้ ส่วนปัจจัยเพศ อาชีพ ไม่มีความสัมพันธ์
  3. 3. ปัญหาอุปสรรคคือ คุณภาพน้ำในลำคลองปัจจุบันมีความเสื่อมโทรมเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมลักลอบปล่อยน้ำเสียที่ไม่ผ่านการบำบัดออกสู่ลำคลองสาธารณะ สถานประกอบการขนาดเล็ก ร้านค้าร้านอาหารและห้องเช่าที่พักอาศัยปล่อยน้ำเสียจากการอุปโภคบริโภคลงสู่ลำคลองสาธารณะ

          ข้อเสนอแนะคือ เทศบาลตำบลดอนไก่ดีควรส่งเสริมให้ประชาชนและสถานประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการน้ำเสีย สร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวมหรือพัฒนาลำคลองที่มีอยู่ ติดตามและประเมินคุณภาพน้ำเสียให้โรงงานอุตสาหกรรม และใช้มาตรการทางสังคม หรือกฎหมายอย่างเคร่งครัด

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2558). สถานการณ์มลพิษประเทศไทย ปี 2558. สืบค้นเมื่อ วันที่ 28 มิถุนายน 2561 จาก http://wiki.kpi.ac.th

ฐกร กาญจน์จิรเดช, มยุรี รัตนเสริมพงศ์, สมบูรณ์ สุขสำราญ. (2561). รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการ บริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนของจังหวัดอุทัยธานีตามแนบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารสันติศึกษา ปริทรรศน์ มจร, 6(2), 537-552.

ดรุณี ศรีวิไล. (2555). การจัดการน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเมืองแกลง จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เทศบาลตำบลดอนไก่ดี. (2561). แผนพัฒนาห้าปี ตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ.2561 - พ.ศ.2565. สมุทรสาคร: เทศบาลตำบลดอนไก่ดี.

ปิยธิดา ศรีพล, รัชดา ภักดียิ่ง, พรสวรรค์ ชัยมีแรง, รุ่งนภา กิตติลาภ, อณพสิษฐ ไชยเชษฐ์. (2563). แนวทางการจัดการน้ำเสียบึงหนองโคตรของเทศบาลตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(2), 124-136

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2544). ประมวลสาระชุดวิชาพฤติกรรมมนุษย์และสังคมเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองประเทศ. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก ลงวันที่ 6 เมษายน 2560.

วรารัตน์ เขียวไพรี, สมหมาย คำประชม. (2562). การเสริมสร้างศักยภาพการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านการป้องกัน และบำบัดน้ำเสียโดยการประยุคใช้โปรแกรมสำเร็จรูปบัญชีสิ่งแวดล้อม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 37(2), 46-52.

สถาบันพระปกเกล้า. (2549). การมีส่วนร่วมของประชาชน. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2561 จาก http://opdc.go.th//special.php?spc_id=2&content_id=2549

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). การบำบัดน้ำเสีย. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2565 จาก http://biology.ipst.ac.th/?p=3303

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 ชลบุรี. (2561). น้ำเสียและการบำบัดน้ำเสีย. สืบค้นเมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม 2565จาก http://www.mnre.go.th/reo13/th/news/detail/9363

โสภิดา สุรินทะ, สุธรรม รัตนโชติ. (2553). การมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรนํ้าของประชาชน : กรณีศึกษา ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

องค์การจัดการน้ำเสีย. (2560). การจัดการปัญหาน้ำเสีย. สืบค้นเมื่อ วันที่ 28 มิถุนายน 2561 จาก http://www.wma.or.th

อารักษ์ ธาราพรรค, วัชรนิทร์ ชาญศิลป์. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการปัญหาน้ำเสียในชุมชนตรอกข้าวสาร เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัย.

Cohen , J. M., & Uphoff, N. T. (1981). Rural Development Participation : Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. New York: Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Piasecki, A. (2019). Water and Sewage Management Issues in Rural Poland. Water, 11(3), 625-641

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row

Zhang, R., Zheng, H., Zhang, H., and Hu, F. (2020). Study on the Influence of Social Capital on Farmers’ Participation in Rural Domestic Sewage Treatment in Nanjing, China. Int. J. Environ. Res. Public Health 2020, 17(7), 2479-2490.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30