ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เข็ม 3 ของประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำลอง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • กัญดา เจ๊ะมามะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำลอง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
  • นุรหายาตี วาหนิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำลอง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
  • กิตติพร เนาว์สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • นภชา สิงห์วีรธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การตัดสินใจฉีดวัคซีน, โรคโควิด-19, วัคซีนเข็ม 3, การป้องกันโรคด้วยวัคซีนโควิด-19

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เข็ม 3 ของประชาชนในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ลำลอง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา จำนวน 186 คน ใช้วิธีสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือวิจัยที่ใช้วิจัยคือแบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของวัคซีน และความเชื่อเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้ค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ระหว่าง .67 – 1.00 และค่าเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .74 และ .70 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณโลจิสติก ผลการวิจัยพบว่า

ประชาชนที่มีอาชีพอื่น ๆ (ORadj=9.27, 95%CI: 4.02-21.41) มีระดับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาขึ้นไป (ORadj=6.70, 95%CI: 2.80-16.02) และมีความเชื่อเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ระดับต่ำ (ORadj=6.65, 95%CI: 2.93-15.06) เมื่อเทียบกับประชากรที่มีความเชื่อเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ระดับสูง  แต่ผลการศึกษาพบว่า เพศ การมีโรคประจำตัว  โอกาสเสี่ยง และการรับรู้ประโยชน์ของวัคซีนไม่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เข็ม 3

ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำลอง ควรให้ความรู้เชิงรุกในประชาชน กลุ่มที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษา และกลุ่มที่มีความเชื่อเกี่ยวกับวัคซีนที่ไม่ถูกต้อง เพื่อให้เกิดการตัดสินใจยอมรับฉีดวัคซีน

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (2564) “สำหรับประชาชน>คำถามที่พบบ่อย”. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม2565 จาก https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/pages/คำถามที่พบบ่อย

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, และมาริสา สุวรรณราช. (2560). สภาพปัญหาและความต้องการการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในบริบทภาคใต้ตอนล่าง (รายงานการวิจัย). สงขลา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา.

กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์, และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 14(2), 138-148.

ขนิษฐา ชื่นใจ และ บุฎกา ปณฑุรอัมพร. (2564). ปจจัยที่สงผลตอการตัดสินใจฉีดวัคซีนปองกันโคโรนาไวรัส (Covid-19) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปณิตา ครองยุทธ, จินดา คำแกว, ปฐวี สาระติ, และวิรินรัตน สุขรี. (2561). ปจจัยที่มีความสัมพันธกับการตัดสินใจฉีดวัคซีนปองกันโรคไขหวัดใหญในผูสูงอายุที่ปวยเปนโรคเรื้อรัง อำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี(สารนิพนธปริญญามหาบัณฑิต). อุบลราชธานี: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

นภชา สิงห์วีรธรรม, เพ็ญนภา ศรีหริ่ง, อรนุช ทองจันดี, วุฒิกุล ธนากาญจนภักดี, อัจฉรา คำมะทิตย์, กิตติพร เนาว์สุวรรณ. (2565). ความเต็มใจยอมรับและความเต็มใจที่จะจ่ายเงินการได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

พีรวัฒน์ ตระกูลทวีสุข. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับวัคซีนโควิด-19 และข้อกังวลในบุคลากรทางการแพทย์. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ, 3(1), 47-57.

พัชรินทร์ เงินทอง, นันทพร แสนศิริพันธ์, นริศรา ใคร้ศรี. (2565). การสนับสนุนที่จําเป็นต่อความสําเร็จในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19ในพื้นที่ชายแดนทางภาคเหนือของไทย: การศึกษาเชิงคุณภาพแบบพรรณนา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 9(2), 1-12

ราชกิจจานุเบกษา. (2563). การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เล่ม 137 ตอนที่ 24 ก 31 มีนาคม 2563.

ราชกิจจานุเบกษา. (2563). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 48 ง 29 กุมภาพันธ์ 2563.

ระบบ MOPH Immunization กระทรวงสาธารณสุข. 2565. สรุปข้อมูลการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ประจำเดือนสิงหาคม.

Hussein, N. R., Naqid, I. A., Jacksi, K., & Abdi, B. A. (2020). Assessment of knowledge, attitudes, and practices toward COVID-19 virus among university students in Kurdistan region, Iraq: Online cross-sectional study. Journal of Family Medicine and Primary Care, 9(9), 4809–4814. doi: 10.4103/jfmpc.jfmpc_870_20

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31