รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนด้านปกครองในการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • จงจิต ปินศิริ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน
  • นิรัชรา ลิลละฮ์กุล วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดยะลา คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • เจษฏากร โนอินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ผู้นำชุมชนด้านปกครอง, โรคโควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนด้านปกครองและพัฒนารูปแบบในการดำเนินงานในการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้นำชุมชนด้านปกครอง ในอำเภอเมืองน่าน จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินการมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการอภิปรายกลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

  1. ด้านการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคของผู้นำชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 โดยรวมระดับมาก (=17.58 S.D.=1.570)

2. รูปแบบการดำเนินงานการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 ของผู้นำชุมชนด้านปกครอง อำเภอเมืองน่าน ประกอบด้วย 1) การแต่งตั้งหน่วยปฏิบัติการคัดกรอง แยกกัก กักกัน คุมไว้สังเกตระดับพื้นที่ 2) การกำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการควบคุมดูแลผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง 3) การรณรงค์ให้ความรู้และสื่อสารประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโรค 4) การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน 5) การดูแลช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรค และ 6) การติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน ผลการศึกษาครั้งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการโรคอุบัติใหม่ที่จะอาจเกิดขึ้นในอนาคตของหน่วยงานสาธารณสุขต่อไป

References

กชกร สมมัง. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของ ผู้รับบริการ

งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. วารสารสุขศึกษา, 37(126), 8-21.

กรมควบคุมโรค.(2564).รายงานสถานการณ์โควิด-19. สืบค้น 16 มกราคม 2564, จาก

https://covid19.ddc.moph.go.th/.

กรมควบคุมโรค. (2564).กรมควบคุมโรค แนะประชาชนที่กำลังทยอยเดินทางกลับหลังปีใหม่ยึดหลัก

D-M-H-T-T เพื่อป้องกันตนเองจากโรคโควิด 19. สืบค้น 16 ธันวาคม 2564 จาก

https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=16434&deptc ode=brc.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2564. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19).

สืบค้น 6 กันยายน 2564. จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/.

จิราพร บาริศรี และคณะ. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันโรคโควิด-2019 (COVID –

ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(2), 33-45.

ธานี กล่อมใจ จรรยา แก้วใจบุญ และ ทักษิกา ชัชชวรัตน์. (2563). ความรู้และพฤติกรรมของประชาชน

เรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ. 21(2), 29-39.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสาคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563.

(29 กุมภาพันธ์ 2563). ราชกิจจานุเบกษา. 177 (พิเศษ 48 ง). หน้า 1.

พัสกร สงวนชาติ. (2552). ผลการจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีต่อการป้องกันและควบคุมโรค

ไข้เลือดออก ตำบลพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสุขภาพ]. มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชนกองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2563). รายงานกิจกรรม

การเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคปอดอักเสบจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่. สืบค้น 19 สิงหาคม 2562, จาก http://www.thaiphc.net/new2020/corona_tracking/

วรยุทธ นาคอ้าย และคณะ. (2563). กระบวนการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคโควิด19 กรณีศึกษาผู้สูงอายุ

พฤฒิพลังชุมชนหนองตะโก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี. 14(3), 20-30.

ศักดิ์ชัย ธิวงศ์.(2559).การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนก ตำบลห้วยหม้าย

อำเภอสอง จังหวัดแพร่. สาขาวิชาการบริหารงานสาธารณสุขมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น. ศูนย์

ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน.(2564). สถานการณ์โควิด-19

จังหวัดน่าน สืบค้น 19 สิงหาคม 2562, จาก https://apps.Line Group: องค์กรสาธารณสุข

น่าน.

สุจินดา สุขรุ่ง และคณะ. (2561). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยใช้

กระบวนการ AIC: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(2). 159-176.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน. (2564). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดน่าน.

: สานักงานสาธารณสุขจังหวัด.

อนงค์ หาญสกุล ,กาญจนาพร ภาษิต.(2555).การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการดำเนินงานป้องกันโรค

เอดส์ อำเภอโนนสง่า จังหวัดชัยภูมิ. วารสารคณะพละศึกษา, 15(ฉบับพิเศษ). 253-262.

อรพินท์ พรหมวิเศษ และคณะ. (2559). กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรค

ไข้เลือดออก โดยใช้เทคนิคกระบวนการ Appreciation Influence Control :บ้านช่องอินทนิน หมู่ 10 ตำบลตะกุกเหนือ อำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฏร์ธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(2).167-183.

ฮูดา แวหะยี. (2563). การรับรู้ความรุนแรงและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

(โควิด-19) ของวัยรุ่นในเขตตาบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารวิชาการ

สาธารณสุขชุมชน, 6(4), 158-168.

World Health Organization . (2020). Clinical management of COVOD-19patients: living

guideline- Retried 19 November 2022 from https://www.who.int/teams/health-

care-readiness/covid-19

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31