ผลของการจัดระบบสนับสนุนการให้บริการแยกกักตัวที่บ้านของหน่วยบริการปฐมภูมิ ต่อความสำเร็จในการสนับสนุนการดำเนินงานควบคุมโรคโควิด-19 อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • มารุต ภู่พะเนียด วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • นิธิกันต์ คูณทวีเดช สำนักงานสาธารณสุขอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ศรีสุรางค์ เคหะนาค วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การจัดระบบสนับสนุนการให้บริการ, แยกกักตัวที่บ้าน, หน่วยบริการปฐมภูมิ, โรคโควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดระบบสนับสนุนการให้บริการแยกกักตัวที่บ้านของหน่วยบริการปฐมภูมิต่อความสำเร็จในการสนับสนุนการดำเนินงานควบคุมโรคโควิด-19 อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มทดลองคือเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอด่านช้าง จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ระบบสนับสนุนการให้บริการแก่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตามบทบาทของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ คือ การสนับสนุนกำลังคน งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ ความรู้ด้านวิชาการ และการสร้างขวัญกำลังใจ ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2565 และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับความสำเร็จในการสนับสนุนการดำเนินงานควบคุมโรคโควิด-19 ซึ่งมีค่าความตรง เท่ากับ 0.67 – 1.00 ความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.948 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า

หลังการดำเนินการการจัดระบบสนับสนุนการให้บริการแยกกักตัวที่บ้านของหน่วยบริการปฐมภูมิมีความสำเร็จในการสนับสนุนการดำเนินงานควบคุมโรคโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01          (P-value<0.001)

ดังนั้น สำนักงานสาธารณสุขหรือหน่วยงานสนับสนุนควรดำเนินการสนับสนุนกำลังคน งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ ความรู้ด้านวิชาการ และการสร้างขวัญกำลังใจให้กับหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อให้หน่วยบริการปฐมภูมิเกิดความมั่นใจในการปฏิบัติงาน ตลอดจนประชาชนมีความรู้สึกที่ดีกับบุคลากรทางการแพทย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างกันในการควบคุมป้องกันโรคโควิด-19 ให้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

References

กรมการปกครอง. (2563). การดำเนินการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้นเมื่อ สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2565 จาก http://report.dopa.go.th/covid19/ ita_files/document/DopaDoc5.pdf

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2565a). แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง วันที่11 กรกฎาคม 2565. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2565 จาก https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_FIle/Bandner_(Big)/Attach/25650712141035PM_CPG_COVID-19_v.24.1.n_20220711.pdf

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2565b). แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ในการให้คำแนะนำผู้ป่วยและการจัดบริการผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation ฉบับปรับปรุง วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2565 จาก https://covid19.dms.go.th/backend/ Content/Content_File/Covid_Health/Attach/25650105175718PM_%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87homeIso.pdf

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์.

บุญประจักษ์ จันทร์วิน และช่อทิพย์ บรมธนรัตน์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยาของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 3(3), 45-55.

ปิยธิดา ตรีเดช สมชาติ โตรักษา และพีระ ครึกครื้นจิตร. (2552). หลักการบริหารจัดการ. กรุงเทพฯ: เอส พี เอ็น.

ระนอง เกตุดาว, อัมพร เที่ยงตรงดี และภาสินี โทอินทร์. (2564). การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี - Udon Model COVID-19. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(1), 53-61.

สำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี. (2565). สุพรรณบุรี Covid-19. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2565 จาก https://covid.suphanburi.go.th/frontpage

สุวิชัย ถามูลเลศ และประจักร บัวผัน. (2561). ปัจจัยการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น, 25(1), 23-34.

อรดี บุญบุตร และอำภาศรี พ่อค้า. (2564). นวัตกรรมบริการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 15(3), 173-185.

อารยา จันทร์ขวาง และประจักร บัวผัน. (2565). คุณลักษณะส่วนบุคคลและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลการปฏิบัติงานควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น, 29(2), 54-64.

Cohen, J. (1977). Statistical Power Analyses for the Behavioral Sciences. Hillsdale, NJ: Lawrence Earlbaum Associates.

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G. & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A Flexible Statistical Power Analysis Program for the Social, Behavioral, and Biomedical Sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2019). Multivariate Data Analysis. Hampshire, UK: Cengage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28