การประเมินผลโครงการลดบริโภคโซเดียมในอาหารผู้ป่วยของโรงพยาบาลศูนย์ (ระดับ A) และโรงพยาบาลทั่วไป (ระดับ S, M1) เขตสุขภาพที่ 11 ปีงบประมาณ 2564
คำสำคัญ:
การประเมินผล, การลดบริโภคโซเดียมในอาหาร, โรงพยาบาลศูนย์, โรงพยาบาลทั่วไป, เขตสุขภาพที่ 11บทคัดย่อ
การประเมินผลโครงการลดบริโภคโซเดียมในอาหารผู้ป่วยของโรงพยาบาลศูนย์ (ระดับ A) และโรงพยาบาลทั่วไป (ระดับ S, M1) เขตสุขภาพที่ 11 เป็นการวิจัยประเมินผล โดยใช้ CIPP Model ของสตัฟ เฟลบีม และศึกษาปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงานโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาทั้งหมด 62 คน คัดเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วยนักโภชนาการ ผู้รับผิดชอบงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ในเขตสุขภาพที่ 11 การวิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context) โครงการมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และความต้องการของโรงพยาบาลในระดับมากที่สุด ส่วนผู้บริหารให้ความสำคัญโครงการในระดับมาก ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) พบว่า วัสดุอุปกรณ์และงบประมาณอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความรู้ความเข้าใจของบุคลากร ความพร้อมทางเทคโนโลยีและความร่วมมือในการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ด้านกระบวนการ (Process) พบว่าการจัดอบรมให้ความรู้เพียงพอแก่ผู้ประกอบการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการประชาสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก ด้านผลผลิต (Product) พบว่า ความพึงพอใจโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M=3.83, SD=0.57) ส่วนการปรับลดปริมาณโซเดียม ในอาหารที่เกิน 660 มิลลิกรัม ลดลงร้อยละ 15 ในอาหารผู้ป่วยใน (IPD) ได้ทุกเมนู พบว่าโรงพยาบาลศูนย์ จำนวน 1 แห่ง ร้อยละ 9.10 และโรงพยาบาลทั่วไป จำนวน 5 แห่ง ร้อยละ 45.45
2. ปัญหาอุปสรรค พบว่า ผู้ป่วยบางรายรับประทานอาหารเหลือเล็กน้อยจากเดิมและจากความเคยชินในการปรุงอาหารรสเค็ม และโปรแกรมในการคำนวณสารอาหารต้องใช้ระยะเวลาอบรมให้มีความชำนาญ
ผลการวิจัยนี้สามารถขยายไปยังชุมชนเพื่อลดการบริโภคเค็มในอาหาร และควรประชาสัมพันธ์โดยใช้แรงจูงใจต่อผู้ป่วยในการลดบริโภคเค็ม
References
กรรณิกา สุวรรณา, วลัยลักษณ์ สิทธิบรรณ์, จิรา แก้วดำ และเลอศักดิ์ อินทร์นุภาพ (2563). ความรู้ ความเชื่อ ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารเค็มของประชาชน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2, 53-61.
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางการดำเนินงานโรงพยาบาลเค็มน้อย อร่อย (3) ดี. ข้อมูลระบบคลังข้อมูลสารสนเทศด้านการแพทย์และสุขภาพ (Health data center) กระทรวงสาธารณสุข. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2562, จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php.
ธัญญ์พิชชา ศักดิ์ภิรมย์ และพรพิรุณ ดีสวัสดิ์. (2562). การประเมินผลการดำเนินงานอาหารปลอดภัย จังหวัดปทุมธานี. วารสารอาหารและยา, 26, 64-75.
ปราโมทย์ ถ่างกระโทก, สิรินาถ ชาวแขก, พนิดา มงคลดี, พัชรธิดา พิณรัตน์ และเปรมฤทัย พวงเพชร. (2559). พฤติกรรมการบริโภคอาหารเค็มของผู้สูงอายุในเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(3-4), 71-78.
พจนีย์ ไชโย. (2562). การประเมินโครงการสร้างเสริมสุขภาพ เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาสุขภาพบุคลากรสาธารณสุข โรงพยาบาลท่าแซะ จังหวัดชุมพร ปี 2560. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11, 33, 1-10.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2562). การประเมินโครงการ: แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพมหานคร: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์.
เพชราภรณ์ วุฒิวงศ์ชัย. (2560). คู่มือการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยยึดชุมชนเป็นฐาน : ชุมชนลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (CBI NCDs). สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. บริษัทอิโมชั่นอาร์ต จำกัด.
โรงพยาบาลราชวิถี. (2559). รู้ทัน “โซเดียม” เลี่ยงโรค. ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2565, จาก https://www.rajavithi.go.th/rj/?p=2046
วีรนุช รอบสันติสุข และสิริสวัสดิ์ วันทอง. (2562). ลดเค็มพิชิตภัยเงียบ. สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2562, จาก http://www.thaihypertension.org/hypertensiondetail.php?nid=237
วีระชัย นลวชัย, ผุสดี เวชชพิพัฒน์, ปภัสสร ผลโพธิ์, จินตนา เทียมทิพร และกรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์ (2562). รายงานการประเมินผลโครงการ อย.ร่วมใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่กรมสุขภาพดี (อย.Fit & Firm). สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.
สุกิจ รักษาสุข. (2562). มารู้จักโซเดียมกันเถอะ. บทความสุขภาพ. ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2565, จากhttps://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=1365
อรนุช ศรีหะตม, ทักษิณ พิมพ์ภักดิ์ และพัจนภา ธานี. (2562). ศึกษาปริมาณโซเดียมในอาหารที่บริโภคของผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง บ้านดอนกลางใต้ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2, 34-43.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน