แนวทางการพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาบริหารสาธารณสุข
คำสำคัญ:
ผลลัพธ์การเรียนรู้, การพัฒนาหลักสูตร, การบริหารสาธารณสุขบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรและปรับปรุงหลักสูตรสาขาวิชาบริหารสาธารณสุข วิธีการศึกษาโดยการสัมภาษณ์ด้วยโปรแกรมออนไลน์ Cisco WebEx โทรศัพท์ และการตอบทางอีเมล์ ผู้เข้าร่วมวิจัย มี 4 กลุ่ม ได้แก่ กรรมการสภาการสาธารณสุขชุมชน นักบริหารการศึกษา ประธานหลักสูตร/นักวิชาการที่เกี่ยวกับหลักสูตรบริหารสาธารณสุข ศิษย์เก่าในหลักสูตรที่เกี่ยวกับบริหารสาธารณสุข รวมผู้ตอบจำนวน 16 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสำหรับนักบริหารงานสาธารณสุข ควรเน้นผู้เรียนต้องมีผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรต้องสร้างผู้เรียนให้มีภาวะผู้นำในการขับเคลื่อนองค์การ เป็นหลักสูตรที่สร้างนักบริหารสาธารณสุขที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 ต้องมีทั้ง Hard Skill และ Soft Skill Literacy การใช้คอมพิวเตอร์ วิเคราะห์สถิติ ระบาดวิทยา ระเบียบวิธีการวิจัย การจัดการข้อมูลที่เป็นทุติยภูมิ (Secondary Data) ได้ ต้องมีความรู้ความเข้าใจระบบบริการสุขภาพ (Health Service System) การปฏิบัติที่ถูกต้องตามมาตรฐานที่เกี่ยวกับวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณสุข ซึ่งประกอบด้วยมาตรฐานทั้งหมด 4 มาตรฐาน 1) มาตรฐานด้านความรู้ 2) มาตรฐานด้านการปฏิบัติ 3) มาตรฐานด้านทักษะ และ 4) มาตรฐานด้านจริยธรรม เป็นหลักสูตรที่มีกระบวนการพัฒนาและสร้างนักบริหารที่มีคุณธรรม จริยธรรม ที่ดีงามอย่างแท้จริง และมีศีลธรรมทางการบริหารที่ยั่งยืน การพัฒนาหลักสูตรควรมุ่งเน้นที่การพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนในด้านการบริหารองค์กรทางสุขภาพทุกระดับซึ่งให้ประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน เน้นทักษะความเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพ
ข้อเสนอแนะ การจัดการหลักสูตรการบริหารสาธารณสุขควรคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้สอน ปัจจัยการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง ซึ่งทำให้นักบริหารสาธารณสุขเข้าใจวิถีชีวิตตนเองและผู้อื่น การจัดกิจกรรมการเรียนให้ผู้เรียนมีโอกาสสัมผัส และเชื่อมต่อการเรียนรู้กับเครือข่าย ปัจจัยเทคโนโลยี การเรียนรู้ได้ ทุกที่ ทุกเวลา ตามแนวคิดการศึกษาตลอดชีวิต และการเรียนข้ามศาสตร์
References
กฎกระทรวงมาตรฐานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 เล่ม ๑๓๙ ตอนที่ ๒๐ ก ราชกิจจานุเบกษา 31 มีนาคม
กองพัฒนาคุณภาพ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 2564) กว่าจะเข้าสู่ AUN-QA, https://op.mahidol.ac.th/qd/aun/ass.html
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563) หลักสูตรภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข https://www.ph.mahidol.ac.th/department/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2/
วรางคณา จันทร์คง, ปริญญา จิตอร่าม, ทรงพล ต่อนี, จิรนันท์ ตุลชาติ, พิทยา ศรีเมือง (2564) การศึกษาและการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน 3(3): กันยายน - ธันวาคม
วศิน พิพัฒนฉัตร.(2559) บทบาทวิชาชีพสาธารณสุขตามพระราชบัญญัตวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๖ วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2559
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2557). คู่มือการประกันคุณภาพภายใน ระดับอุดมศึกษาฉบับปีการศึกษา 2557. http://www.mua.go.th/users/bhes/DATA%20BHES2558/upload%20file%20IQA/iqa%20
สำนักมาตรฐานและสำนักประเมินผลอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2560) เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๘ และเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: บริษัทวงศ์สว่างพับลิชชิ่งแอนด์พริ้นติ้ง จำกัด.
Czabanowska K, Smith T, Stankunas M, et al. (2013). Transforming public health specialists to public health leaders: the role of LEPHIE project. Lancet; 381: 449–50.
Datar, Srikant M., David A. Garvin, Patrick G. Cullen. 2010. Rethinking the MBA: Business Education at a Crossroads. Boston: Harvard Business Press.
Day M, Shickle D, Smith K, et al. (2012) Time for heroes: public health leadership in the 21st century. Lancet; 380: 1205–6.
Day M, Shickle D, Smith K, et al. (2013) Transforming public health specialists into public health leaders: authors’ reply. Lancet; 381: 450.
Herzlinger, Regina E. (in press) (2012). White Paper " 21st Century Health Care Management Education: Confronting Challenges for Innovation with a Modern Curriculum," a conference held October 4-5, 2012 at the Harvard Business School. Boston: Harvard Business Press
Herzlinger, Regina E, (2013). 21st –Century Health Care Management Education: Confronting Challenges for Innovation with a Modern Curriculum, Health Management Policy and Innovation, 1 (2): 38-44
Jiranya Bureemas, Chanathib Suntiwong (2004). The Evaluation of Bachelor of Public Health Program Year 2010 of Faculty of Public Health, Nakhon Ratchasima Rajabhat University Kasetsart J. (Soc. Sci) 25: 150 – 165.
Kimberly JR. (2011). Preparing leaders in public health for success in a flatter, more distributed and collaborative world. Public Health Rev; 33: 289–99.
Muanphan, P. (2016). Go ahead and reform the course 2016 The first wave of policy Reduce study time increase time to know. Access March 3, 2017, from http://www.ksp.or.th/ksp2013/ content/view.php? mid= 99&did=923
IRoy Killen. Outcomes-based education. (2000) Principle and Possibilities. Faculty of Education, University of Newcastle, Australia https://academic.payap.ac.th/wp/wp-content/uploads/1.-2-Killen_paper_good-kena-baca1.pdfbid
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน