ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
พฤติกรรมป้องกันการหกล้ม ผู้สูงอายุ สิ่งแวดล้อมในบ้านบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 297 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.66-1.00 ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.84 และมีค่าความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Cronbach's Alpha Coefficient) ของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.89 และหาค่าความเที่ยงของแบบทดสอบความรู้ด้วยวิธี KR-20 ของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน เท่ากับ 0.76 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติที่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุดและสถิติไคสแควร์
ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 68.7 ระดับปานกลาง ร้อยละ 31.3 และ อายุ ดัชนีมวลกาย ระดับการศึกษา อาชีพ ประวัติการหกล้มและความรู้ในการป้องกันการหกล้ม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 สำหรับเพศ สถานภาพ รายได้ โรคประจำตัว ทัศนคติและสภาพแวดล้อมในบ้าน ไม่มีความสัมพันธ์
ดังนั้นจึงควรส่งเสริมความรู้ในการป้องกันการหกล้มให้กับผู้สูงอายุ และควรมีการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีระดับดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2563). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ณ.วันที่ 31 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2665 จาก http://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/335.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ สาเหตุและการป้องกัน. สืบค้น21 ตุลาคม 2665 จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1037120200813042821.pdf.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). จำนวนและอัตราการเสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ต่อประชากรผู้สูงอายุแสนคนจำแนกรายจังหวัด ปี พ.ศ. 2555 – 2562. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2665 จาก http://35.190.29.12/uploads/files/1662820210118045737.pdf.
กรมสุขภาพจิต. (2563). ก้าวย่างของประเทศไทย สู่‘สังคมผู้สูงอายุ’อย่างสมบูรณ์แบบ. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2565จาก https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30476.
คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2552). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545–2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
จันทร์ชัย เจรียงประเสริฐ. (2564). ปัญหาการทรงตัวใน ผู้สูงวัย (Balance disorders in elderly). ภาควิชา โสตศอ นาสิกวิทยาคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2565 จาก http://rcot.org/datafile/_file/_doc tor/19ac85bb3173b1706ed 42f90e 98f387d.pdf. pp 803-808.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. (2561). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2562 ประวัติศาสตร์ใหม่ จำนวนผู้สูงอายุมากกว่าเด็กเป็นปีแรก. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2565 จาก: https://thaitgri.org/?p=39457.
Best, J. W. (1977). Research in Education. (3 rd ed). New Jersey: Prentice Hall Inc.
Bloom, B. S. (1975). Taxonomy of Education. David McKay.117 p. New York. Company Inc.
Hemara, C., Rodma, G., & Dhanajyaist, B. (2020). Training Drill for Enhancing Strength and Balance of the Elderly with Applied Yoga Activities. Academic Journal of Thailand National Sports University, 12(2), 13-25.
Ketcharoen, N. (2020). Factors Related to Fall Prevention Behavior among Elders in Community, Nongbua Lamphu Province. Journal of Health and Environmental Eucation, 5(2), 155-165.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Mato, L., Butsatam, N., Tumma, W., Wimoon, K., Peungsuwan, P. & Amatachaya, S. (2012). Balance Performance of Elderly in Amphur Muang, Khon Kaen Province. JOURNAL OF MEDICAL TECHNOLOGY AND PHYSICAL THERAPY, 24(2), 201-207.
Muangsiri, K., Maharachpong, N., & Rodjarkpai, Y. (2017). Factors Relating the Behaviop of Fall Prevention among Elderly in Chonburi Province. Naresuan University Journal: Science and Technology, 25(4), 23-33.
Pantawisit, J. (2018). The Development of Pasalop Dancing and Line Dancing Exercise Program on Blood Pressure Cardiorespiratory Endurance Sysytem and Balance of Elderly Persons in the Elderly Society of Nongkhai Municipality. Journal of Education KHON KAEN UNIVERSITY, 41(1), 101-117.
Pholin, T., Jitramontree, N., & Wirojratana, V., (2017). The Relationships Between Personal Factors, Health Status, Fear of Falling, and Fall Preventive Behaviors of Community Dwelling Older Persons. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University, 29(1), 36-50.
Rodseeda, P. (2018). Fall Prevention among the Elderly Living in a Community: the Nursing Role in Home Health Care. Thai Red Cross Nursing Journal, 11(2), 15-25.
Sarapun, A., Sirisopon, N., Kainaka, P., Onsiri, S., Outayanik, B., Threrawachjareanchai, S., et al., (2017). Factors Ralated to a Fall Prevention Behaviors of Elderly. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 18(suppl.1), 215–222.
Sorysang, L., Khompraya, J., & Natetanasombut, K. (2014). A Study of Fall Prevention Guideline in Older Adult Living in Mitraphappatana Community. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(1), 122-129.
Sridawruang, C., Worawong, C., Sriyasak, A., Howharn, C., & Manassatchakun, P., (2020). Relationships between Knowledge, Attitude, and Behavior toward Food Consumption and Physical Exercises among Rural Overweight Middle-Aged Adults. REGIONAL HEALTH PROMOTION CENTER 9 JOURNAL, 14(35), 464–482.
Tiaotrakul, A., & Wangwonsin, A. (2019). Improvement of Physical Fitness for Balancing and Fall Prevention in Elderly. Academic Journal Institute of Physical Education, 11(1), 74-92.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน