การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะของอาคารชุดบ้านเอื้ออาทรแห่งหนึ่ง จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ ลักษมีจรัลกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • มงคล บุญอุ่น คณะกรรมการนิติอาคารชุดบ้านเอื้ออาทร บางนา
  • พิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุล คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

คำสำคัญ:

คำสำคัญ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, การคัดแยกขยะและการจัดการ, อาคารชุดบ้านเอื้ออาทร

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการคัดแยกขยะของชุมชนอาคารชุดบ้านเอื้ออาทรแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ และพัฒนาโครงการชุดกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ รวมทั้งการประเมินผลลัพธ์จากการดำเนินโครงการชุดกิจกรรมดังกล่าว  เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อยกับกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ คณะกรรมการนิติอาคารชุด 15 คน และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยเก็บจากแบบบันทึกข้อมูลการมีส่วนร่วมของครัวเรือนในการคัดแยกขยะและน้ำหนักของขยะแต่ละชนิดที่สถานีบันทึกขยะที่คัดแยกได้การศึกษานี้แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะก่อนดำเนินโครงการชุดกิจกรรม ระยะพัฒนาและดำเนินโครงการชุดกิจกรรม (6 เดือน) และระยะประเมินผลลัพธ์หลังจากโครงการชุดกิจกรรมสิ้นสุด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัญหาการคัดแยกขยะของอาคารชุดบ้านเอื้ออาทร บางนา 6 จังหวัดสมุทรปราการ มีปริมาณขยะจำนวนมาก ไม่มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ขยะล้นถัง กระจัดกระจายตามพื้นและส่งกลิ่นเหม็น

2. โครงการชุดกิจกรรมที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของคณะกรรมการนิติฯ ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ การจัดตั้งสถานีคัดแยกขยะ การจัดทำตะแกรงกรงสำหรับขยะรีไซเคิลและถังรองรับขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไปและขยะอันตราย การจัดทำแบบบันทึกน้ำหนักตามชนิดของขยะที่คัดแยก และการนำกลยุทธ์การตลาดมาใช้ดำเนินกิจกรรม

3. ผลลัพธ์จากการดำเนินโครงการฯ พบว่า ชุมชนมีการคัดแยกขยะก่อนทิ้งร้อยละ 43.55 ของครัวเรือนที่โอนกรรมสิทธิ์แล้ว โดยมีปริมาณขยะเฉลี่ยต่อเดือน 334.65 กรัม เป็นขยะรีไซเคิลร้อยละ 53.79 ขยะทั่วไปร้อยละ 26.69 และขยะอินทรีย์ร้อยละ19.27 ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของครัวเรือนในการคัดแยกขยะจากไม่เคยคัดแยกขยะมาเป็นมีการคัดแยกขยะตามชนิดของขยะและมีการใช้ประโยชน์จากการคัดแยกขยะ มีการใช้กลยุทธ์การตลาดช่วยดึงดูดการมีส่วนร่วม ประธานคณะกรรมการนิติฯมีบทบาทสำคัญในการดำเนินโครงการ เป็นต้น

          ผลจากการศึกษามีการนำมาขยายเป็นมติให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมอาคารชุดบ้านเอื้ออาทรอื่น ๆ

References

กนกอร บุญมี, ธวัช ทะเพชร, และ นภารัตน์ พุฒนาค (2560). แนวทางการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 4(2), 85-98.

กรมควบคุมมลพิษ. (2560). รายงานสถานการณ์มลพิษของ ประเทศไทย ปี 2560. บริษัทวงศ์สว่างพับลิชชิ่งแอนด์ พริ้นติ้ง จำกัด

นภา จันทร์ตรี, ทิพวรรณ พละสุขสมบัติ, ราตรี พิงกุศล, เรืองอุไร วรรณโก, เบญจพร ประจง, และธนวัฒน กันภัย. (2563). แนวทางการจัดการขยะอย่างยั่งยืนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในเขต เทศบาลตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 14(3), 25-31.

ปิยวัฒน์ โพชะกะ และกาญนิถา ครองธรรมชาติ (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการมูลฝอยชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงโสกพระ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น, 18(2), 56-57.

รังษิยา กมลพนัส, พิศสมร เหลืองทองคำ, นวกร อุ่นจิตติ, อนวรรณ นาคงาม, อมรรัตน์ ทองน้อย. (2556). ผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตราการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมระยะดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน พ.ศ. 2556 โครงการบ้านเอื้ออาทร บางโฉลง ระยะที่ 3/1 และ 3/2 สมุทรปราการ. รายงานบริษัทเอเชียแล็ปแอนด์คอนซัล แตนท์จำกัด.

สมจินตนา คุ้มภัย (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชาวชุมชนในองค์การบริหารส่วนตำบลต้นแบบ ที่บูรณาการแผนชุมชนสู่แผนพัฒนาท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(2), 733-748.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564).

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2562). แผนปฏิบัติการลด และคัดแยกขยะมูลฝอย สำนักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.

สันชัย พรมสิทธิ์. (2562). การจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(1), 67-81.

สุรสิทธิ์ เพชรปิตุพงษ์ และสุวรัฐ แลสันกลาง (2560). การประเมินโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอย บ้านวังหม้อ เทศบาลตำาบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงราย, 10(3), 131-142.

อมร อภิสิทธิ์อมร. (2561). พฤติกรรมและการรับรู้ของประชาชนในการจัดการขยะครัวเรือน: กรณีศึกษา คอนโดมิเนียมในเขต กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ จัดการภาครัฐและภาคเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Zuber-Skerrit, O. (1995). Models for Action Research. In: Prindren S and Passfield R (Eds). Moving on: Creation Applications of Action Learning and Action Research. Queensland, Australia: Action Research, Action Learning and Process Management.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31