การจัดบริการงานเวชระเบียนผู้ป่วยนอกในรูปแบบ New normal ของหน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • นภชา สิงห์วีรธรรม สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ปิยธิดา แซ่ลิ้ม วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
  • วรรณฤดี หาดเพชร วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
  • สมเพิ่ม สุขสมบูรณ์วงศ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก

คำสำคัญ:

การแพทย์วิถีใหม่, การจัดบริการเวชระเบียนผู้ป่วยนอก, นวัตกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานเวชระเบียนผู้ป่วยนอกก่อนเกิดการระบาดของโรค COVID-19  ผลกระทบต่อการให้บริการในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19  รูปแบบของการจัดบริการงานเวชระเบียนผู้ป่วยนอกในรูปแบบวิถีใหม่ (New normal) และศึกษาความต้องการนวัตกรรมที่สนับสนุนงานเวชระเบียนผู้ป่วยนอกในการดำเนินงานตามรูปแบบวิถีใหม่ของหน่วยบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในจังหวัดราชบุรี ผู้ให้ข้อมูลถูกเลือกแบบเฉพาะเจะจงจาก 8 โรงพยาบาล จำนวน 8 คน ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานเวชระเบียนผู้ป่วยนอกที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดบริการการแพทย์วิถีใหม่ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 มีผลกระทบต่อการจัดบริการเวชระเบียนผู้ป่วยนอกที่ถือได้ว่าเป็นด่านหน้าของการจัดบริการ ในการให้บริการมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และได้รับข้อมูลของผู้บริการไม่ครบถ้วน สถานบริการมีการดำเนินการระหว่างการระบาดในรูปแบบที่เน้นการปฏิบัติการตามมาตรการการป้องกันโรคและมีการปรับรูปแบบบริการให้เกิดความเหมาะสมกับรูปแบบการแพทย์วิถีใหม่ โดยลดขั้นตอนในการให้บริการ ให้บริการแบบ One stop service  จัดบริการตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และมีมาตรการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพก่อนการรับบริการ นวัตกรรมการจัดบริการเวชระเบียนผู้ป่วยนอกควรพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถลดขั้นตอนการจัดทำเวชระเบียน ลดการสัมผัสตัวต่อตัว เพิ่มความเร็วของการบริการ มีความปลอดภัยของข้อมูล และผู้รับบริการพึงพอใจ

การให้บริการเวชระเบียนช่วงของการระบาดโรคอุบัติใหม่ควรมีการดำเนินการป้องกันการติดเชื้อทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการที่ควรนำนวัตกรรมการลดการสัมผัสเข้ามามีส่วนร่วมในการให้บริการ

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางปฏิบัติการปรับปรุงรูปแบบบริการการบริการดูแลรักษาผู้ป่วยนอก (OPD) ในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19. สืบค้นวันที่ 27 มิถุนายน 2564 จาก http://dmsic.moph.go.th/index/detail/8378

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 Coronavirus Disease 2019. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2564 จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file /g_km/handout001_12032020.pdf

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงาน COVID-19 ประจำวัน ข้อมูลประจำประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2564 จาก https://data.go.th/dataset/covid-19-daily.

เกียรติขจร โฆมานะสิน. (2550). LEAN: วิถีแห่งการสร้างคุณค่าสู่องค์กรณ์ที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

ชุติพร รัตนพันธ์ และ ปณิธาน พีรพัฒนา. (2559). การปรับปรุงกระบวนการให้บริการลดการรอคอยโดยใช้แนวคิดลีนและการจำลองสถานการณ์: กรณีศึกษาคินิคทันตกรรม จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตการจัดการ มข, 9(1), 135-150.

งานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี. (2560). ข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุข จังหวัดราชบุรี. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2564 จาก http://www.rbpho.moph.go.th/upload- file/doc/files/012218-1528-2871.pdf

ธานินทร์ สนธิรักษ์. (2563). การสื่อสารการแพทย์ออนไลน์ในยุค COVID-19. วารสารกรมการแพทย์, 46(1), 252-254.

นภชา สิงห์วีรธรรม และนพมาส เครือสุวรรณ. (2563). ความจำเป็น กลุ่มเสี่ยง และการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูและดูแลประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นอกสถานพยาบาล: กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 7(3), 1-9.

นภชา สิงห์วีรธรรม, วัชรพล วิวรรศน์ เถาว์พันธ์, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, เฉลิมชัย เพาะบุญ และสุทธิศักดิ์ สุริรักษ์. (2563). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของทันตาภิบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(2), 104-115.

ราชกิจจานุเบกษา. (2563). พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558. ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563.

วิชชุลดา ภาคพิเศษ และจันทรรัตน์ สิทธิวรนันท์. (2562). การนำระบบลีนมาประยุกต์ใช้ในงานบริการผู้ป่วยนอกของศูนย์บริการสาธารณสุข 68 สะพานสูง. Thai Journal of Pharmacy Practice, 11(1), 18-31.

แสงเทียน อยู่เถา. (2556). การวัดสมรรถนะงานเวชระเบียนและบุคลากรด้านเวชระเบียนในโรงพยาบาลของประเทศไทย. การประชุมวิชาการประจำปีสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2556 วิกฤติหรือโอกาสสำหรับไทย, 21-22 กุมภาพันธ์ 2556. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม: เอเชียรุ่งโรจน์.

แสงเทียน อยู่เถา. (2560). การบริหารงานเวชระเบียน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Koo, P., Jang , J., Nielsen, K. B. & Kolker, A. (2010). Simulation-Based Patient Flow Analysis in an Endoscopy Unit. Proceedings of Health Care Management (WHCM), 2010 IEEE Workshop on Date 18-20 Fep. 2010, (pp.1-6). Venice: Italy

Lum, B. X., Liu, E. H., Archuleta, S., Somani, J., Bagdasarian, N., Koh, C. S. et al. (2020). Establishing a New Normal for Hospital Care: A Whole of Hospital Approach to Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). Clinical Infection Disease. Ciaa 1722, https://doi.org/10.1093/cid/ciaa1722.

Morens, M. D., & Fauci S. A., (2013). Emerging infection Disease: Threats to Human Health and Global Stability. PLOS Pathogens, 9(7), 1-3.

Qu, G. Li., X. Hu, L. & Jiang, G. (2020). An Imperative Need for Research on the Role of Environmental Factors in Transmission of Novel Coronavirus (COVID-19). Environment science & technology, 54, 3730-3732.

Wilson, N., Corbett, S., & Tovey, E. (2020). Airborne Transmission of Covid-19: Guidelines and Governments Must Acknowledge the Evidence and Take Steps to Protect the Public. The BMJ, 370, m3206.

World Health Organization. (2020). Q&A Coronavirus Disease (COVID-19). Retrieved August 30, 2020 from https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/

question-and-answers-hub/q-a-detail/coronavirus-disease-covid-19

Zethaml, V. (1998). Consumer Perceptios of Price Quality and Value: A Means-End Model and Synthesis of Evidence. Journal of Marketing, 52(3), 2-22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31