ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อลดความรุนแรงของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ในผู้สูงอายุเพศหญิงโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองบ้านดุง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา คำมะทิตย์ Boromarajonani College of Nursing Udonthani
  • ศศิโสม พงษ์เมธา โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง
  • ฐิติมาพร นวลสิงห์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง
  • นภชา สิงห์วีรธรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก สถาบันพระบรมราชชนก
  • กิตติพร เนาว์สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่, การออกกำลังกาย, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อลดความรุนแรงของการการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุเพศหญิงโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองบ้านดุง  ต.ศรีสุทโธ  อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อลดความรุนแรงของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ประกอบด้วย 5 ท่า โดยฝึกปฏิบัติ ท่าออกกำลังกายทำท่าละ 10 ครั้ง เช้า เที่ยง เย็น และบันทึกลงในสมุดบันทึกโปรแกรมการออกกำลังกายในระยะเวลา 8 สัปดาห์ และการทดสอบด้วย The 1 Hour Pad test ประเมินปริมาณของปัสสาวะที่เล็ดราด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Wilcoxon Signs Rank test ผลการวิจัยพบว่า

กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมจนเสร็จสิ้นโปรแกรมจำนวน 18 คน มีอายุเฉลี่ย 65.27 ปี มีดัชนีมวลกายเฉลี่ย 25.27 กิโลกรัมต่อตารางเมตร มีสถานะภาพสมรส ร้อยละ 66.67 มีประวัติการคลอดบุตรทางช่องคลอด ร้อยละ 66.67 และมีโรคประจำตัว ร้อยละ 66.67 หลังการเข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกาย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีน้ำหนักแผ่นรองซับปัสสาวะ (M=135.72, SD=4.94) น้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (M=160.33, SD=9.91) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (z=-3.725, p<.001)

ควรนำโปรแกรมการออกกำลังกายนี้มาใช้เพื่อป้องกันภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ไปใช้ในประชาชนเพศหญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป เพื่อเป็นการป้องกันภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่และควรส่งเสริมให้บรรจุท่าการออกกำลังกายเหล่านี้ลงไปในการออกกำลังกายปกติ

References

กรกฎ เห็นแสงวิไล, อุบล พิรุณสาร, วิไลวรรณ มณีจักร สโนว์. (2559). ผลการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานต่อคุณภาพ ชีวิตสตรีปัสสาวะเล็ด. Journal of Associated Medical Sciences, 50(2), 209-216.

กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง. (2562). รายงานข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองบ้านดุง. ประจำปี 2562, 10-11.

จิตติมา มโนมัย และอภิชาต จิตต์เจริญ (บรรณาธิการ). (2547). ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในสตรี, กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง

จิรวรรณ อินคุ้ม. (2558). การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ. Journal of Medicine and Health Sciences, 22(1), 58-68.

โชติกา สุจารี, กนกพร สุคำวัง และวณิชา พึ่งชมภู. (2559). ผลของการฝึกบริหารกล้ามเนื้อเชิงกรานแบบผสมผสานต่อความรุนแรงของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุหญิง. วารสารการแพทย์ราชนาวี, 43(3), 1-16.

ธรกนก พุฒศรี. (2549). ผลของโปรแกรมการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เพื่อป้อนกันภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ในสตรีสูงอายุ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ

ปนิฏฐา นาคช่วย. (2559). ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ในผู้สูงอายุ. เวชสารแพทย์ทหารบก, 1(69), 39-44.

พวงทอง รัตน์วิสัย, บัววรุณ ศรีชัยกุล และชาญชัยณรงค์ ทรงคาศรี. (2560). ผลของโปรแกรมการฝึกควบคุมการขับถ่าย ของกระเพาะปัสสาวะและบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานต่อการป้องกันภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ เพศ หญิง ตำบลนาตาล อำเภอท่าคันโท จังหวัด กาฬสินธุ์. วารสารสำนักงานควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 24(1), 47-57.

วันทิน ศรีเบญจลักษณ์ และปณิตา ลิมปะวัฒน์. (2562). ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ในผู้สูงอายุ. วารสารประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(2), 82-92.

วิชัย เอกพลากร. (บรรณาธิการ) (2559). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B., & Anderson, E. R. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed). New Jersey: Pearson Education.

Kobwitaya, K., Bunyavejchevin, S. (2015). 24-Hour Pad Test in Thai Continent Women. Journal of medication Association of Thailand, 98(2), 123-128.

Mayne C. J. & Hilton, P. (1988). Short Pad Test: Standardisation of Method and Comparison with 1-Hour test. Neurology Urodynamics, 7(5), 443-445.

Sampslle, C. M. Wyman, J. F., Thomas, K. K., Newman, D. K., Gray, M., Dougherty, M., & Burns, P. A. (2000). Continence for Woman: A test of A WHONN’s Evidence-Based Protocol in Clinical Practice. Journal of Obstetric, Gynecologic, and Neonatal Nursing, 29, 18-26.

World Health Organization. (2017). Integrated Care for Older People Guidelines (ICOPE) about

Evidence Profile: Urinary Incontinence. Geneva: Switzerland.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31