ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการจัดการเรียนตามแนววิถีใหม่ของวิทยาลัย กับการปฏิบัติตัว ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาวิทยาลัย เทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก
คำสำคัญ:
การรับรู้, การปฏิบัติตน, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, การจัดการเรียนตามแนววิถีใหม่, นักศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจนี้เพื่อศึกษาระดับการรับรู้เกี่ยวกับการสื่อสารเรื่องโรคโควิด -19 และการจัดการเรียนตามแนววิถีใหม่ของนักศึกษา การปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคโควิด -19 ของนักศึกษา และหาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับการสื่อสารเรื่องโรคโควิด -19 และการจัดการเรียนตามแนววิถีใหม่ของวิทยาลัย กับการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคโควิด -19 ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก ที่กำลังศึกษาอยู่ภายในวิทยาลัย ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 195 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ส่วนการรับรู้เกี่ยวกับการสื่อสารเรื่องโรคโควิด -19 =0.90 การรับรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนตามแนววิถีใหม่ของวิทยาลัย=0.943 และการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคโควิด -19=0.925 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า
การรับรู้เกี่ยวกับการสื่อสารเรื่องโรคโควิด -19ของวิทยาลัย การรับรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนตามแนววิถีใหม่ของวิทยาลัย และการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคโควิด -19 ของนักศึกษา อยู่ในระดับมาก (M=3.89, 3.62 และ 4.06 ตามลำดับ การรับรู้เกี่ยวกับการสื่อสารเรื่องโรคโควิด -19 และการรับรู้การจัดการเรียนตามแนววิถีใหม่ของวิทยาลัย มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำมากและต่ำกับการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคโควิด -19 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และ .001
ดังนั้นวิทยาลัยควรมีช่องทางในการสื่อสารแก่นักศึกษา ติดตามการปฏิบัติของนักศึกษาอย่างเคร่งครัด และกำหนดแนวทางติดตามการปฏิบัติของนักศึกษาเพื่อให้มีการปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง รวมทั้งควรให้นักศึกษาติดตามความเคลื่อนไหวสถานการณ์โรคโควิด -19 อย่างต่อเนื่องทุกวัน
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คูมือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการปองกันการแพรระบาดของโรคโควิด 19. นนทบุรี: บริษัท คิว แอดเวอรไทซิ่ง จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้สถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการปิดเรียนด้วยเหตุพิเศษ. สืบค้นจาก https://moe360.blog/2020/03/17/ศธ-สั่งสถานศึกษาทั่วประ/
กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุข เพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 1). นนทบุรี: กระทรวง.
กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคโควิด -19 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) (ฉบับที่ 3) : การปฏิบัติการของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19. สืบค้นจาก https://www.ops.go.th/main /images/2563/muaAdmin/corona/COVID_3.pdf
กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางการดำเนินการเรื่อง โรคโควิด -19 สำหรับสถานประกอบการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีธรรม และนวพร ดำแสงสวัสดิ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคโควิด -19 ในชุมชน ของอาสาสมัตรสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(2), 92-103.
จังหวัดนนทบุรี. (2564). คำสั่งจังหวัดนนทบุรี ที่ 6/2564 เรื่องสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 27). สืบค้นจาก http://www.nonthaburi.go.th/covid19/covid_order_no27.pdf
ตลาดหุ้นไทย. (2564). โควิด-19 ในประเทศครั้งใหม่ อาจกระทบต่อตลาดหุ้นไทยไม่รุนแรงเท่าครั้งก่อน. สืบค้นจาก https://thestandard.co/market-focus-thai-stock-market-2/
นภชา สิงห์วีรธรรม, วัชรพล วิวรรศน์ เถาว์พันธ์, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, เฉลิมชัย เพาะบุญ และสุทธิศักดิ์ สุริรักษ์. (2563). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด -19 (COVID-19) ของทันตาภิบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(2), 104-115.
ปิยะนันท์ ยุญณะโยไทย. (2556). การรับรู้ และทัศนคติ ของผู้บริโภคต่อสื่อกิจกรรมการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชานิเทศศาสตร์สื่อสารการตลาด). กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. (2564ก). ประกาศวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก เรื่องมาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดเรียนในสถานศึกษาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 “ระลอกใหม่”. สืบค้นจาก http://www.kmpht.ac.th/kmphtadmin/web/uploads/pubrelate/7cee869f4a11bbad78b21861c69afa81.pdf
ศิรินภา พูลเกษม. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางเพศสัมพันธ์ กับการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคเอดส์ ของนักศึกษาวิทยาลัยนครราชสีมา. วารสานวิทยาลัยนครราชสีมา, 5(2), 37-42.
Best, J.W. (1977). Research in Education (3 rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc.
Hair, F.J., Black, C.W., Babin, J.B., & Anderson, E.R. (2019). Multivariate Data Analysis. (8th ed). New Jersey: Pearson Education.
Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. (2564). ฉากทัศน์การระบาดโควิดสมุทรสาคร. สืบค้นจาก https://www.hfocus.org/content/2020/12/20685
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Wiersma, W. & G. Jurs, S. (2009). Research Method in Education an Introduction. (9th ed). Massachusetts: Pearson .
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน