ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 ของประชาชนพื้นที่สีแดงเข้ม จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • บุญประจักษ์ จันทร์วิน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
  • จิฑาภรณ์ ยกอิ่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
  • ภัทราภรณ์ เต็งโรจน์นภาพร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง
  • วัลลภา ดิษสระ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันตนเอง, โรคไวรัสโควิด-19, พื้นที่สีแดงเข้ม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความเชื่อด้านสุขภาพ 2) ศึกษาระดับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 และ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 ของประชาชนที่มีอายุ 18-60 ปี ที่อาศัยอยู่ในอำเภอพื้นที่สีแดงเข้ม จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 678 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลแบบออนไลน์ในช่วงเดือนมิถุนายน 2564  ได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .859 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Odds Ratio และสถิติ Multiple Logistic Regression ผลการศึกษาพบว่า

  1. การรับรู้ความรุนแรง (M=4.20, SD=0.44) การรับรู้โอกาสเสี่ยง (M=4.09, SD=0.48) การรับรู้ประโยชน์ (M=4.11, SD=0.44) แรงจูงใจ (M=3.92, SD=0.43) และปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล และการได้รับข้อมูลข่าวสาร (M=3.85, SD=0.40) อยู่ในระดับสูง ส่วนการรับรู้อุปสรรค (M=3.37, SD=0.50) อยู่ในระดับปานกลาง
  2. พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 อยู่ในระดับดี (M=4.17, SD=0.50)
  3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 พบว่า ผู้ที่กำลังศึกษาจะมีพฤติกรรมดีกว่า 3.98 เท่า (ORAdj=3.98, 95%CI=1.45-10.89) เมื่อเทียบกับผู้ที่มีระดับประถมศึกษาลงมา ผู้ที่มีการรับรู้ประโยชน์ระดับสูงจะมีพฤติกรรมดีกว่า 1.92 เท่า (ORadj=1.92, 95%CI=1.14-3.23) เมื่อเทียบกับผู้ที่มีการรับรู้ประโยชน์ระดับต่ำ-ปานกลาง ผู้ที่มีการรับรู้อุปสรรคระดับสูงและปานกลางจะมีพฤติกรรมดีกว่า 29.66 เท่า (ORAdj=29.66, 95%CI=3.77-233.02) และ17.69 เท่า (ORAdj=17.69, 95%CI=2.29-136.54) เมื่อเทียบกับผู้ที่มีการรับรู้ระดับต่ำ ผู้ที่มีแรงจูงใจระดับสูงจะมีพฤติกรรมดีกว่า1.88 เท่า (ORadj =1.88, 95%CI=1.24-2.84) เมื่อเทียบกับผู้ที่มีแรงจูงใจในระดับปานกลาง

ควรนำแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพไปประยุกต์ใช้กับประชาชน เช่น การสร้างพลังในชุมชน การสร้างความสามารถในตนเอง ร่วมไปถึงการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 และควรให้หน่วยงาน เช่น อบต. มีส่วนผลักดันให้ประชาชนมีความเชื่อด้านสุขภาพที่ถูกต้อง

References

BBC NEWS. (2020). Robert Cuffe. Coronavirus death rate: What are the chances of dying? England: London.

Becker, M.H., & Maiman, L.A. (1975). The health Belief Model:Origins and Correlation in Psychological Theory. Health Education Monography, 2. winter : 336-385.

Best, J.W. (1977). Research in Education. (3nded). Englewod Cliffs: Prentice-Hall.

Chaimay, B. (2013). Sample Size Determination in Descriptive Study in Public Health. Thaksin University Journal, 16(2), 9-18.

Chomeya, R. & Phansri, G. (2020). New Corona Virus (CoVid-19) Disease Prevention Behaviors Awareness: Comparison Between Ages. Journal of the Humanities and Social Sciences Mahasarakham University, 39(6), 71-82.

Department of Disease Control. (2021). Coronavirus disease 2019 situation report. Ministry of Public Health. Nonthaburi. (in Thai)

Government Gazette. (2020). Announcement of the Ministry of Public Health: The Significance of Dangerous Communicable Diseases (No.3). Ministry of Public Health. Nonthaburi.(in Thai)

Glomjai, T., Kaewjiboon, J. & Chachvarat, T. (2020). Knowledge and Behavior of People regarding Self-care Prevention from Novel Coronavirus 2019 (COVID-19). Journal of Nursing, Public Health, and Education, 21(2), 30-39.

Khumsaen, N. (2021). Knowledge, Attitudes, and Preventive Behaviors of COVID-19 among People Living in Amphoe U-thong, Suphanburi Province. Journal of Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi Province, 4(1), 33-48.

Moonti, J. (2021). Factors Influencing Preventive Behavior of Coronavirus Disease 2019 Among Village Health Volunteers in Kong Krailat District, Sukhothai Province. The Office of Disease Prevention and Control 9, Nakhon Ratchasima Joural, 27(2), 5-14.

Nakhon Si Thammarat Provincial Public Health Office. (2021). Coronavirus disease 2019 situation report. Nakhon Si Thammarat. (in Thai)

Nawsuwan, K., Singweratham, N., Waichompu, N. & Chayakul, K. (2020). The Successful Implementation of Novel Coronavirus (COVID-19) in the Community of Village Health Volunteers (VHVs) in Thailand. Princess of Naradhiwas University Journal, 12(3), 195-212.

Prutipinyo, C. (2020). Surveillance, prevention, and control measures of COVID-19 pandemic. Public Health policy & Laws Journal, 6(2), 467-458.

Singweratham, N., Thaopan, W.W, Nawsuwan, K., Pohboon, C. & Surirak, S. (2020). Perception and preventive behaviors on the coronavirus disease-2019 (COVID-19) among dental nurses under the Ministry of Public Health. Journal of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute, 14(2), 104-115.

Waehayi, H. (2020). Severity Perception and Preventive Behavior on the Coronavirus disease – 2019 among Youth at Sateng-Nok Subdistrict, Muang District, Yala Province. Academic Journal of Community Public Health, 6(4), 158-168.

Weerakhachon, P., Kwanpichit, C., Nawsuwan, K. & Singweratham, N. (2020). Perception and Preventive Behaviors on the Coronavirus Disease-2019 (COVID-19) among Personnel in Medical Operations at Southern Border Provinces Medical Center. Thai Journal of Public Health and Health Sciences, 3(3), 106-117.

World Health Organization. (2020). Coronavirus disease 2019 (COVID-19) situation report – 71. Geneva: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29