ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. 1ฟ. ของพระภิกษุสงฆ์และสามเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรม ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, พระภิกษุสงฆ์, สามเณรบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. 1ฟ. ของพระภิกษุสงฆ์และสามเณร โรงเรียนพระปริยัติธรรม ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น จำนวน 240 รูป สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบทดสอบ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.67-1 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ และ พฤติกรรมสุขภาพ ด้วยการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้เท่ากับ .89 และ .93 ตามลำดับ ตรวจสอบความเที่ยงของแบบทดสอบโดยใช้วิธี KR-20 ได้ค่าเท่ากับ .71 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Fisher’s Exact Test ผลการวิจัยพบว่า
- พระภิกษุสงฆ์และสามเณรมีความรอบรู้ ด้านการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ ด้านการสื่อสารเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญทางสุขภาพ ด้านการจัดการเงื่อนไขของตนเองเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ด้านการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ และด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง อยู่ในระดับปานกลาง ด้านความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามหลัก 3อ. 2ส. 1ฟ. อยู่ในระดับต่ำ
- ระดับพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. 1ฟ. ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง
- ความรอบรู้ด้านการจัดการเงื่อนไขของตนเองเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. 1ฟ. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=.047)
ข้อค้นพบนี้เป็นประโยชน์โดยตรงสำหรับครู พระผู้ใหญ่ในวัดหรือเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข ในการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. 1ฟ. ให้กับพระภิกษุสงฆ์และสามเณร
References
คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 กระทรวงสาธารณสุข. (ร่าง) แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. ค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2560 จาก http://wops.moph.go.th/ops/oic/data/20161115144754_1_แผน12.2559.pdf
คณิศฉัตร์ วุฒิศักดิ์สกุล. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์ในเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ, 24(1), หน้า 71-82
ชรินทร์ ห่วงมิตร, นเรศน์ ฐิตินันทิวัฒน์ และธวัชชัย ปานสมบัติ. (2560). พัฒนารูปแบบการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพเครือข่ายพระภิกษุสงฆ์ในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์. (รายงานการวิจัย ฉบับที่ 1). เทศบาลนครสวรรค์: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์.
นพมาศ โกศล และคณะ. (2561). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ของกลุ่มวัยทำงาน สำหรับหมู่บ้านจัดการสุขภาพ: กรณีศึกษาชุมชนบ้านวังหิน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 10. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต. (2558). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพองค์รวมของพระสงฆ์ในจังหวัดขอนแก่น โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่าย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. 22(2), 117-129
พระสุกสะหวัน บุดขะหมวน. (2559). การดูแลสุขภาพตนเองของพระสงฆ์ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พิทยา ไพบูลย์ศิริ. (2561). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ของผู้บริหารภาครัฐ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 8(1), หน้า 97-106.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. (2562). กรมควบคุมโรค แนะประชาชนถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ให้ถูกหลักโภชนาการ ลดอาหารหวาน มัน เค็ม. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2562, จาก http://odpc7.ddc.moph.go.th/archives.php?no
แสงเดือน กิ่งแก้ว, นุสรา ประเสริฐศรี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2558 ; 25(3) : 43-54.
ศิริวรรณ ชอบธรรมสกุล. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของนักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการวิจัย, 8(1), 116-123.
อรุณ จิรวัฒน์กุล . (2556). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
Board on Neuroscience and Behavioral Health, Institute of Medicine. (2004). Health literacy: a prescription to end confusion. Washington, DC, National Academies Press.
Pander, R and Verma, M.R. (2008). Samples Allocation in Different Strata for Impact Evaluation of Developmental Programme. Rev. Bras. Biom., São Paulo, v.26,n.4, p.103-112.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน