ผลกระทบจากวิกฤติโรคโควิด-19 ต่อความเครียดและการจัดการความเครียดของประชาชน กลุ่มวัยทำงาน อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ไมตรี ธนาวัฒนะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลาดปลาเค้า
  • อิทธิพล ดวงจินดา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • วาสนา ธนาวัฒนะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลบ้านลาดปลาเค้า

คำสำคัญ:

ผลกระทบวิกฤติโรคโควิด-19 ความเครียด การจัดการความเครียด วัยทำงาน จังหวัดสุพรรณบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากวิกฤติโรคโควิด-19 ต่อความเครียด และการจัดการความเครียดของประชาชนกลุ่มวัยทำงาน อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนกลุ่มวัยทำงาน จำนวน 420 คน จากการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยความเครียด และการจัดการความเครียด ซึ่งสร้างโดยใช้ทฤษฎีแนวคิดด้านชีวภาพ จิตใจ และสังคม ของ Engel และการจัดการกับความเครียดตามแนวคิดการเผชิญความเครียด ได้ค่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (S-CVI) เท่ากับ .973 และได้ค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถามทั้งฉบับ โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .940 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลกระทบจากวิกฤติโรคโควิด-19 ต่อความเครียดของกลุ่มประชาชนวัยทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=2.48, SD=0.09) ระดับความเครียด โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=40.25, SD=13.16) และการจัดการความเครียด (M=2.83, SD=0.11) โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
  2. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความเครียดและการจัดการความเครียดผลกระทบจากวิกฤติโรคโควิด-19 ของประชาชนกลุ่มวัยทำงาน โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง (r=0.46, p<.001) ส่วนระดับความเครียดและการจัดการความเครียด โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับต่ำมาก (r=0.19, p<.001)

ดังนั้น ควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมเพื่อการจัดการความเครียดซึ่งเป็นผลกระทบจากวิกฤติโรคโควิด-19 ของประชาชนกลุ่มวัยทำงาน ในด้านการปรับตัว และการแก้ไขปัญหาเมื่อเผชิญความเครียด สามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กนกอร เปรมเดชา. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพการทำงาน การจัดการความเครียด และระดับความเครียดของ พนักงานมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2561). อาการซึมเศร้าปัญหาที่ปรึกษาผ่าน Hotline 1323 มากที่สุดในปี 2560. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563 จาก http://www.prdmh.com.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q). สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563 จาก https://www.dmh.go.th/test/9q/.

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2563 จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ind_world.php.

กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์, เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ, ลำพึง วอนอก, สุพัฒน์ อาสนะ, วรรณศรี แววงาม, กุลธิดา กิ่งสวัสดิ์ และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดต่อการระดับของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 14(2), 138-148.

กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข. (2558). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการความเครียดสำหรับวัยทำงาน. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2563 จาก http://www.hed.go.th/linkhed/file/261.

กอบหทัย สิทธิรณฤทธิ์, นนทภรณ์ รักศิลธรรม, กมลเนตร วรรณเสวก, และสุชีรา ภัทรายุตวรรตน์. (2561). ความเครียดใน การทำงาน กลวิธีการเผชิญปัญหาความเครียด และคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลทั่วไป. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 35(2), 163-176.

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, (2563). ความรู้ทั่วไปสำหรับประชาชน จิตเวชทั่วไป: ความเครียด. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2565 จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/ generalknowledge/general/05142014-1901.

คณิน จินตนาปราโมทย์ และพรชัย สิทธิศรัณย์กุล. (2562). สรีรวิทยาความเครียดจากการทำงานและการแก้ปัญหาเมื่อเผชิญความเครียดในอาชีพแพทย์. J Med Health Sci, 26(2), 112-123.

จารุวรรณ ประภาสอน. (2564). ความเครียดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากร โรงพยาบาลแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 15(38), 469-483.

ชุติมา พระโพธิ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด การจัดการความเครียด และคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูในจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ธนภัทร ชุมวรฐายี และกรเอก กาญจนาโภคิน. (2563). การจัดการความเครียดมีความสัมพันธ์กับความเครียดในช่วงวิกฤติไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2565 จาก http://www.vl-abstract.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/125.

ธัญพิชชา กัยวิกัยโกศล. (2559). การจัดการความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 22. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2565 จาก https://mmm.ru.ac.th/ MMM/IS/mlw12/6114961046.pdf.

นันทวดี อุ่นละมัย, กฤษฏ์ เติมทิพย์ทวีกุล และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2561). การจัดการความเครียดในการทำงานเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุดของบุคลากร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 5(1), 104-117.

ปริศนา เหรียญทอง และธนศักดิ์ เทียกทอง. (2561). การสำรวจความเครียดและสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดของผู้ประกอบการร้านยาในปัจจุบัน: กรณีศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 14(4), 50-67.

มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา. (2563). รายงานฉบับสมบูรณ์การวิจัย เรื่องการประเมินความเสียหาย ผลกระทบและการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นต่อภาวะโรคระบาด COVID-19. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563 จาก https://www.ldi.or.th/wp-content/uploads/2020/11/Research_COVID.pdf.

วรรณกร พลพิชัย และจันทรา อุ้ยเอ้ง. (2561). การศึกษาความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอเมือง จังหวัดตรัง. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 10, 94-106.

วันทนา เนาว์วัน และอารมณ์ เอี่ยมประเสริฐ. (2563). การจัดการความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคุณภาพชีวิต ในการทำงาน. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(1), 223-232.

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 5. (2563). ฐานข้อมูลกลางประชากรไทย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2563 จาก https://hpc5.anamai.moph.go.th/

เอกลักษณ์ แสงศิริรักษ์ และสิรินรัตน์ แสงศิริรักษ์. (2563). ความเครียดและอารมณ์เศร้าของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 65(4), 400-408.

Best, J. W. (1981). Research in Education. (3rd ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice. Hall Inc.

Black, K. (2010). Business Statistics for Contemporary Decision Making. (6th ed.). USA: Wiley.

Caver, S. C., Scheier, F. M. & Weintraub, K. J. (1989). Assessing Coping Strategy: A Theoretically Based Approach. Journal of Personality and Social Psychology, 56, 267-283.

Engel, G. L. (1977a). The Need for a New Medical Model: A Challenge for Biomedicine. Science, 196, 129-136.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Mahutnirunkul, S., Pumpaisanchai, W. & Tapanya, P. (1997). The Construction of Suanprung Stress Test. Suanprung Journal, 13, 1-20.

Rodríguez-Rey, R., Garrido-Hernansaiz, H. & Collado, S. (2020). Psychological Impact and Associated Factors during the Initial Stage of the Coronavirus (COVID-19) Pandemic among theGeneral Population in Spain. Front Psychol, 11, 1540.

Wiersma, W. & G. Jurs, S. (2009). Research Method in Education an Introduction. (9th ed). Massachusetts: Pearson .

World Health Organization - WHO. (2020). Coronavirus Disease (COVID-2019), Situation Reports. Retrieved April 16, 2020 from https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/situation-reports/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30