การพัฒนาโปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลในการกำกับการรับประทานยารักษาโรคเรื้อรัง ของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • พัฒนา พรหมณี คณะสาธารณสุขศาสตร์ สถาบันวิทยาการประกอบการแห่งอโยธยา
  • ศรีสุรางค์ เอี่ยมสะอาด คณะสาธารณสุขศาสตร์ สถาบันวิทยาการประกอบการแห่งอโยธยา
  • รุ่งทิวาห์ สุขารมย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ สถาบันวิทยาการประกอบการแห่งอโยธยา
  • สุเทพ วรรณา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: โปรแกรมการมีส่วนร่วม, ผู้ดูแลผู้ป่วย, ยารักษาโรคเรื้อรัง, โรคเรื้อรัง, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลในการกำกับการรับประทานยารักษาโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุในชุมชนของจังหวัดเพชรบูรณ์ 2) ประเมินความเหมาะสมของโปรแกรม และ3) ประเมินผลการทดลองใช้โปรแกรม การวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับการสร้างและพัฒนาโปรแกรม โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เจาะจงเลือกจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 40 คน และ ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงปริมาณ สำหรับการประเมินความเหมาะสมของโปรแกรม โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เจาะจงเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 25 คน และการทดลองใช้โปรแกรม โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ดำเนินการทดลองเป็นรายคู่  ของผู้ดูแลและผู้สูงอายุ กำหนดขนาดจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ G*Power Version 3.1.9.4 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คู่ สุ่มด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามประเมินความเหมาะสมของโปรแกรม และแบบสอบถามการรับประทานยา ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า

  1. โปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลในการกำกับการรับประทานยารักษาโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 1) คู่มือและเอกสารประกอบการใช้โปรแกรม 2) วัตถุประสงค์ 3) หลักการ 4) ขั้นตอนของโปรแกรม 5 ขั้นตอน ได้แก่ 4.1) การสร้างสัมพันธภาพ 4.2) ให้ความรู้ 4.3) ชี้แจงพฤติกรรมการรับประทานยาที่ไม่เหมาะสมและผลกระทบจากยา 4.4) สะท้อนกลับ และ 4.5) สรุปบทบาท 5) การนำไปใช้ 6) การประเมินผล และ 7) เงื่อนไขที่นำไปสู่ความสำเร็จ
  2. โปรแกรมนี้มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (M=4.69, SD=0.25)
  3. ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการรับประทานยาที่ถูกต้องแตกต่างจากก่อนเข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.01)

ผลการศึกษาครั้งนี้อาจสามารถนำไปกำหนดแนวทางในการดูแลผู้สูงอายุที่ปุวยเป็นโรคเรื้อรังในชุมชนโดยส่งเสริมให้ครอบครัสามารถนำผลการวิจัยไปกำหนดแนวทางในการดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังในชุมชนโดยส่งเสริมให้ครอบครัวหรือผู้ดูแล มีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุให้มีพฤติกรรมการรับประทานยาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

References

Apiratanawong S. (2008). Self Medication management in Older Adults. Bangkok: Mahidol University. (in Thai)

Chaichanawirote U & Vithayachokitikhun N. (2015). Medication Use Behaviors among the Older Thai Adults. Journal of Nursing and Health Science. 9(1), 32-46. (in Thai)

Chantharaowat S, Supho S, Bannan N. (2014). Developing a Model by Community Involvement for Caring of Patients with Chronic Diseases: a Case Study of Kaedam Contracting Unit for Primary Care, Mahasarakham Province. Journal of Health Science. 23(3), 394-402. (in Thai)

Cohen J. (1992). Quantitative methods in psychology: A power primer. Psychol Bull. 112(1), 155-169.

Department of Disease Control. (2020). Ministry of Public Health. Report of NCDs, Diabetes, Hypertension, and related risk factors in 2019. Bangkok: Aksorn Graphic and Design. (in Thai)

Department of Elderly Affairs. (2019). Resolutions of the National Assembly of the Elderly in 2019. Bangkok: Amarin Printing and Publishing. (in Thai)

Institute for Population and Social Research. (2017). Thailand meter. Nakhon Pathom: mahidol University. Retrieved December 2, 2020. from: http://www.ipsr.mahidol. ac.th/.

Jindarattanaporn N. (2020). Downfall fertility in Thailand and Asian countries. journal of social science & humanities. 46(2), 48-85. (in Thai)

Kongkaew C, Noyce, PR, & Ashcroft DM. (2008). Hospital admissions associated with adverse drug reactions: A systematic review of prospective observational studies. The Annals of Pharmacotherapy. 42(7), 1017-1025. (in Thai)

Leetaweesuk J, Makee P, Charachan P, Yana P, Jindawattanawong P, Thiratanyaboon L, Rattanapanich N, & Thanitkunsarn O. (2013). Drug use behaviors of elderly patients with chronic disease in Chiang-Tong community Rahang Sub-District, Muang-Tak District, Tak Province. Phitsanulok: Naresuan University. (in Thai)

Naiyapatana W. (2010). Health Problems, Medicine-Used Problems, and Medicine-Used Behaviors among Elderlyin the Community of Phramongkutklao Hospital Personnel’s Residence. Journal of Nursing and Education. 3(1), 2-14. (in Thai)

Nongluck Wiratchai. (2003). Judging learning outcomes: grades and grading in the new evaluation of learning-based learning. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Phetchabun Hospital Non-Communicable Disease Clinic. (2016). Statistical report on recurrence within 28 days. Phetchabun: Phetchabun Hospital. (in Thai)

Phetchabun Provincial Public Health Office. (2017). annual report summary Illness with non-communicable diseases important 2017. Phetchabun: Phetchabun Provincial Public Health Office. (in Thai)

Prasartkul P. (2019). Situation of the Thai Elderly 2018. Bangkok: Amarin Printing and Publishing. (in Thai)

Piriyapan P, Klinwichit W, Prongnamchai S, Dinchuthai P, Chaivanit P. (2018). Development Model for Family and Community Participatory Health Care in Elderly with Diabetic Mellitus. The Public Health Journal of Burapha University. 13(1), 45-55. (in Thai)

Promdee A. (2009). Development of nursing practice to promoting cooperation in drug use for the diabetes mellitus elderly, Outpatient Department, Mukdahan Hospital. Khon Kaen: Khon Kaen University. (in Thai)

Prommanee P., Krasang P., Eamsa-ad S. (2020). Concept of Knowledge and Construction of Knowledge Test in Public Health Operation. Apeit Journals. (in Thai)

Saendaeng N, Potisupsuk C. (2018). Effect of Drug use Behaviors Promotion Program in Elderly Patients with Non-Communicable diseases Khemarat District, Ubon Ratchatani Province. Journal of Nursing and Health Care. ;36(3), 33-41. (in Thai)

Sebern, M. (2005). Shared Care elder and family member skills used to manage burden. Journal of Advanced Nursing. 52(2), 170-179.

Vivian WYL, Kathy KWP, Ka ChH, Jennifer CKK, Siu LL, Doris SFY. (2013). Medication adherence: Is it a hidden drug-related problem in hidden elderly. Geriatrics Gerontology International. 13(4), 978-985.

Yeenang T. (2012). Drug use Behaviors of the Patient with Hypertension in Mae Hoingeon Sub-district, Doi Saket District, Chiang Mai Province. Chiang Mai: Chiang Mai University. (in Thai)

Yuychim P, Niratharadorn M, Siriumpunkul P, Buaboon N. (2018). Effects of a Family Participation Program in Managing Drug Use Behaviors among Older Adults with Chronic Disease in Phun Phin Community. Journal of Public Health. 48(1), 44-56. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30