ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดวัณโรคในประชากรกลุ่มเสี่ยงจังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • สิปปภาส เพ็งพะยม โรงพยาบาลแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง

คำสำคัญ:

วัณโรคปอด, ปัจจัยเสี่ยงวัณโรค, ดัชนีมวลกายต่ำ

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอดกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงเขตจังหวัดลำปางช่วงปีงบประมาณ 2559 - 2561 กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ขึ้นทะเบียนรักษากับโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเขตจังหวัดลำปาง จำนวน 1,726 ราย เครื่องมือที่ใช้คือบันทึกข้อมูลจากฐานเวชระเบียนโรงพยาบาล ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง .67-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า Chi-square ผลการวิจัยพบว่า

วัณโรคปอดกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงเขตจังหวัดลำปางช่วงปีงบประมาณ 2559-2561 ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 73.70 อายุเฉลี่ย 57 ปี ส่วนใหญ่อายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป ร้อยละ 55.80 น้ำหนักตัวเฉลี่ย 49 กิโลกรัม มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เฉลี่ย 18.89 มีโรคประจำตัวส่วนใหญ่ ได้แก่ โรคเบาหวาน ร้อยละ 12.50     โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 7.10 และการติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 6.70 ประเถทผู้ป่วยรายใหม่ ร้อยละ 94.70 ประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 30.90 ประชาชนไทย ร้อยละ 94.80 เป็นประชากรที่มีโรคประจำตัวเสี่ยงต่อวัณโรค ร้อยละ 45.80 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นวัณโรคปอด คือ ดัชนีมวลกาย (BMI) และสถานภาพเป็นผู้ต้องขังในเรือนจำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ .001 ตามลำดับ

ดังนั้นสถานพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ควรให้ความสำคัญกับประชากรหรือผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวลดลง ค่าดัชนีมวลกายต่ำลงหรือต่ำกว่าเกณฑ์ ร่วมกับอาการแสดงของวัณโรคปอด เช่น ไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์ เสมหะมีเลือดปน เจ็บอก มีไข้ต่ำ ๆ ช่วงเย็นจนถึงกลางคืน ให้รีบเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็วเพื่อจะได้ลดความรุนแรงของตัวโรค และลดอัตราการเสียชีวิต

References

Captain, A. (2019). Factor Associated with Provider’s Delay of Diagnosis for Pulmonary Tubercu-Losis Patients Chiang Rai Prachanukroh Hospital, Muang, Chiang Rai. Journal of Family Care and Family Medicine (PCFM), 2(3), 56-65

Division of Tuberculosis. (2018). National Tuberculosis Control Programme Guideline, Thailand, 2018. Bangkok: Division of Tuberculosis. Department of Disease Control. Ministry of Health

Imduang, K., Sophawang, N., & Choolue. (2018). Model of Screening TB in Prison in Health Ser-Vice Region 11. Journal of Disease Prevention and Control: DPC. 2 Phitsanulok, 5(3), 1-14.

Intralawan, D., & Sriwongpan, P. (2019). Risk Factors for Pulmonary Tuberculosis in type II Dia-betes Patient in Primary Care Unit at Chiang Rai Prachanukroh Hospital. Chiangrai Medi-cal Journal, 11(1), 9-18.

Khrutmuang, B. (2020). Study of the Situation and Patterns of New Pulmonary Tuberculosis PaTients. Thong Saen Khun Hospital. Uttaradit. Journal of Disease Prevention and Con-trol: DPC. 2 Phitsanulok, 7(1), 33-43.

Khuancharee, K., Suggaravetsiri. P., & Trinnawoottipong. (2016). Factors Associated with Smear Positive Pulmonary Tuberculosis among Diabetes Mellitus Patients in Thailand: A Meta-

Analysis. Journal of the office of DPC 7 Khon Kaen, 23(3), 1-11.

Kittichantharophat, C. (2019). Risk Factors Associated with Death among New Patients with Pul-Monary Tuberculosis in Lampang Province. Academic Journal of Community Public Health, 5(3), 74-82.

Mungkhetklang, V., & Sopajit, S. (2017). Effectiveness of Elderly Tuberculosis Screening form in Ban Phai Hospital. Ban Phai District. Khon Kaen Province. Journal of the office of DPC 7

Khon Kaen, 24(1), 58-70.

Phukwapee, D., & Wattanatorn. (2019). A Prevalence Survey for Pulmonary Tuberculosis among Prisoners in the Health Region 4. 2017. Journal of Medical and Public Health Region 4,

(2), 50-58.

Regional Health 1 Office. (2018). Provincial Government Inspection Report Form, Budget Year 2018. Group 2 Health Service System Development. Topics: Development of Main Policy, Indicators and Success Rate of Treatment for New Pulmonary Tu-ber culosis Patients. Chiangmai: Regional Health 1 Office. [online]. Available from: https://www.rh1.go.th/web/planfda2.php/pdf.

Suapumee, N. (2013). The Relationship Between Personal Factors, Knowledge and Lung TuberCulosis Preventive Behaviors of People in Suankleau Sub District. Ban Pong District. Ratchaburi Province. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 23(2), 79-93.

Theeratrakoolchai, O., & Chaivatcharaporn, K. (2019). Prevalence of Pulmonary Tuberculosis and Associated Factors Among Hospital Personnel in Samutprakarn Hospital During 2014-2018. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand, 9(2), 167-178.

Trakulkajornsak, P., & Kessomboon, P. (2020). Factors Associated with Pulmonary Tuberculosis among Diabetes patients in Ban Fang Hospital, Khon Kaen Province. Srinagarind Medi-cal Journal, 35(5), 523-529.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30