ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเข้ารับบริการการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล : กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • วารุณี มะรุมดี มหาวิทยาลัยราชภฏสงขลา
  • จีราพัชร์ พลอยนิลเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • กัลยา ตันสกุล มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

คำสำคัญ:

การตัดสินใจของประชาชน, บริการด้านการแพทย์แผนไทย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเข้ารับบริการด้านการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 11 แห่ง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา จำนวน 138 ราย เลือกตัวอย่างโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน หาค่าความตรงเชิงเนื้อหาโดยค่าดัชนีความสอดคล้อง ได้ค่าความสอดคล้องตั้งแต่ 0.67-1.00 หาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านการรับรู้คุณภาพ และด้านการเข้าถึงบริการการแพทย์แผนไทยมีความสัมพันธ์ทางบวก มีทิศทางความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกัน กับการตัดสินใจรับบริการการแพทย์แผนไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.173 และ 0.522 สำหรับ ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์และการป้องกันโรคไม่มีความสัมพันธ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควรพัฒนาคุณภาพการให้บริการการแพทย์แผนไทยโดยส่งเสริมและให้ความสำคัญเกี่ยวกับบุคลากร ขั้นตอนการให้บริการ การประชาสัมพันธ์ และการจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพให้เพิ่มขึ้น และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนและจัดระบบบริการให้สิทธิการรักษาแก่ประชาชนทั่วไป ให้สามารถเข้าถึงระบบบริการแพทย์ทางเลือกเพิ่มขึ้น

References

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2556). รายงานการสาธารณสุขไทย ด้านการแพทย์แผนไทยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก 2554-2556. นนทบุรี: กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผน ไทย.

ขวัญชนก เทพปัน, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง, นพพร โหวธีระกุล และมธุรส ทิพยมงคลกุล. (2560). การตัดสินใจเลือกใช้บริการแพทย์แผนไทยของประชาชนผู้มาใช้บริการที่โรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดราชบุรี (รายงานการวิจัย). วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(2), 80-92.

นันธิยะ ศรีแก้ว. (2557). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้สถานบริการนวดไทยของประชาชนตำบลคลองสอง จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

พชรมน พรหมศวร และปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. (2554). สัดส่วนและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการแสวงหาบริการด้านสุขภาพของผู้ป่วยที่มารับบริการที่คลินิกแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นลำดับแรก. ศรีนครินทร์เวชสาร, 26(พิเศษ), 236-239.

พรชัย ดีไพศาลสกุล และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2557). การสร้างคุณภาพบริการที่มีผลต่อการตอบรับของผู้รับบริการและผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลเอกชน. วารสารธรรมศาสตร์, 33(1), 33-45.

เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. (2558). การศึกษาการให้บริการการแพทย์แผนไทยของสถานบริการภาครัฐ ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 8(2), 70-82.

มณฑกา ธีรชัยสกุล, วรรณศิริ นิลเนตร และอานนท์ วรยิ่งยง. (2557). การสำรวจการให้บริการด้านการแพทย์

แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในโรงพยาบาลสังกัด กระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2557.

มณฑกา ธีรชัยสกุล. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดบริการเขตบริการสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกของสถานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์). สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

มนชนก ชูวรรธนะปกรณ์ และเกษแก้ว เสียงเพราะ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับบริการนวด แผนไทยของผู้สูงอายุในจังหวัดพะเยา. วารสารสุขศึกษา, 43(1), 87-99.

รัตน์ศิริ ทาโต. (2561). การวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์: แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้. (ฉบับปรับปรุง). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสถิติจังหวัดยะลา สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). รายงานสถิติจังหวัดยะลา พ.ศ. 2562.กรุงเทพฯ: โอเค คอมพิวเตอร์ แอนด์ พริ๊นติ้ง.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2564). คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2564. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จํากัด.

สำรวย โยธาวิจิตร, สมชาย ชินวานิชย์เจริญ, วิริยา เมษสุวรรณ และอัจฉรา จินวงษ์. (2556). การจัดการด้านการแพทย์แผนไทยของบุคลากรในสถานบริการสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 28(2), 90.

Bloom, B. S., Hastings, J. H., & Madaus, G. F. (1971). Handbook on Formative Evoluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill.

Wiersma, W., & G. Jurs, S. (2009). Research Method in Education an Introduction. (9th ed).

Massachusetts: Pearson.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31