ความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพ กับการดูแลสุขภาพช่องปาก ของวัยรุ่นตอนต้นในจังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • รอซีกีน สาเร๊ะ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • คันธมาทน์ กาญจนภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • กัลยา ตันสกุล มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพ, การดูแลสุขภาพช่องปาก, วัยรุ่นตอนต้น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของวัยรุ่นตอนต้น จังหวัดยะลา จำนวน 140 คน เลือกสุ่มแบบกลุ่มและสุ่มอย่างง่ายจากบัญชีรายชื่อ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์ในการวัดเท่ากับ 0.67 – 1.00 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.803 และ 0.720 ตามลำดับ และสัมประสิทธิ์คูเดอร์ริชาร์ตสันได้เท่ากับ 0.754 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า

ความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพในการดูแลสุขภาพช่องปาก โดยภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ (M=62.91, SD=9.66) ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในระดับถูกต้องแต่ไม่สม่ำเสมอ คิดเป็นร้อยละ 57.86 และพบว่าความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพมีความสัมพันธ์ทิศทางบวกในระดับปานกลางกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (rs = 0.516, P-value <0.001**)  

ควรส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากในกลุ่มวัยรุ่นตอนต้น โดยต้องสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ปกครอง โรงเรียน และหน่วยงานสาธารณสุข เพื่อส่งเสริมให้มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองอย่างสม่ำเสมอ สามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้ดีต่อไป

References

กฤษณี เฮงตระกูลเวนิช, คนกวรรณ พรหมชาติ และรัศมี ฟุ้งไพศาล. (2563). การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก ฟันผุ และคุณภาพชีวิตของเด็กอายุ 12 ปี อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยาสารทันตสาธารณสุข สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. 25(1), 27 – 40.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

ณัฐวุธ แก้วสุทธา อังศินันท์ อินทรกำแหง และพัชรี ดวงจันทร์. (2558). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากและสภาวะอนามัยช่องปากของวัยรุ่นตอนต้น. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 20(2), 77 - 95.

ณัฐวุธ แก้วสุทธา อังศินันท์ อินทรกำแหง และพัชรี ดวงจันทร์. (2559). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของวัยรุ่นตอนต้น. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 8(15): 58 – 75.

เทพไทย โชติชัย และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดชอนแก่น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 7(1), 45 – 56.

ภมร ดรุณ และประกันชัย ไกรรัตน์. (2562). ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนจังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 15 (3): 71 – 82.

นภาพร วาณิชย์กุล และคณะ. (2563). คู่มือแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของประชาชนวัยทำงาน สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข. กรุงเทพฯ.

ธัญญาภรณ์ อุทร วันทนี ชวพงค์ และรพีพร เทียมจันทร์. (2556). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร. 9(2), 111 – 120.

นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ และคณะ. (2562). การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 5(1): 500.

ปริญวิทย์ นุราช และคณะ. (2562). ผลของโปรแกรมการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ช่องปากและพฤติกรรมการสื่อสารที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. 11(1): 71 - 90

ภัทรสุดา รอดอ้น และคณะ. (2562). ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาผ่านสื่อเฟซบุ๊ก ต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการปฏิบัติในการดูแลทันตสุขภาพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาล 1 สังขวิทย์ จังหวัดตรัง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2(1): 26 – 38.

มารุต ภู่พะเนียด และสุวิทย์ คุณาวิศรุต. (2562). ปัจจัยทางสังคมและพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพช่องปากของเด็กวัยเรียน. วารสารราชพฤกษ์. 17(3), 75-82

ยศวิมล คูผาสุข. (2561). โรคปริทันต์อักเสบ. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563 จาก http://www.dt.mahidol.ac.th/th/periodentitis/.

รพิภรณ์ พิพัฒน์ศาสตร์. (2562). ประสิทธิผลโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปากต่อการรับรู้ความสามารถตนเอง ความรู้ด้านทันตสุขภาพ และพฤติกรรมป้องกันโรคฟันผุของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักทันตสาธารณสุข. (2561). รายงานผลการสำรวจ สภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย. นนทบุรี : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก.

สำนักทันตสาธารณสุข. (2563). แนวทางการดำเนินงานทันตสารารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. นนทบุรี : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก.

สมลักษณ์ แสงสัมฤทธิ์สกุล. (2559). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในช่องปากของนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุดาดวง กฤษฎาพงษ์. (2559). แปรงแห้ง กันเถอะ. วารสารทันตภูธร. (1): 34-45.

สุนีย์ พลภาณุมาศ. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสม่ำเสมอในการแปรงฟันก่อนนอนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นจังหวัดนครนายก. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 20 (3) : 44 - 55

ศิริภา คงศรี และสดใส ศรีสะอาด. (2561). องค์ประกอบของความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุจังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล. 29(2): 56 – 68.

ศุภกร ศิริบุรี, (2560). ความสัมพันธ์ของปัจจัยกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ช่องปากด้วยPRECEDE Framework ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยระบบสาธาณสุข. 11(3): 355-368.

อนุพงษ์ สอดสี. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากกับประสบการณ์รักษาทางทันตกรรมของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 - 6 จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2(1): 18 - 28.

Alice M Horowitz and Dushanka V Kleinman. (2008). Oral health literacy: the new imperative to better oral health. Dental Clinics North America. 52(2). 33 - 44.

Arthi Veerasamy, Ray Kirk and Jeffrey Gage. (2016). Oral Health Literacy of Adolescents of Tamil Nadu, India. Scholars Journal of Dental Sciences. 3(4):112-120.

Hinkle, D.E. (1998). Applied Statistics for the Behavioral Sciences. Boston: Houghton Mifflin.

KK MAK and J R DAY. (2011). Dental health behaviours among early adolescents in Hong Kong. International Journal of Dental Hygiene. 9(2):122-6.

Nutbeam D. (2000). Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International. 15(3): 259-267.

World Health Organization (WHO). (1998). Health literacy and health promotion. Citation by http://www.who.int/healthpromotion/conferences/7gchp/Track1_Inner.pdf.

World Health Organization. (2009). Health Literacy and Health Promotion.Definitions, Concepts and Examples in theEastern Mediterranean Region Individual Empowerment Conference Working Document. 7th Global Conference on Health Promotion Promoting Health and Development

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30