การพัฒนารูปแบบการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยการมีส่วนร่วม ของคนในชุมชนในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, พัฒนาการสมวัยห่างไกลโควิด-19, การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา พัฒนารูปแบบและประเมินประสิทธิผลรูปแบบ แบ่งการวิจัยเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาด้าน ความรู้ การปฏิบัติตน ความพึงพอใจ โดยใช้แบบสอบถาม และการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อเสนอรูปแบบในการพัฒนา ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบประชุมแบบมีส่วนร่วมโดยยึดหลักกิจกรรมพัฒนา 4 ค และระยะที่ 3 ประเมินประสิทธิผลรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลเด็กปฐมวัยจำนวน 63 คนและเด็กปฐมวัยจำนวน 63 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Dependent t-test ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาพบว่าผู้ดูแลเด็กมีความรู้และการปฏิบัติตนในการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กร้อยละ 55.60 และร้อยละ 52.4ความรู้และการปฏิบัติตนในการเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 เท่ากัน คือ ร้อยละ 52.38 มีความพึงพอใจร้อยละ 58.73
2. รูปแบบการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 “พัฒนาการสมวัยห่างไกลโควิด-19โมเดล” โดยยึดหลักกิจกรรมการพัฒนา 4 ค.ได้แก่ พัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพในชุมชน พัฒนาเครื่องมือ พัฒนาคู่มือและพัฒนาความครอบคลุม
3. ผลในผู้ดูแลเด็กปฐมวัย พบว่าความรู้และการปฏิบัติตนในการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก, ความรู้และการปฏิบัติตนในการเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 และความพึงพอใจต่อรูปแบบ หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (p<0.05) ในเด็กปฐมวัย พบว่าความครอบคลุมการประเมินเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 76.19 เป็นร้อยละ 95.23 พัฒนาการสมวัยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 75 เป็นร้อยละ 88.33 ติดตามเยี่ยมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 70 เป็นร้อยละ 100
References
ฐิติมา ชูใหม่. (2559). การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กปฐมวัย. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล, 1(2), 18-33.
สมจิต แซ่ลิ้ม. (2556). ผลของการประยุกต์ใช้ของเล่นพื้นบ้านตามภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในเขตอำเภอ เมืองยโสธร จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.
กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข. (2559). ผลการสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กนักเรียนไทย ปี 2559. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ศิริกัญญา ฤทธิ์แปลก. (2560). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 1-3 ปี โดยครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาชุมชนตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2560. จาก https://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/article_detail.php?ArticleID=183144
สุจินดา สุขกำเนิด. (2560). โครงการวิจัยการพัฒนาระบบเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารสุขภาพภาคประชาชน, 12(4), 16-27.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2559). คู่มือโรงเรียน พ่อ แม่ เพื่อลูกรักสุขภาพดี สมองดี อารมณ์ดีมีความสุข. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: นิ้วธรรมดาการพิมพ์จำกัด.
ชฎาภรณ์ ชื่นตา และคณะ. (2561). โครงการศึกษาวิจัยการพัฒนาการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยแบบบูรณาการ. ยโสธร: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). การจัดการการจัดระบบบริการคลินิกเด็กสุขภาพดีภายใต้การณ์การแพรระบาดของ COVID-19. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2563. จาก https://www .cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/faq.html?CDC_AA_refVal=https%3A%2F%2F www.cdc.gov %2Fcoronavirus%2F2019-ncov%2Fprepare%2Fchildren-faq.html
จินตนา พัฒนพงศ์ธร และคณะ (2561). รายงานการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทยครั้งที่ 6 พ.ศ.2560. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย.
อดิศร์สุดา เฟื่องฟู, วีระศักดิ์ ชลไชยะ และคณะ (2561). ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เล่ม 4. กรุงเทพฯ: บริษัท พี. เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
- บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน