การศึกษาโรค Byssinosisในพนักงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า เพื่อการควบคุมป้องกัน

ผู้แต่ง

  • ธีรพล รัตนารมย์ โรงพยาบาลนครปฐม

คำสำคัญ:

โรคบิสสิโนสิส โรคปอดจากฝุ่นฝ้าย โรคปอดจากการประกอบอาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ เพื่อศึกษาความชุกของการเกิดโรค Byssinosis และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุการทำงาน การใช้ผ้าปิดจมูกกับการเกิดโรค Byssinosis ของพนักงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม จำนวน 200 คน ระหว่างเดือนตุลาคม 2561 ถึง กันยายน 2562 ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ    ชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถาม ผลการตรวจสุขภาพและผลการตรวจสมรรถภาพปอดจากรายงานผลการตรวจสุขภาพโรงพยาบาลนครปฐม ปี 2562 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา สถิติ Chi-Square และสถิติ Paired Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า

ความชุกของโรค Byssinosis ร้อยละ 12.00

2. อายุมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค Byssinosis อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<05 (p=0.016) ส่วนการใช้ผ้าปิดจมูก ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค Byssinosis

3. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างสมรรถภาพปอดของพนักงานครั้งที่ 1 ซึ่งพักงานมาแล้ว 4 วัน กับครั้งที่ 2 ซึ่งพักงานมาแล้ว 1 วัน และค่าเฉลี่ยระหว่างสมรรถภาพปอดของพนักงานครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 3 หลังจากทำงานมาแล้ว 6-8 ชม. พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001 และ <.0.001 ตามลำดับ)

จากผลการศึกษาควรมีการปรับปรุงใช้เครื่องป้องกันส่วนบุคคล พร้อมทั้งหาแนวทางป้องกัน และหารูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการสาธารณสุข

References

กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2557). โรคบิสสิโนสิส [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์], สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2561, จาก http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/80

ทศพร เอกปรีชากุล, คทาวุธ ดีปรีชา, สว่าง แสงหิรัญวัฒนา และสุนทร ศุภพงษ์. (2559). การเปลี่ยนแปลงของสมรรถภาพปอดหลังจากทำงานในรอบวันในคนทำงานโรงงานผลิตเครื่องแต่งกายทหารแห่งหนึ่ง. เวชสารแพทย์ทหารบก, 69(1), 3-10.

ปาริชาต ธันยบูรณ์ตระกูล. (2553). พฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากฝุ่นฝ้าย ของพนักงานโรงงานอุตสากรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป บริษัทไทยการ์เม้นท์เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภัคนี สิริปูชกะ. (2560). สถานการณ์โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม.วารสารสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. การประชุมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการบริหารระดับสูงด้านสุขภาพ อาชีวอนามัยความปลอดภัยและเวชกรรมสิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 1 ปี 2560 ระยะที่ 1 (Module 1) (หน้า 201-206). กรุงเทพฯ: ณ โรงแรมเอเชีย ราชเทวี.

มาลินวิษา ศักดิยากร. (2556). การสร้างความสามารถในเชิงการแข่งขันทางการค้าของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย. [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์], สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2561, จาก https://www.ditp.go.th/contents_attach/78334/78334.pdf

วัชรี แก้วนอกเขา. (2553). โรคปอดจากการประกอบอาชีพ [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2561, จาก https://www.consumerthai.org/consumers-news/product-and-other/2364-2010-12-20-07-32-34.html

ศตกมล ประสงค์วัฒนา. (2553). อาการระบบทางเดินหายใจและสมรรถภาพปอดของผู้รับงานผ้ามาทำที่บ้าน : กรณีศึกษาชุมชนตำบลบ้านสร้าง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 7(1).

ศูนย์ฝึกและสาธิตบริการอาชีวอนามัย กองอาชีวอนามัย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2545). คู่มือการใช้เครื่องมือทางด้านอาชีวเวชศาสตร์. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีพวิ่ง.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). สถานการณอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุงหม สํามะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2555 : อุตสาหกรรมการผลิต ทั่วราชอาณาจักร. [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์], สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2561, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/%E0%B8%98%E0%B8%B8% E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1/2012_textiles.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม. (2559). แผนพัฒนาจังหวัดนครปฐม 4 ปี (พ.ศ. 2561 - 2564) ฉบับทบทวน. [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์], สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2561, จาก http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:DJexO2hfa68J:www.nakhonpathom.go.th/files/com_news_develop_plan/2019-02_bfb773d7eb2ca16.docx+&cd=4&hl=th&ct=clnk&gl=th

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพ และสิ่งแวดล้อม. (2545). คู่มือการเฝ้าระวังโรคบิสสิโนสิส นนทบุรี สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2561, จาก http://www.envocc.org/downloads/forom_occold /HandBook/ByssinosisHandbook.pdf

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Paudyal, P., Semple, S., Gairhe, S., Steiner, M. F., Niven, R. & Ayres, J. G. (2015). Respiratory Symptoms and Cross-Shift Lung Function in Relation to Cotton Dust and Endotoxin Exposure in Textile Workers in Nepal: a Cross-Sectional Study. Occupational and Environmental Medicine, 72, 870-876. doi: 10.1136/oemed-2014-102718.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30